![]() | |
ความเห็น |
พอดีไปอ่านข้อมูลจากเวบจากเว็บ Made in Hong Kong เป็นบทความที่วิเคราะห์และแจกแจงความเป็นมาได้ละเอียดดี โดยคุณสมยศ เกี่ยวกับหนังเรื่องซือแป๋แซ่ตลกครับ..ก็เลยข้ออนุญาตนำบทวิเคราะห์จากเวบข้างต้น นำเสนอให้เพื่อนๆสมาชิกพีเพิลซีนได้อ่านเป็นข้อมูลกันครับ.และต้องขอขอบพระคุณทางเวบ Made in Hong Kong มาณ.ที่นี้ด้วยนะครับผม...
ถ้าจะพูดถึงหนังเรื่องซือแป๋แซ่ตลก( Laughing Times) ในวันนี้
แน่นอนว่าข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้คงจะไม่พ้น ความน่าสนใจในฐานะหนัง
เป็นผลงานในยุคเริ่มแรกการทำงานของ จอห์น วู ชายผู้พิศมัยการยิงปืนสองมือ
นกพิราบ และมิตรภาพของสุภาพบุรุษ คนนั้นซือแป๋แซ่ตลก Laughing Times
เป็นงานในสมัยที่เขา หากินอยู่กับการทำหนังตลกโปกฮา
ก่อนที่จะสามารถค้นหาแนวทางเฉพาะตัว กับหนังแนวบู๊สนั้นอย่าง โหด เลว ดี
ในอีกหลายปีต่อมา แล้วนอกจากนั้นแหละ? ซือแป๋แซ่ตลกLaughing Times
ยังมีอีกหลายมุมมองที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะผลงานแสดงของ
ซื่อเทียน คีแมนคนสำคัญ แห่งความรุ่งเรื่อง ของบริษัท Cinema City
และวงการหนังฮ่องกงในยุค 80
Cinema City บริษัทสร้างหนังสำคัญแห่งยุค 80 ที่ก่อตั้งโดยดาวตลก 3 คน
เหมาะเจี๊ย (หรืออ่านออกเสียงกวางตุ้งว่า “หมักก๊ะ”) หวงไป่หมิง
และซื่อเทียน (Dean Shek) ถือเป็นคู่แข่งสำคัญแห่งยุคตีคู่มากับ Golden
Harvest ของเรย์มอนด์ เชา สิ่งที่แตกต่างก็คือ Cinema City
เป็นบริษัทของคนรุ่นใหม่โดยแท้
พวกเขาไม่ได้มีเครดิตการทำงานที่มากมายเหมือน Golden Harvest
นอกจากนั้นยังไม่ได้พึ่งพิง รสนิยมเก่าแก่ของวงการภายยนตร์ฮ่องกง
กับหนังกังฟู หรือกำลังภายใน หากแต่มุ่งเน้นไปที่หนังตลก
เพื่อตลาดท้องถิ่นเป็นหลัก
...
Cinema City ประสบความสำเร็จ ก็เพราะ 3 แกนนำของบริษัท
ที่ทำหน้าที่ทั้งสร้าง เขียน และแแสดง หาจุดลงตัวระหว่าง
อารมณ์ขันแบบท้องถิ่นฮ่องกง กับองค์ประกอบแบบหนังฮอลลีวูด
สร้างเป็นรสชาติแบบใหม่ โดยเปิดโอกาศให้คนรุ่นใหม่หลายๆ คน ชื่อของ ฉีเคอะ
ริงโก แลม, เคิร์ก หว่อง, หรือ เจิ้งจื่อเหว่ย ก็ได้โอกาศเริ่มต้นที่นี่
ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ กลายเป็นสูตรที่ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลในยุค 80
งานอย่างหนังชุด Ace Goes Pleces (เก่งกับเฮง)
เป็นตัวอย่างความสำเร็จดังกล่าวได้อย่างชัดเจน
ซือแป๋แซ่ตลก( Laughing Times) อาจจะไม่ได้สะท้อนภาพทั้งหมดของ Cinema City
แต่ก็มีส่วนที่แสดงให้เห็นถึงบุคลิคบางอย่าง
ของคนทำงานกลุ่มนี้อยู่บ้างไม่มากก็น้อย ย้อนกลับไปเมื่อ 1981
ปีแรกของการก่อตั้งซือแป๋แซ่ตลก( Laughing Times) เป็นผลงานลำดับแรกๆ ของ Cinema City
(อาจจะเป็นเรื่องแรกก็ได้ แต่ขณะนี้ผมยังไม่มีข้อมูลยืนยันนะครับ)
ของบริษัท นอกจากจะมี ชื่อเทียนแสดงนำ อีกสองแกนนำอย่าง เหมาะเจี๊ย
และหวงไป่หมิง ก็มารับบทสมทบในเรื่องด้วย รวมถึง ผู้กำกับ จอห์น วู
ที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนทำงานกลุ่มนี้
ถ้าจะถามหาเอกลักษณ์ที่เราคุ้นชินกันของผู้กำกับจอห์น วู
ก็คงหาได้ไม่ง่ายนัก ถ้าจะมีก็เห็นจะเป็นการเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษ
ต่างสายเลือด ที่ตั้งอยู่บนคุณธรรม และความเสียสละ
ถึงแม้อายุจะต่างราวพ่อกับลูก แต่ชายจรจัด และเด็กแร่รอน
คบหากันฉันมิตรสหาย ที่มีความเท่าเทียมกัน อ๋อเกือบลืมไปนะครับ
หนังยังมีฉากพิมพ์นิยมของจอห์น วู ที่มีภาพ สโลโมชั่น
แต่เปลี่ยนจากลูกกระสุนปืน เป็น ขนมเค็ก สองตัวละครเอกคู่หูของเรา
ที่ยอมเป็นตัวตลกให้ผู้คนได้ระบายอารมณ์ เพื่อหวังในขนมเค็กนั้น มาปะทังหิว
ฟังดูเป็นฉากขำๆ ฉากนึง แต่ จอห์น วู ใช้ลีลาส่วนตัวของเขา
สร้างฉากตลกขบขัน ให้กลายเป็นความซึ้ง ความเศร้า
ในชตากรรมของตัวละครทั้งคู่ได้อย่างน่าทึ่ง
คำถามหลักที่สำคัญที่สุด สำหรับหนังประเภทนี้ คงหนีไม่พ้น
ถึงความขบขันของหนัง หนังอุดมไปด้วยมุขตลก
ที่ส่วนที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภท เจ็บตัว เลอะเทอะเปรอะเปื้อน
ที่ดูได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการ ตกโคลน ตกน้ำตกท่า
ตีหัวร้างข้างแตก เป็นมุมมุมตลกประเภทท่าทางที่เห็นได้ชัดว่าผู้สร้าง
ต้องการภาษาตลกแบบเป็นสากล มากกว่าที่จะเน้นมุขภาษาพูดกวางตุ้ง
ในแบบหนังตลกฮ่องกงร่วมยุคสมัย
ข้อสงสัยว่าทุกวันนี้ ประสิทธิภาพในการสร้างความตลกของซือแป๋แซ่ตลก( Laughing Times)
ยังคงมีอยู่อย่างเมื่อแรกออกฉายรึเปล่า แน่นอนว่าไม่เท่าเดิม
ด้วยรสนิยมที่เปลี่ยนแปลง การได้ลิ้มลองรสชาติหนังตลก แบบต่างๆ มามากมาย
การดู ซือแป๋แซ่ตลก( Laughing Times)ทุกวันนี้ก็คงจะไม่เหมือนกับเมื่อปี 1981 อีกแล้ว
หนังดูเชย มุขตลกซ้ำซาก และไม่ค่อยประเทืองปัญหา
หรือมีความสร้างสรรค์อะไรเท่าไหร่ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาขอซือแป๋แซ่ตลก( Laughing Times)
เพียงแค่เรื่องเดียวเท่านั้น หากแต่นับรวมหนังตลกร่วมชตากรรม
อีกหลายพันเรื่อง ที่ไม่สามารถข้ามยุคสมัยของตัวเองมาได้ อย่างน้อยความซื่อ
ความง่าย ในมุขตลกของ Laughing Times ก็คงทำให้เรายิ้มได้บ้างLaughing Times อาจจะไม่ได้สะท้อนภาพทั้งหมดของ Cinema City
แต่ก็มีส่วนที่แสดงให้เห็นถึงบุคลิคบางอย่าง
ของคนทำงานกลุ่มนี้อยู่บ้างไม่มากก็น้อย ย้อนกลับไปเมื่อ 1981
ปีแรกของการก่อตั้ง Laughing Times เป็นผลงานลำดับแรกๆ ของ Cinema City
(อาจจะเป็นเรื่องแรกก็ได้ แต่ขณะนี้ผมยังไม่มีข้อมูลยืนยันนะครับ)
ของบริษัท นอกจากจะมี ชื่อเทียนแสดงนำ อีกสองแกนนำอย่าง เหมาะเจี๊ย
และหวงไป่หมิง ก็มารับบทสมทบในเรื่องด้วย รวมถึง ผู้กำกับ จอห์น วู
ที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนทำงานกลุ่มนี้
ตัวภาพลักษณ์ของตัวละครเอกที่สวมหมวกปีก การเกงหลวมโพรก รองเท้าหัวโต
บวกกับหนวดจิ๋มบนใบหน้า ก็คงจะเดาได้ไม่ยากว่าได้รับอิทธิพลมาจากใหน
Laughing Times เดินตามรอยต้นฉบับหนังของ ชาลี แชปปลิน ด้วยการเล่าเรื่อง
ชีวิตในช่วงเวลาของความยากลำบาก ของคนตัวเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยความอดอยาก
ของชายแร่รอน (ซื่อเทียน) ที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น
ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ชีวิตดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะทำงานหลายๆ อย่าง
ที่ไม่ถนัด หรือ ไม่มีเกียรติ แต่ชายแร่รอนก็พยายาม
คติประจำใจที่จะไม่เอาเปรียบใคร เขาได้พบ และช่วยเหลือ
เด็กน้อยจรจัดคนหนึ่ง ด้วยความถูกชตาทั้งสอง
ร่วมเดินทางไปด้วยกันบนเส้นทางสายปากกัดตีนถีบ ไอ้หนูเป็นคนฉลาดหลักแหลม
และติดจะแกมโกงในบางครั้ง ชายแร่รอนก็ยังพยายาม สั่งสอนให้เด็กน้อย
อยู่อย่างซื่อสัตย์
แต่โชคชตาก็ไม่เคยเข้าข้างพวกเขา
สองหนุ่มต่างวัยยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก งานแทบไม่มีให้ทำ
จะขอเขากินก็ยังทำได้ยากเย็น แต่ก็ยังไม่แย่ทำกับ
ความลำบากที่ได้รับจากการถูกเอาเปรียบโดยมนุษย์ด้วยกัน
ทั้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดูถูกดูแคลนคนจรจัดอยู่เสมอ
เช่นเดียวกับคนร่ำรวย อย่าง เถ้าแก่ (เหมาะเจียะ) ผู้อำเปรียบ
นั้นพื้นแพเป็นคนยากจน ตอนเด็กทำงานขัดรองเท้า เขาร่ำรวยขึ้นมาได้
ด้วยการค้ามนุษย์ ส่งเด็กไปขายเป็นแรงงานต่างชาติ
หรือไม่ก็จับไปอยู่แก๊งขอทาน ส่วนผู้หญิงก็ขายให้ซ่อง เมื่อเจ้าหนูถูก
ถูกลักพาตัว ไปขาย เช่นเดียวกับ เสี่ยวม่าน (หวังซิ่วเหมิ่น)
เด็กสาวชาวบ้านที่ ชาวจรจัดได้พบปะชอบพบอยู่ เธอถูกพ่อแท้ๆ
นำไปขายให้เถ่าแก่ ชายจรจัด และเพื่อซี้หนุ่มขี้เมา (อู๋หม่า)
ตัดสินร่วมมือกับบุกเข้าไปในคฤหาศของเถ่าแก่ เพื่อชวยเจ้าหนู กับเสี่ยวม่าน
ออกมาก่อนที่จะถูกส่งไปขายยังต่างแดน
ซือแป๋แซ่ตลก( Laughing Times)นั้นสร้างขึ้นในรูปแบบของ บูชาครู (หรือว่า ลอก ทำซ้ำ
ได้รับแรงบัลดาลใจ ก็สุดแล้วแต่จะเรียก) ดาวตลกระดับโลกอย่าง ชาลี แชปปลิน
