Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
ตามไปดูหนังกลางแปลงเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-ยังไม่ได้ตั้งชื่อ76700ยังไม่มีคนตอบ
-งานนมัสการศาลเจ้าพ่อมอดินแดง89449.. 28/11/2551 17:15
-ถามไว้ก่อนครับ ( กันเหนียว )79117.. 27/11/2551 8:46
-ยังไม่ได้ตั้งชื่อ77310ยังไม่มีคนตอบ
-พระราชบัญญัติภาพยนตร์ 1010712.. 23/11/2551 14:38
-เทศกาลหนังอักษร ดูยังไงโลกก็ยังร้อน 88172.. 22/11/2551 4:23
-เทศกาลหนังวิทยาศาสตร์ 18- 28 พ.ย. 51 นี้993712.. 22/11/2551 4:19
-เทศกาลหนังยุโรป 2008 มาแล้วว107644.. 22/11/2551 4:09
-เทศกาลหนังกลางแปลงฤดูหนาว 106624.. 21/11/2551 4:56
-++++บรรยากาศงานลอยกระทงที่โคราช 12 พ.ย. 2551 (หน้าอนุสาวรีย์ย่าโม)118538.. 19/11/2551 4:29
-เทศกาลภาพยนตร์เพื่อคนพิการ (29 พ.ย. 2551)81332.. 16/11/2551 5:53
-ดูฟรี: ปลุกตำนานหนังใต้ดินสุดขบถจากญี่ปุ่น107072.. 16/11/2551 5:49
-หนังขายยา : ตำนานความบันเทิงบ้านทุ่ง137731.. 16/11/2551 5:21
-หวานขม BitterSweet BOYdPOD the Short Film1073718.. 15/11/2551 5:19
-หนังกลางแปลง เมื่อปี พศ.2531 ที่สุพรรณบุรี105819.. 15/11/2551 5:18
-รำลึก...หนังเร่153628.. 8/11/2551 5:12
เลือกหน้า
[<<] [190] [191] [192] [193] [194] [195] [196]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 3122

(ID:1621) รำลึก...หนังเร่


มาดูหนังเร่ กันคร๊าบบบบ


                เมื่อตอนก่อน "หนังไทยเรื่องแรก"  มีการกล่าวถึงการฉายหนังของฝรั่งที่เรียกว่า ซีมาโตแครฟ   โดยคำขอของคณะราษฎร  ต่อมา คำขอที่ว่าถูกคลี่คลายโดยนักประวัติศาสตร์ภาพยนต์  ว่าเป็นเพียงการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ บางกอกไตมส์  ให้คนไทยไปตื่นดูนวตกรรมใหม่ 

                  ลงชื่อว่า นาย เอส.จี.มาคอฟสกี ซึ่งไปค้นชื่อ คนฉายหนังของลูมิแอร์ที่ส่งไปเผยแพร่นวตกรรมใหม่  ก็ไม่มีชื่อ นาย เอส.จี. มาคอฟสกี อยู่ด้วย จึงเชื่อว่าเขาเป็นเพียงพ่อค้าหนังเร่ชาวยุโรป  ที่ไปตามที่ต่างๆทั่วโลก 

 แต่ครั้งนั้นมีคนดูถึง 600 คน ที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการและเป็นครั้งแรกที่มีการฉายหนังในประเทศไทย  คือ คืนวันที่ 10 มิถุนายน  2440 และ นาย เอส.จี. มาคอฟสกี จึง เป็นคนฉายหนังเร่คนแรกที่มาฉายในประเทศไทยน่ะครับ


ความเห็น

[1]


(ID:16375)
ิจการหนังเร่เป็นไปด้วยความคึกคักครับ มีทั้งจากยุโรป  ฝรั่งเศส อังกฤษและอเมริกา  ตอนนั้นยังไม่มีโรงหนังเฉพาะ สมัยก่อนหนังจะยาวเพียงประมาณ 1 นาที ไม่มีการผูกเป็นเรื่องราวน่ะครับ อาจเป็น  การแสดงระบำ กายกรรม ตลก มายากล  การประดิษฐ์ พวกกล่อง   เสียงหุ่นกระบอก  บางครั้งก็สลับด้วยภาพนิ่ง  และด้วยการที่มันเป็นหนังเงียบ จึงต้องมีการบรรเลงดนตรีระหว่างการแสดงไปด้วย  ช่วงแรกๆ ก็เป็นการนำนักดนตรีของตัวเองมา หรือไม่ก็หาเอาตามท้องถิ่น เครื่องดนตรีที่เล่นก็เป็น  พวกหีบชัก  ไวโอลิน หรือเครื่องเป่า 




(ID:16376)
หนังเร่คณะที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น กลับเป็นของคนญี่ปุ่นครับ  ชื่อนายวาตานาเบ้ พ.ศ. 2447  เขามาตั้งกระโจมฉายอยู่ระหว่างวัดตึก  หรือ เวิ้งนาครเกษม ปัจจุบันล่ะครับ  ต่อมาเขาก็มาสร้างโรงหนัง ถาวรที่ข้างๆวัดตึกนั่นเอง ถือว่าเป็นโรงหนังโรงแรกของไทยเลยก็ว่าได้ ( 2448 )  


ภาพจากเรื่อง โหน่ง-เท่งนักเลงภูเขาทอง จำลองบรรยากาศ ยุคสมัยนั้น  มีโรงหนังญี่ปุ่นด้วย แต่ในภาพอาจทันสมัยไปหน่อย เพราะจากข้อมูล เป็นเพียงสังกะสีล้อมเป็นสี่เหลี่ยม และหลังคาก็มุงสังกะสี พื้นโรงเป็นดิน  ตั้งม้ายาวเป็นแถวรอบๆ  นอกโรงเป็นร้านค้าเล็กๆ วางด้วยลังใบเดียว จุดตะเกียงมีโป๊ะ เทียนบ้าง ใต้บ้าง (หนังมักจะฉายตอนดึก)




(ID:16377)

" น่าแปลกไม๊ครับ ยิ่งค้นไปยิ่งสนุก  แล้วทำไม หนังเร่ ( หนังขายยา ) ในยุคหลังนี้  มีข้อสังเกต 2 อย่างครับ  คือเป็นหนังเงียบ และเป็นฟิล์ม 16 มม.  ทั้งๆที่ เราหมดยุคหนังเงียบมาตั้งแต่ปี 2474 และเราใช้ฟิล์ม 35 มม. มาตั้งแต่หนังเรื่อง โชค 2 ชั้น แล้วครับ"

หลวงกลการเจนจิต ผู้ถ่ายภาพเรื่อง โชคสองชั้น


มาถึงเรื่องเสียงก่อนครับ


             อเมริกา มีหนังเสียงมาตั้งแต่ปี 2470 แล้วครับ  คือเรื่อง Jazz Singer  ของบริษัท ฟอกซ์
แต่ในเมืองไทย มีการนำหนังเสียงมาฉายครั้งแรก เมื่อปี 2471 ของคณะฉายหนังจากสิงคโปร์ ดังนั้น พี่น้องตระกูลวสุวัต ( ผู้สร้าง โชคสองชั้น ) ก็หยุดสร้างหนังเงียบ หลังจากสร้างไปได้เพียง 2 เรื่อง เขาหันมาค้นคว้าเรื่องหนังเสียง เขาผลิตกล้องสำหรับถ่ายหนังเสียง และสำเร็จในปี 2474 ถึงตอนนี้พวกเขาเปลี่ยนใจจากการทำหนังสั้นแล้วครับ  เขาวางแผนทำหนังเสียงเรื่องยาวเรื่องแรก และเปลี่ยนชื่อ จาก บริษัท กรุงเทพภาพยนต์บริษัท  มาเป็น บริษัทภาพยนต์เสียงศรีกรุง  และได้สร้างหนังพูดสำเร็จ เป็นเรื่องแรก คือเรื่อง" หลงทาง  "


