ฉากนี้ดูแล้วขำดีครับ เป็นฉากลำเรื่องต่อกลอนผาแดงนางไอ่ ผาแดงตัวจริงเมาเหล้าอยู่หลังเวทีเลยต้องให้พระเอกมาสวมบทผาแดงจำเป็น ส่วนจารุณีรออยู่หน้าฉากนู้นแล่ว
จากนั้นผาแดงจำเป็นก็เดินออกมาหน้าหน้าเวทีพร้องกับโพย(กระดาษเขียนกลอนหมอลำ)
จารุณี-อ้ายผาแดงมาแล้วบ่ มาจั๋งได๋เดินทางมาเหนื่อยบ่
พร้อมพงศ์- อ้ายมารถทัวร์บ่เหนื่อยดอก
ดู๋ดอกกระโดน-โอ๊ยตายแท้ ผาแดงบ้านได๋น้อ มารถทัวร์วะนี่แหมะ
จารุณี-อ้ายผาแดงมาเหนื่อยๆ นั่งพักซะก่อนเดี๋ยวน้องสิไปหาน้ำหาท่ามาให้กิน
พร้อมพงศ์- ดีเลยจ๊ะ น้องนางไอ่ ถ้าได้กาแฟเย็นสักแก้วก็คงดี
ดู๋ดอกกระโดน-"ตายกูตายแน่ บาททีนี่ ผาแดงสิกินกาแฟเย็น"
คนดู- "หนีเมือกลับไปนอนบ้านเท่านั้นแหล่ว ถ้าผาแดงมารถทัวร์ .....นอนอยู่บ้านยังสิม่วน กว่า"
......555
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=530302
ภาพยนตร์เรื่อง ราชินีดอกหญ้า ผลงานการกำกับของ สุรสีห์ ผาธรรม นำแสดงโดย จารุณี สุขสวัสดิ์ พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ดู๋ ดอกกระโดน แสงดาว ศิริวงศ์ ตะวัน บรรเจิด ทองคำ เพิ่งดี ออกฉายเมื่อปี 2529 พร้อมกับได้รับเสียงตอบรับจากผู้ชมอย่างอบอุ่น ด้วยบทนางเอกที่นำแสดงโดย จารุณี สุขสวัสดิ์ (นางเอกคิวทอง) ที่ดังเปรี้ยงปร้างในขณะนั้น จนไม่สามารถมีพระเอกคนไหนสามารถแสดงบทหอมแก้มจารุณีได้ อย่างดีก็แค่บทกอดเท่านั้น
ราชินี ดอกหญ้า เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความใฝ่ฝันของหญิงสาวท้องนาคนหนึ่ง ที่อยากเป็นนางเอกหมอลำ แต่เมื่อเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนพลัน อาชีพหมอลำกลับไม่ได้รับความนิยมอย่างที่เคย มีเพียงชาวบ้านคนเฒ่า คนแก่เท่านั้น ที่ยังหลงใหลในศาสตร์การแสดงประเภทนี้อยู่ คณะหมอลำแต่ละคณะต่างก็ต้องปิดตัวเองลง ตามยุคสมัย มรดกทางการแสดงเก่าแก่ต้องถูกลบเลือน มลายหายไป เพื่อหาสิ่งอื่นมาแทนที่
ไม่เว้นแม้แต่คณะหมอลำ คณะ ส. บันเทิงศิลป์ ที่มีความฝันของหญิงสาว วรรณฉวี (จารุณี สุขสวัสดิ์) อยู่เต็มเปี่ยม เมื่อคณะหมอลำที่ตัวเองอยู่ต้องปิดตัวลง แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกสำหรับความฝัน เมื่อหนุ่มนักเรียนนอกอย่างทรงวิทย์ (พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์) ยื่นมือเข้ามาช่วย ผลักดันวงดนตรีหมอลำให้ดำเนินต่อไป เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คณะหมอลำไปรอด โดยการประยุกต์ศิลปะการแสดงหมอลำให้เข้ากับแนวดนตรีสตริงจากฝั่งตะวันตก จนเกิดการผสมผสานอย่างลงตัวของศาสตร์ทั้งสองประเภท จากเสียงแคน เสียงพิณ เสียงร้องแบบหมอลำ บรรเลงร้องควบคู่กับเสียงกีต้าร์ กลอง และคีย์บอร์ด เกิดจังหวะดนตรีแนวใหม่ จากสองฝั่งซีกโลกหลอมรวมจนเป็นหนึ่งเดียว อีกทั้งท่าทางร่ายรำตามแบบฉบับของหมอลำ อ่อนช้อยและงดงามจับตายิ่ง ความเป็นหมอลำไม่ได้ถูกกลืนหายไปแต่กลับเป็นการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ความคิดนี้เกิดขึ้นมาจากทรงวิทย์ ที่ต้องการหาข้อมูลเรื่องหมอลำไปทำวิทยานิพนธ์ แต่กลับไปตกหลุมรักนางเอกหมอลำเข้าให้ และความรักค่อย ๆ ผลิดอกออกใบทีละน้อย