ตั้งแต่การนำเค้าโครงเรื่องมาจากหนังคลาสสิคของ ชาลี แชปปลิน เรื่อง The
Kid (1921) ลักษณะท่าทางในตัวละครของซื่อเทียน ลุกลามไปถึง
วิธีการเล่าเรื่องด้วยลีลาของหนังเงียบ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คือ
การใช้ชนดนตรีประกอบ ที่สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของตัวละคร
และการจำลองลีลาของหนังเงียบ ด้วยการสร้างรอยกระตุกระหว่างแพรม
อย่างที่หนังเงียบขาวดำเป็น แต่ตาเพียงแค่ Laughing Times
เป็นหนังเสียงก็เท่านั้น
ถ้าจะถามหาเอกลักษณ์ที่เราคุ้นชินกันของผู้กำกับจอห์น วู
ก็คงหาได้ไม่ง่ายนัก ถ้าจะมีก็เห็นจะเป็นการเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษ
ต่างสายเลือด ที่ตั้งอยู่บนคุณธรรม และความเสียสละ
ถึงแม้อายุจะต่างราวพ่อกับลูก แต่ชายจรจัด และเด็กแร่รอน
คบหากันฉันมิตรสหาย ที่มีความเท่าเทียมกัน อ๋อเกือบลืมไปนะครับ
หนังยังมีฉากพิมพ์นิยมของจอห์น วู ที่มีภาพ สโลโมชั่น
แต่เปลี่ยนจากลูกกระสุนปืน เป็น ขนมเค็ก สองตัวละครเอกคู่หูของเรา
ที่ยอมเป็นตัวตลกให้ผู้คนได้ระบายอารมณ์ เพื่อหวังในขนมเค็กนั้น มาปะทังหิว
ฟังดูเป็นฉากขำๆ ฉากนึง แต่ จอห์น วู ใช้ลีลาส่วนตัวของเขา
สร้างฉากตลกขบขัน ให้กลายเป็นความซึ้ง ความเศร้า
ในชตากรรมของตัวละครทั้งคู่ได้อย่างน่าทึ่ง
คำถามหลักที่สำคัญที่สุด สำหรับหนังประเภทนี้ คงหนีไม่พ้น
ถึงความขบขันของหนัง หนังอุดมไปด้วยมุขตลก
ที่ส่วนที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภท เจ็บตัว เลอะเทอะเปรอะเปื้อน
ที่ดูได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการ ตกโคลน ตกน้ำตกท่า
ตีหัวร้างข้างแตก เป็นมุมมุมตลกประเภทท่าทางที่เห็นได้ชัดว่าผู้สร้าง
ต้องการภาษาตลกแบบเป็นสากล มากกว่าที่จะเน้นมุขภาษาพูดกวางตุ้ง
ในแบบหนังตลกฮ่องกงร่วมยุคสมัย
ข้อสงสัยว่าทุกวันนี้ ประสิทธิภาพในการสร้างความตลกของซือแป๋แซ่ตลก( Laughing Times)
ยังคงมีอยู่อย่างเมื่อแรกออกฉายรึเปล่า แน่นอนว่าไม่เท่าเดิม
ด้วยรสนิยมที่เปลี่ยนแปลง การได้ลิ้มลองรสชาติหนังตลก แบบต่างๆ มามากมาย
การดู Laughing Times ทุกวันนี้ก็คงจะไม่เหมือนกับเมื่อปี 1981 อีกแล้ว
หนังดูเชย มุขตลกซ้ำซาก และไม่ค่อยประเทืองปัญหา
หรือมีความสร้างสรรค์อะไรเท่าไหร่ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาของ Laughing Times
เพียงแค่เรื่องเดียวเท่านั้น หากแต่นับรวมหนังตลกร่วมชตากรรม
อีกหลายพันเรื่อง ที่ไม่สามารถข้ามยุคสมัยของตัวเองมาได้ อย่างน้อยความซื่อ
ความง่าย ในมุขตลกของ Laughing Times ก็คงทำให้เรายิ้มได้บ้าง