  ออกฉายใน เดือนเมษายน ปี 2476 

              หลงทางเป็นหนังที่ถ่ายทำในระบบ Single System คือถ่ายภาพกับเสียงในกล้องตัวเดียวกันครับ ซึ่งมีปัญหาทางเทคนิค ในการถ่ายภาพและตัดต่อ  ซึ่งฝรั่งได้คิดระบบถ่ายแยกกันแต่นำมา Synchonizg  คือการให้มันเดินไปพร้อมกันได้  ต่อมา ศรีกรุงก็ทำได้ครับ



น่าแปลกครับก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หนังไทยนิยมสร้างในระบบ 35 มม. เสียงในฟิล์ม หลังสงครามโลกกลับมาสร้างในระบบ 16 มม. ฟิล์มเล็กลงกว่าเดิม  

  เนื่องจากช่วงหลังสงครามโลก  ในปี 2492 มีหนังเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย  เข้าฉาย  เป็นหนัง 16 มม. ครับ และประสบความสำเร็จมากเสียด้วย  บริษัทต่างๆ จึงหันมาสร้างหนัง 16 มม. กัน  เพราะกล้องเล็กกว่า ฟิล์มเล็กกว่า ทำให้ประหยัดขึ้นมาก  และหลังช่วงสงคราม ฟิล์มก็หายาก เศรษฐกิจก็ตกต่ำทั่วไป  เสียงในฟิล์มที่เคยมีก็ไม่มี ต้องใช้นักพากย์ มาพากย์แทนพระเอก-นางเอกและตัวละครทั้งหลาย ถือเป็นยุคทองของหนัง 16 มม. ได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงมาก


ช่วงนี้เองมังครับ  ที่เกิดการฉายหนังเร่ขึ้นอีกครั้งโดยคนไทย  หนังเร่ที่ไปตามต่างจังหวัดไกลๆ ที่ยังไม่มีโรงหนัง  ต่อมา พวกบริษัทยาก็มีการจัดฉายหนังเร่ไปพร้อมกับการขายยาไปด้วย เช่น บริษํทโอสถสภา  ถ้วยทอง เยาวราช ห้าแพะ   ที่เราเรียกว่า " หนังขายยา"  

     




(ID:16378)
     
        ลุงบุญชอบ สุทธิศักดิ์ ชายวัย 60 ปี



       ลุงเป็น คนฉายหนังกลางแปลง หรือหนังขายยา ของโอสถสภา   เป็นทั้งคนพากษ์หนังและฉายหนัง  รวมถึงขายยาด้วยซึ่งถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของหนังกลางแปลง ลุงบุญชอบเริ่มต้นเป็นนักพากย์ด้วยแรงบันดาลใจจากการเป็นเด็กในกองรถเร่ฉายหนัง ความที่เห็นการพากย์หนังทุกวี่วัน จึงเกิดเป็นความชอบ อาศัยครูพักลักจำ จนได้เป็นนักพากย์ทั้งหนังขายยา หนังกลางแปลง และหนังวิกหนังโรง กว่า 36 ปีที่คลุกคลีสิ่งเหล่านี้ จนกลายเป็นความผูกพัน

       ก่อนพากย์แต่ละเรื่อง อ่านบทก่อน ซ้อมกับหนัง พอมีความชำนาญในเรื่องของหนังแล้ว การสอดแทรกมุก ไหวพริบปฏิภาณจะเกิดเองโดยธรรมชาติที่เรียกว่าพรสวรรค์ พากย์ไปพากย์มาผุดขึ้นมาเอง

       สำหรับนักพากย์ต้องทำได้ทุกเสียง เทคนิคไม่มีอะไรมาก รุ่นพี่บอกสอน อาศัยครูพักลักจำ มีแค่ประสบการณ์ การเข้าถึงวิญญาณตัวละครในหนัง การทำเสียง ต้องฝึกหัดทำเสียงก่อน ทำเสียงให้ได้เสียงผู้หญิง เสียงเด็ก เสียงคนแก่ พอทำได้สามารถพากย์ได้

       เสียงเปลี่ยนไปตามคีย์ เสียงคนแก่ต่ำ เสียงหนุ่มหน่อย เสียงพระเอกให้เสียงปานกลาง เสียงตลกให้เสียงสูง เสียงนางเอกต้องบีบเสียง พากย์เสียงผู้หญิงเหมือนคีย์เพลง ตั้งแต่ต่ำสุด สูง และสูงสุด ต้องหัดดัดเสียงทุกวัน จึงจะใกล้เคียง

       ส่วนมากพากย์ได้ทุกแนว คนดูยึดติดอยู่กับดารา ดาราเป็นใหญ่ โดยเฉพาะมิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ เป็นดาราคู่พระคู่นิยม ถ้า 2 คนนี่ไป เราแห่รถไป กล่าวเชิญชวน วันนี้อย่าลืมอย่าพลาด พอเพชรา คนจะตามรถร้องโห่หิ้ว สำหรับผมชอบทุกเรื่องที่ทำ เพราะทำด้วยวิญญาณ ตั้งใจทำ พยายามเข้าถึงหนัง

        ความรู้สึกเก่าๆกลับมา แต่ก่อนดูหนังกลางแปลงดูไปดูมา ฟิล์มหนังชอบขาด คนก็จะโห่ตะโกน เสียอารมณ์มากเลยนะ เราก็อยากดูว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร เชื่อว่าตอนที่หนังหยุดฉาย เป็นฉากไคลแมกซ์ พีกมากๆ แล้วก็ดับวูบไปเลย คนก็ฮือฮา ประมาณว่าบ่น จากนั้นก็จะมีเสียงสวรรค์ อันไม่พึงปรารถนาของเจ้าของหนัง ประกาศขายยา อวดอ้างสรรพคุณ ชักแม่น้ำทั้ง 5 คนดูก็รู้ถ้าซื้อยาก็จะได้ดูต่อ แบบน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า

       ส่วนใหญ่จะเป็นยาครอบจักรวาล แบบว่าเก็บรักษาเอาไว้ได้นาน เช่น ยาหม่อง หรือยาแก้ปวดอะไรทำนองนั้น บางทีก็เป็นยาสามัญประจำบ้านแต่เอามาอวดอ้างสรรพคุณให้ดูน่าเชื่อถือราคาไม่แพง 5 บาท 10 บาท ขายยาได้จำนวนเงินตามที่ต้องการแล้ว ก็จะฉายหนังต่อ
      ลุงบุญชอบยังทำหน้าที่ฉายหนังเร่อยู่นานกว่า 36 ปี และเคยเข้าไปฉายเร่ ในพม่ากว่า 6 เดือน ในยุคพลเอกชาติชาย ที่มีนโยบาย เปลี่ยนสนามรบ 



(ID:16379)
เป็นตลาดการค้าครับ 


           สมัยก่อนใช้รถจี๊ปพวงมาลัยซ้าย มีเครื่องทำไฟติดหลังรถ หลังจากนั้นจากเครื่องทำไฟเป็นไดนาโมปั่น จ่ายกระแสไฟเพื่อฉายหนัง จากรถจี๊ปเปลี่ยนเป็นรถฮีโน่ จากหนัง 16 มม.แผ่นฟิล์มขนาดเล็ก แต่หนา เปลี่ยนมาเป็นหนัง 35 มม. ฟิล์มแผ่นใหญ่ เดินเร็ว ขาดเร็ว หนังเรื่องหนึ่งมี 2 ม้วน



"....คืนนี้อย่าลืม อย่าพลาดนะครับ แม่นาคพระโขนง หนังย้อนยุค นำแสดงโดยสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ปรียา รุ่งเรือง พากย์สด อย่าลืม อย่าพลาดหาโอกาสมาชมกันให้ได้นะครับ"
      
       สุ้มเสียงดังจากข้างรถขายยาป่าวประกาศเชิญชวนผู้คนที่ผ่านไปมา ลำแสงจากเครื่องฉายหนังพุ่งตรงไปที่ผืนผ้าขนาดใหญ่สีขาว สายไหมหลากหลายสีบรรจุในถุงล่อตาล่อใจลูกเล็กเด็กแดง พ่อค้า-แม่ค้าเร่ขายถั่วแก่ผู้คนที่เดินขวักไขว่ไปมา
      
       หน้าผืนผ้าสำหรับฉายหนัง คนหนุ่มคนสาวใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ที่หาได้ปูนั่งหน้าจอจับจองพื้นที่เหมาะเจาะ ภาพวันคืนเก่าๆ โหมโรงก่อนเริ่มต้นฉายหนังกลางแปลง หนังเร่ หรือหนังขายยา ซึ่งนับวันจะหาชมได้ยากยิ่ง

          เมื่อเวลาผ่านไปหนังไทยระบบ 16 มม. จึงเลิกสร้าง และกลับมาสร้างหนังระบบ 35 มม. แต่เสียงก็ยังอยู่นอกฟิล์ม  จนถึงยุค ของมนต์รักลูกทุ่ง ( พ.ศ. 2513 )ละครับ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ซึ่งเป็นหนัง 35 มม. เสียงในฟิล์ม หนัง 16 มม. จึงไม่มีการสร้างอีก และเป็นหนังเสียงในฟิล์มทุกเรื่องไป   หนังเร่ขายยา ค่อยๆ หายไปพร้อมกับยุคสมัย  มีแต่หนังกลางแปลงตามงานวัด  ช่วงแรกๆ ยังมีการพากษ์สดในหนังต่างประเทศอยู่  แต่ต่อมาก็มีการอัดเสียงพากษ์ลงในหนังแล้ว จึงไม่มีการพากษ์สดแล้วครับ  เนื่องจากเป็นหนังเสียงในฟิล์มกันหมดแล้วครับ



(ID:16380)

ขอขอบคุณ 

ภาพ และข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ

ภาพและข้อมูล  จาก ๖๗ ปีภาพยนตร์ไทย โดยสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ

ภาพและข้อมูล จาก หนังสือ สตาร์พิค

บล็อคโอเคเนชั่น



(ID:16563)

ได้พูดคุยกับพรรคพวกที่ทำหนังเร่แถวอีสานตอนใต้ แล้วใจหายครับ บอกว่า ทำหนังกลางแปลง ก็รอวันตาย หน้างาน ก็หาเจ้าภาพจ้างยากอยู่แล้ว หนังที่ชื้อมาก็ราคาแพง เมื่อต้องการหารายได้ลดต้นทุนบ้าง จะได้เจ็บตัวน้อย จึงนำหนัง 2 เรื่อง ออกไปเร่ ล้อมผ้าเหมือนในอดีต เก็บ 20 บาท ก็หาคนดูยากๆๆ บางคืน ได้เพียงแค่ค่าน้ำมันรถ กับเบี้ยเลี้ยงเคนงาน ฟังแล้วเศร้าใจครับ




(ID:16722)

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับหนังเร่

กรณีตั้งจอติดกับสายไฟฟ้า โดยเฉพาะกรณีขึ้นเอาธงชาติไปปัก แต่ระยะห่างระหว่างเสาธงกับไฟแรงสูงไม่หากกันมากและบางช่วงอาจมีฝน ลมพัดด้วย




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 8

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116979556 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Maciedetpailt , RobertMIGH , Xavierlam , Sandrafem , Carrra , นนท์ , Bryantoxymn , Jerekioxgew , ProlBlask , Sallycgriet ,