แต่ ใช่ว่าชีวิตจริงจะสวยงามไปทั้งหมด เมื่อถือกำเนิดวงดนตรีวงใหม่นามว่า คณะลำเพลินประยุกต์ วรรณฉวีลีลาขึ้นมา พวกเขาต้องยกขบวนคนทั้งคณะมาอยู่ในเมืองกรุงเพื่อเดินทางมาตามความฝัน มาหาเจ้าของค่ายเทปที่รับปากจะปลูกปั้นวรรณฉวีให้เป็นนักร้องชั้นแนวหน้าของ ประเทศ แต่แล้วตัณหาราคะไม่เข้าใครออกใคร เจ้าของค่ายเทปใจทราม เปลี่ยนจากการปลุกปั้นกลับกลายเป็นปลุกปล้ำแทน โชคดีที่วรรณฉวีหนีรอดจากเงื้อมมืออันชั่วร้ายมาได้
อุปสรรค มีไว้ให้ฝ่าฟัน ทรงวิทย์พาคนทั้งคณะพร้อมด้วยวรรณฉวี เดินทางไปทำการแสดงในที่ต่าง ๆ จนได้รับกระแสการยอมรับอย่างล้นหลามจากมหาชน จนเก็บเงินได้เป็นกอบเป็นกำ สามารถนำเงินที่ได้ มาเข้าห้องอัดเสียงออกเทปโดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า "วรรณฉวีลีลา" ทั้งคลื่นมหาชนและการเปิดเพลงตามคลื่นวิทยุ วรรณฉวีได้เข้าไปนั่งในหัวใจมิตรรักแฟนเพลงทุกผู้ทุกนาม (โดยเฉพาะกลุ่มคนจากที่ราบสูง) ไม่มีใครที่ไหนไม่รู้จักเพลงของเธอ
นขณะนั้นเองมีการประกวดค้นหาราชินีดอกฟ้า หาตำแหน่งนักร้องหญิงที่ประชาชนยอมรับมากที่สุด โดยบริษัทสบู่ดังยี่ห้อหนึ่ง โดยคัดเลือกจากชิ้นส่วนกระดาษห่อสบู่ที่ประชนชนส่งเข้ามา วรรณฉวีก็เป็นเหมือนนักร้องคนอื่น ๆ ที่มีความฝันใฝ่อยากได้รางวัลอันทรงคุณค่านี้ รางวัลที่เป็นเหมือนการยอมรับความเป็นที่หนึ่งในวงการเพลงเมืองไทย
จนมาถึงวันประกาศผลรางวัล วรรณฉวีมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าตัวเองมีสิทธิได้รับรางวัลนี้อย่างแน่นอน
เนื่อง จากมีแฟนเพลงของวรรณฉวีคนหนึ่ง ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รับชิ้นส่วนห่อสบู่จากบริษัทนั้น ได้แอบมาบอกวรรณฉวีกับทรงวิทย์ ว่าเธอคือนักร้องที่ประชาชนส่งชิ้นส่วนมาโหวตให้มากที่สุด เขาและเธอเดินทางไปดูกองชิ้นส่วนนั้นด้วยตนเอง แต่เมื่อผลประกาศรางวัลราชินีดอกฟ้าออกมาปรากฎว่า ดวงจันทร์ ดวงใจ นักร้องที่มีชื่อไม่แพ้กันกลับได้ร
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
อีกทั้งยังมีประเด็นหลาย ๆ อย่างที่ถูกเปิดเผยอย่างไม่ปิดบัง เช่น ประเด็นเรื่องการต้องเสียตัวให้เจ้าของค่ายเทปก่อน ตัวเองถึงได้มีชื่อเสียงโด่งดัง หรือประเด็นด้านการฮั้วกันระหว่างค่ายเทปกับคลื่นวิทยุ ที่บังคับให้เปิดแต่เพลงในสังกัดของตัวเอง จากนั้นมาพูดคุยถึงเรื่องจุดยืนของการเป็นหมอลำ ที่ถูกดูถูกว่าต่างจากนักร้องโดยทั่วไป ทั้ง ๆ ที่ศาสตร์ทั้งสองอย่างก็เกิดจากการร้องรำเช่นเดียวกัน
หนัง เรื่องนี้สะท้อนถึงความเลื่อมล้ำทางสังคมเมืองที่ดูหมิ่นเหยียดหยาม คนภาคอีสาน ทั้ง ๆ ที่พวกเขาก็ขึ้นชื่อว่าเป็น คนไทย แต่กลับกลายเป็นคนกลุ่มล่างเมื่อเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร
สำหรับฉากที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ชม ถึงขนาดที่ผู้ชมท่านหนึ่งกล่าวว่า ชอบฉากที่วรรณฉวีรอคอยพระเอกให้กลับมา ในขณะที่ตัวเองกำลังต้องขึ้นเวทีคอนเสิร์ตอยู่ บทเพลงที่ตัวเองแต่งมาเพื่อคนรัก กล่าวถึงการรอคอย ที่แสนปวดร้าว วรรณฉวีถึงกลับร้องไห้ไป ร้องเพลงไป จนคนดูจับความรู้สึกนั้นได้
"ฉาก นี้ก็เป็นฉากที่พี่ประทับใจเช่นเดียวกัน การที่เราต้องทั้งร้องไห้และร้องเพลงควบคู่กัน แต่แล้วเพื่อนของวรรณฉวีกลับมาพูดคำพูดคำหนึ่งที่ทำให้วรรณฉวีกลับตัวได้ทัน คือคำว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเราเป็นศิลปินต้องแสดงออกได้ทุกสถานการณ์ เมื่อนั้นวรรณฉวีก็ถึงกับหยุดร้องไห้ และแสดงความเป็นมืออาชีพอย่างเต็มตัว" คุณมนัสกล่าว...
![]() | ![]() |
![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |