Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
แหล่งความรู้หนัง 8,16 มม. และ Digital VCD-DVDเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-เลนส์สโคป 16ม.ม.71734.. 18/12/2554 13:41
-เครื่องฉายหนัง 16 ม.ม. Siemens Projektor 2000 70630ยังไม่มีคนตอบ
-มีใครเคยใช้แผ่นเปล่ารุ่นนี้บ้างครับ757712.. 6/12/2554 12:15
-รับลมหนาว..๒๘ ธ.ค.๕๓ ภาพรีสอร์ทที่ใกล้จะเสร็จรอรับสมาชิกมาเยี่ยมเยือน..ใน.๑๙มีนาคมนี้..1261070.. 15/11/2554 21:46
-8 ม.ม. จ๋า...ลาก่อนจ๊ะ...63737.. 8/11/2554 13:55
-มีเรื่องถามครับ เกี่ยวกับ การเปรียบเทียบหนังในฟิล์มกับหนังในดีวีดี661511.. 26/10/2554 10:54
-เมื่อ 15 ปีที่แล้ว....ฉายหนุมาน เจ็ดยอดมนุษย์59372.. 4/10/2554 10:29
-เครื่องก๊อฟปี้ฟิมล์หนัง 8 ม.ม.53713.. 14/9/2554 19:01
-จอนี้ ตุลาคม นี้ ที่ดอนตาลครับ.1668188.. 11/9/2554 11:59
-ก่อนฉาย953820.. 7/9/2554 22:13
-หน้ากากโซโล ใครชอบหนังคาบอยบ้าง59612.. 5/9/2554 12:02
-ฟิล์มหนัง 8 ม.ม.76921.. 5/9/2554 7:55
-ตูนก่อนนอน55732.. 23/8/2554 9:58
-เครื่องเทเลซีนฟิล์ม 16 มม ชนิด PORTTABLE ที่ชื่อ ELMO TRV-16G858715.. 19/8/2554 12:47
-View Lex System 1652010ยังไม่มีคนตอบ
-รบกวนแหล่งขายหลอดไฟเครื่องฉาย 8 มม.84923.. 9/8/2554 17:31
เลือกหน้า
[<<] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 491

(ID:8972) มีเรื่องถามครับ เกี่ยวกับ การเปรียบเทียบหนังในฟิล์มกับหนังในดีวีดี


คือผมสงสัยว่า

1.ทำไมหนังโรงถึงมีกราฟฟิกชื่อหนังเรื่องที่เป็นภาษาไทย แต่ในแผ่นดีวีดี(เฉพาะพากย์ไทย)ถึงทำเป็นภาษาอังกฤษล่ะครับ?(harry potter)

2.ดีวีดี ผีชีวะ 4 ไตเติ้ลโลโก้ชื่อเรื่องหายไปไหนครับตอนเปิดเรื่อง ตอนดูในโรงยังมีเลย?



ความเห็น

[1]


(ID:94218)



แล้วการลงซับไตเติ้ลในฟิล์มล่ะครับ ใช่วิธีเดียวกับข้างบนหรือเปล่าครับ? 

แล้วทำเส้นตัดตัวหนังสือเหมือนทำใน วีซีดี/ดีวีดี ไม่ได้เหรอครับ ผมดูเรื่องKICK ASS ช็อตที่มีสีขาวหรือสีโทนร้อนอ่อนๆ อ่านแทบจะไม่ออกเลยครับ  บางทีซับไตเติ้ลต้องหลบสีตามมุมจอ ซ้าย ขวา กลาง บน  แบบนี้   กกกกกกกกกกกกก





(ID:94225)

* ซับไตเติ้ลแบบ OVERLAY นั้น ใช้วิธีการเดียวกันครับ จะใส่สี ใส่เส้นตัดก็ทำได้ (กรณีดีวีดีต้องแก้ปัญหาตามนั้นครับ) แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ซับไตเติ้ลแบบ OVERLAY จะถูกพิมพ์ลงเนกาตีฟแยกต่างหาก ดังนั้น

ฟิล์มเนกาตีฟภาพ + ฟิล์มเนกาตีฟเสียง + ฟิล์มเนกาตีฟซับไตเติ้ล OVERLAY >> ฟิล์มฉบับฉาย

การทำซับไตเติ้ล OVERLAY มีค่าใช้จ่ายตรงนี้ด้วยนะครับ จึงเหมาะกับหนังซาวด์แทรคมากกว่า (รวมทั้งหนังไทยที่มีซับอังกฤษด้วย แต่จำนวนก็อบปี้ของหนังไทยที่มีซับอังกฤษ ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของหนังด้วย กล่าวคือ อาจจะมีก็อบปี้หนังไทยที่มีซับอังกฤษทุกก็อบปี้ หรืออาจจะมีซับอังกฤษเพียงไม่กี่ก็อบปี้ นอกนั้นไม่มีซับ เคยเจอหนังเรื่อง "แหยมยโสธร" ซึ่งดูมา 2 รอบ และแต่ละรอบเป็นแบบนี้ รอบที่หนึ่ง มีซับไทยอย่างเดียว รอบที่สอง มีซับไทย - อังกฤษคู่กัน)

ส่วนแบบโบราณ ก็คือ แบบตอก ก็ยังใช้อยู่ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นหนังที่มีก็อบปี้เดียว

พอเอ่ยถึงซับตอก ก็นึกได้ขึ้นมาอย่างหนึ่ง น่าจะลองไปสัมภาษณ์คนที่ทำหน้าที่ตรงนี้ แล้วมานำเสนอในเว็บก็ดีเหมือนกันนะ เพราะซับตอกแบบนี้ สำหรับคน 30 UP เคยเห็นจนชินตา แต่สำหรับคนรุ่นใหม่อาจจะไม่เคยทราบมาก่อน เพราะเบื้องหลังการทำซับตอกแบบนี้ เท่าที่รู้กันมาอย่างคร่าวๆ มีขั้นตอนยุ่งยากกว่าแบบ OVERLAY อีก แต่ทำไมพวกเขาจึงยังคงทำกันอยู่..

ผมเชื่อว่าถ้าไอเดียนี้เป็นจริงขึ้นมา นอกจากจะได้ทราบถึงเบื้องหลังการทำงานอันแสนเหนื่อยและยาวนาน ที่สำคัญ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อไปด้วยครับ




(ID:94300)

   อยากรู้เหมือนกันครับอาจารย์ สำหรับเรื่องซับตอก   ไม่รู้ตอกแบบไหน  คงไม่ได้มาันั่งตอกทีละเฟลมหรอกมั๊ง  กว่าจจะบเรื่อง  ไม่รู้กี่เฟรม  มือแหกกันพอดี  อีกอย่างก็ไม่รู้ด้วยว่าจะต้องเปลี่ยนข้อความช่วงเฟรมไหน  เพราะการลื่นไหลของฟิล์ม  ภาพจะมาก่อนแทร็กเสียง หรือ แทร็คเสียงมาก่อนภาพ(อันนี้ไม่แน่ใจ)  ประมาณนั้น......




(ID:95061)
เสียงมาก่อนภาพ ผมลองสำรวจดูแล้วครับ



(ID:95194)
   25 เฟรม ....



(ID:95241)

ถ้าประตูเฟรมของหัวไหนที่มันปรับความกว้างของภาพได้(จนเห็นเส้นเสียง) หรือหัวซินเกียวm77 ลองถอดแผ่นครอบภาพที่อยู่ด้านในประตู

แล้วเดินเครื่องฉาย สังเกตที่เส้นเสียงกับภาพมันจะมาไม่พร้อมกัน

เสียงมาก่อน 1 วินาที




(ID:107608)
ระหว่าง 2 ภาพ นี้แตกต่างกันยังไงครับ
จะมีภาพนึงที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก



(ID:107611)

เกิดจากการตั้งค่าสี รวมทั้งความมืดสว่าง ซึ่งเป็นกระบวนการของแล็บ ในขั้นตอนสั่งพิมพ์ฟิล์มก็อบปี้ (คนที่เล่นกล้องถ่ายรูป SLR แบบฟิล์ม หรือ DSLR จะคุ้นเคยกับคำว่า "โอเวอร์" หรือ "อันเดอร์")

* โอเวอร์ (OVER) ก็ชดเชยแสง เพิ่มความสว่าง

* อันเดอร์ (UNDER) ก็ลดลง ภาพก็มืดลงไป

ค่าที่ตั้งไว้นี้ เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้สม่ำเสมอเหมือนกันทุกก็อบปี้ เพราะกรณีนี้เคยเจอหลายครั้ง ทั้งฟิล์มหนังเรื่อง และหนังตัวอย่างที่ต่อด้วยที่ต่อฟิล์มแบบอัลตราโซนิค

ผมมีฟิล์มตัวอย่างเรื่อง "The Texas Chainsaw Massacre: The Beginning เปิดตำนานสิงหาสับ" ที่เจอกรณีแบบนี้ แต่ทำแบบลวกๆ ก็เลยมีภาพซ้ำ 2 ช่วง แถมยังปรากฏรอยจากเครื่องพิมพ์ฟิล์มปรากฏเป็นสีเขียวที่ภาพและขอบฟิล์มแวบหนึ่ง ตอนส่องกับแสงแดดจะมองไม่ออกหรอกครับ แต่ตอนฉายจะเห็นได้อย่างชัดเจน




(ID:107628)

^

^

ที่รู้ว่ารูปทางขวาเป็นเพราะซับไตเติ้ลแน่นอน ผมลองเอา file dvd  มาใช้วิธี render แบบเดียวกับฟิล์ม

รูปซ้าย     (ภาพ + เสียง)+sub = ฉาย 

รูปขวา      DIGITAL ลงซับแล้ว RENDER ได้เลย

ผมก็มีตัวอย่างแฟนฉัน 2 ก๊อปครับ แค่นำทั้ง 2 ก๊อป มาส่องเทียบกันก็เห็นชัดครับ 

ก๊อปนึง สีปกติ อีกก๊อป สีเข้มกว่า และก๊อปที่มีสีเข้มกว่านั้นรอยตัดต่อจะเห็นชัดกว่า เฟรมภาพมักจะเคลื่อนเล็กน้อย




(ID:109821)
ซับใน DVD  จะมาใส่ตอนออเธอริ่งแผ่นครับ   ใส่ได้หลายภาษา  สามารถกดเปิด ปิด เลือกภาษาได้ที่รีโมท   มันจะไม่ฝังอยู่ในไฟล์วิดีโอ    ไฟล์วิดีโอจะใช้วิธีสแกนฟิล์มเนกาทีฟ Copy A  ครับซึ้ง Copy A จะยังไม่มีการซ้อนซับไตเติ้ลลงในฟิล์ม   การสแกนฟิล์มเมื่อก่อนทำได้เฉพาะหนังฝรั่ง   หนังเอเซียเราต้องเอาฟิล์มรีลีสฉายใส่จอแล้วเอากล้องวิดีโอจับจอ(อุปกรณ์เทเลซีน ที่ใช้ในสถานีโทรทัศน์)    แต่เดี๋ยวนี้หนังไทย หนังเอเซียก็มีเครื่องสแกนฟิล์มใช้กันหมดแล้ว  หนังแผ่น DVD จึงคมชัดสีสวยเหมือนหนังฝรั่ง



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 10

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116951023 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Sallycgriet , BrianerpGep , AnthonykDraib , Kristenmswony , Edwinjophorie , Stanley , RobertMIGH , ProlBlask , Robbsf , Jamesfap ,