ผมขอยกย่อง คุณเอสอาร์ เป็นสมาชิกที่เป็น Fan 1000 แท้ 16 มิลจริงๆ ขนาดเครื่องระดับหัวโรง 16 มิล ก็คิดว่าใหญ่มาก ผมนึกว่า 16 มิล เป็นแค่เครื่องเล็กๆเท่านั้น...
อย่างไร แล้ว ลงภาพที่ได้ฉายของเครื่องนี้ในกระทู้นี้นะครับ...จะติดตามชม....
งานนี้ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดครับ ไม่ทราบว่าหาปัญหาเข้าตัวหรือเปล่า ซื้อมาแบบต้องประกอบเดินสายเองใหม่หมด ติดตั้งเอง คลำหาวิธีไปเรื่อย รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ของตัวเครื่อง และ POWER SUPLY เสื่อมสภาพอยู่หลายจุด เพราะเดิมเครื่องตั้งอยู่กับที่ วงจรเส้นสายต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่เดิม ถูกตัดตอนแยกแบบไม่รู้ว่าสายเส้นไหน ต่อเข้าเส้นไหน โดยเฉพาะระบบเสียงเพราะเจ็กเต็กก็ติดตั้งไม่เป็น ก็ต้องยกมาทั้งเซ็ท ค่อยๆลองกันไปครับ พอดี SEARCH
หาข้อมูลของเครื่องรุ่นนี้จาก GOOGLE ก็พบแต่ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ สมรรถนะทั่วๆไปของเครื่อง แต่เรื่องการติดตั้ง แผงวงจรโดยละเอียด หาไม่พบเลยครับ เพราะเครื่องรุ่นนี้ผลิตออกจำหน่ายทั่วโลกในปี 1980 ก็กว่า 30 ปีแล้วล่ะครับ ข้อมูลเชิงลึกหาไม่มีเลย แต่โชคดีครับ SEARCH ไปที่เว็ปของผู้ผลิตที่เยอรมัน ก็ได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายเทคนิคของบริษัท ได้ส่งไฟล์ OPERATING MANUAL ของเครื่องรุ่นนี้มาให้ ก็พอจะเดินหน้าต่อไปได้
มีเครื่องฉายแล้ว มีหนังหรือยังครับ
![]() | |
น่าจะไม่ใช่รุ่นนี้ครับคุณ dej ผมดูแล้วไม่คลาสสิคเท่าเครื่องนี้ ไว้ถ้ามีโอกาสไป จะขอถ่ายภาพเครื่องมาให้ดูครับ...
เครื่อง UMPRO ที่ว่า น่าจะผลิตในยุคใกล้เคียงกับรูปของคุณDEJ เมดอินโปแลนด์ ต่างตรงที่ตัวเครื่องสีฟ้า รูปทรงเป็นทรงแนวตั้ง มิใช่แนวนอนแบบรูปข้างต้น ขารีลใช่เลย ตามนี้ และที่สำคัญ มี POWERSUPLY แยกต่างหาก
ขออัพเดทความคืบหน้าของ KINOTON FP18 ครับ ตามคำเรียกร้อง ก่อนอื่นขอบอกกล่าวเล่าความถึงศักยภาพของเครื่องฉาย 16 มม ระดับหัวโรงเครื่องนี้สักหน่อย เครื่องรุ่นนี้ออกแบบเมื่อเพื่อการฉายภาพระยะไกลระหว่าง 10 - 15 ม.สามารถฉายได้ด้วยหลอดฮาโลเจน 24V 250w จนถึงหลอดซีนอน 2000 W (ขึ้นอยู่กับการติดตั้ง LAMP HOUSE) แต่เครื่องที่ผมได้มาเป็นหลอดซีนอน 500 W การขับเคลื่อนของฟิล์มใช้ระบบจำปาเหมือนเครื่องฉาย 35 มม (๋JENEVA INTERMITTEN)ซึ่งต่างจากเครื่อง 16 มม แบบ PORTABLE ทั่วๆไป ที่เป็นแบบขากวักขึ้นลง โดยผ่านเฟืองหนามเตย 3 ตัว คอยลำเลียงฟิล์ม จุดเด่นของเครื่องรุ่นนี้คือ ความนิ่งของภาพดีเยี่ยม(ในสภาพฟิล์มปกติ) ความคงทนสูง เพราะใช้สายพายแบบโซ่(เหมือนโซ่จักรยาน)เป็นตัวขับเคลื่อน การดูแลรักษาต่ำ คอยเติมน้ำมันหล่อลื่น และจารบีตามระบบเฟืองต่างๆ ตามระยะเวลา การรักษาฟิล์มค่อนข้างดี โดยมีระบบเซ็นเซอร์คอยเซฟฟิล์ม ด้วยการปิดแสงอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเช่น ฟิล์มหลุดร่องหนามเตย หรือการใส่ฟิล์มในไดอะแกรมผิด หรือฟิล์มขาดในขณะฉาย เครื่องจะไม่ทำงาน หรือหยุดเดินทันที เป็นต้น
่่่รูปด้านหน้า และด้านข้าง
ส่วนลำเลียงฟิล์ม
หลังจากดูภาพรวมๆแล้ว เรามาเจาะลึกที่ละส่วน เริ่มที่รีลขนาด 2000 ฟุต จุฟิล์มภาพยนตร์เรื่องยาวได้เต็มๆในรีลเดียว 1 รีลเต็ม ใช้เวลาการฉาย 2 ชั่วโมง