![]() | ![]() |
ความเห็น |
สมัยก่อนพ่อจะพาไปดูบ่อยๆครับเพราะหลังบ้านผมมีโรงหนังชื่อโรงหนังศรีอุดรก็จะนำหนังจีนของชอร์และหนังไตหวันและหนังอินเดียมาฉายบ่อยๆครับ..โชคดีที่ผมเกิดมาทันในยุคของหนังชอร์บราเดอร์ครับ
โดยส่วนตัวเชื่อว่าหนังชอว์ บราเดอร์สที่เข้าฉายก่อนหน้าปลายยุค 50 ถึงปลายยุค 70 นั้น อาจจะมีผู้จัดจำหน่ายในรูปแบบบริษัทเล็กๆ โรงหนังใน กทม. ที่ฉายหนังชอว์ บราเดอร์ส ก็จะกระจุกอยู่ในย่านเยาวราชเป็นหลัก
กระทั่งราวๆ ปี พ.ศ. 2517 เมื่อเจ้าของโรงหนังวอร์เนอร์ ถนนสีลม (แต่ก่อนฉายหนังฝรั่งจากค่ายวอร์เนอร์ บราเธอร์ส) ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม ทำให้ทางโรงหนังต้องเปลี่ยนมาฉายหนังฮ่องกงจากค่าย "ชอว์ บราเดอร์ส" แทน ขณะเดียวกันก็ใช้ชั้นที่สองของโรงนี้ เพื่อเป็นออฟฟิศสาขาในไทยไปด้วย (คล้ายๆ กับ "หนังตึก" นั่นเอง) นอกจากนี้ก็ยังได้คุณ "รตนะ ยาวประภาส" มาทำหน้าที่แปลบทภาษาไทย (ทำซับตอก / บทพากย์) ด้วย ก่อนหน้านี้ เคยแปลบทภาษาไทยหนังฝรั่งเรื่อง A CLOCK WORK ORANGE ของผู้กำกับ สแตนลี่ย์ คูบริค ซึ่งต่อมาหนังเรื่องนี้ถูกสั่ง "แบน" จากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ในบ้านเรา เนื้องจากเนื้อหาของหนังอาจมีผลทำให้ผู้ชม (ที่ขาดวิจารณญาณ หรือแยกแยะไม่เป็น) เกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้
นอกจากโรงวอร์เนอร์แล้ว ก็ยังมีโรงที่ฉายหนัง "ชอว์ บราเดอร์ส" ด้วย คือ "รามา", "สิริรามา" และ "นิวโอเดียน" รวมทั้งโรงอื่นๆ ตามที่เจรจาตกลงกัน
ในส่วนของการโพสต์โปรดักชั่น ล้าง-พิมพ์ฟิล์ม ที่ "ซีเนแอด" ส่วนการบันทึกเสียงพากย์ไทย (เฉพาะบางเรื่อง) นั้น จะอยู่ที่ "คิงส์ซาวด์" กับ "ศรีสยาม" เป็นหลัก ก่อนจะมีห้องบันทึกเสียง "ปง อัศวนิกุล" (ปัจจุบันคือ ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา) ในภายหลัง
ที่สำคัญ ในช่วงที่ค่ายหนังฮอลลีวู้ด (หนังตึก) ไม่ส่งหนังฝรั่งเข้าฉายในช่วงปลายปี พ.ศ. 2519 เนื่องจากรัฐบาลในยุคนั้น ปรับราคาภาษีฟิล์มโพสิตีฟนำเข้า จากเมตรละ 2.20 บาท เป็น 30 บาท ทำให้ตัวแทนจำหน่ายในบ้านเรา ใช้โอกาสนี้นำเข้าฟิล์มเนกาตีฟมาเสียเลย เพราะเก็บในอัตราเดิม คือ เมตรละ 2.20 บาท แล้วมาล้าง-พิมพ์ที่แล็บบ้านเรา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยยื่นเสนอไอเดียไปให้ตัวแทนจำหน่ายหนังฮอลลีวู้ด ซึ่งก็ได้คำตอบกลับมาว่า ทางค่ายหนังยังไม่ไว้ใจในคุณภาพของแล็บ โดยให้เหตุผลว่า น้ำเปล่ายังไม่สะอาดพอ
ในช่วงปลายยุค 70 และ 80 ก็เปลี่ยนมือผู้จัดจำหน่ายมาเป็น "ซี ยูเนี่ยน บราเดอร์ส" ซึ่งได้รับสิทธิ์หนังฮ่องกงของ ชอว์ บราเดอร์ส รวมทั้งหนังจีน และหนังฮ่องกงฟอร์มเล็ก เกรดบีจากค่ายอื่น แต่..ชอบย้อมแมวในการทำสื่อที่ใบปิดด้วยการนำเอาโลโก้ "ชอว์ บราเดอร์ส" มาใช้ เพื่อให้เกิดความสับสนว่ามาจากค่ายนี้ นอกจากนี้ก็ยังมีการตั้งออฟฟิศสาขาในต่างจังหวัดด้วย เนื่องจาก ออฟฟิศที่ว่านี้ มีเฉพาะหนังจาก "ซี ยูเนี่ยน บราเดอร์ส" เท่านั้นครับ