ครูประเทือง บุญญประพันธ์
ศิลปินอัจฉริยะตาบอด
ตามองไม่เห็น แดนศรีวิไล ครูใช้ภาษาไทยงดงามมีความหมายลึกซึ้ง
เพลงมีสำเนียงไพเราะก้องอยู่ในโสตประสาทนักฟังเพลงทั่วประเทศ และนักดนตรี
มี เพลง เพ้อ ลมจ๋า สั่งฟ้าฝากดิน ฟ้าลาดิน คำร้อง-ทำนอง ของ ครูประเทือง บุญญประพันธ์ ท่านแต่งเพลง สั่งฟ้าฝากดิน ให้ ชรินทร์ นันทนาคร ร้องอัดแผ่น ในปี 2504 ปัจจุบัน เศรษฐา ศิระฉายา นำมาขับร้องใหม่ ส่วนเพลงเพ้อท่านแต่งให้ สุเทพ วงศ์คําแหง ร้องอัดแผ่น
เสนอโดย “พีเพิลซีนร่วมกับศิลปวัฒนธรรมและบันเทิง “
เพลงเพ้อ..
เห็นลมละเมอ เพ้อ หวาดผวา เห็นฟ้าพะวงหลงโทษโกรธดิน เห็นสายน้ำหลาก กัดเซาะแก่งหิน เห็นพื้นดินแยก แตกเพราะถูกรอยไถ เห็นใบไม้ครวญหวนอยู่ริมธาร เห็นศาลเพียงตา แล้วข้าปวดใจ
เห็นแสงเดือนส่อง แล้วยิ่งใจหาย เห็นเธอร้องไห้ ช้ำใจเพราะใครเขาทำ
ครูประเทืองแต่งประพันธ์ขึ้น ท่านเล่าว่า มองไม่เห็นอะไรเลย เพลงดังๆที่ท่านแต่งได้รับความนิยมสูง จนถึงปัจจุบันนักร้องดังๆ นำมาบันทึกเสียงใหม่
ผู้เขียนมีโอกาสรู้จักกับครูประเทือง บุญญประพันธ์ โดยนายวัชรินทร์ วิทยา นักจัดรายการ แนะนำให้รู้จักกับครูประเทือง ตั้งแต่ปึ 2526 จนสนิทสนมกันมาก
ผู้เขียนช่วยหาสปอนเซอร์โฆษณาช่วยในรายการวิทยุ ที่ครูจัด เช่นคลื่นของ อสมท. และจ.ส. และร่วมจัดงานเลี้ยงสังค์สันต์แฟนคลับครูประเทือง จัดขึ้นเพียงครั้งเดียวปี 2527 ที่โรงแรมคอนติเนนตัล
ครูประเทือง พูดสนุก ครูบอกว่าอยู่ดีๆ แบ็งก็ลอยมาหาท่านเองทุกเดือน มาจากไหนก็ไม่รู้มองไม่เห็น เราจัดรายการจนแฟนติดผู้สนับสนุนมากมาย เคยจับเงิน แต่ไม่เคยเห็นเงิน ต้องให้เลขาช่วย ครูเก็บเงิน ไปซื้อบ้านที่หัวหินหลังเล็กๆ หนึ่งหลังประมาณปี 2535 และท่านก็มาเสียชีวิตไปในปี 2545
วันนี้ย้อนรอยตำนาน ครู ประเทือง บุญญประพันธ์ นักแต่งเพลงอัจฉริยะ ตาบอดมองไม่เห็น เป็นบรมครู ให้แฟนติดตามครับ
ครูประเทืองเกิดประมาณปี 2478 ตรงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่แปดริ้ว เป็นบุตรคนที่ 2 ของครอบครัว บิดารับราชการอยู่กรมสรรพสามิต มารดาค้าขายอยู่ทีสถานีรถไฟแปดริ้วจังหวัด.ฉะเชิงเทรา
เกิดเหตุร้าย เมื่ออายุได้เพียง 2 ขวบ เกิดเป็นโรคตาแดง แม่จึงพาไปหาหมอ แต่หมอเกิดติดธุระไม่อยู่ที่คลีนิค ลูกสาวหมอจึงหยิบยาผิดมาหยอดตาให้ ทำให้ตาบอดสนิทมองไม่เห็นทั้งสองข้าง
นิสา อาภรณ์ ลูกศิษย์คนสุดท้าย เขียนเล่าถึงประวัติ ชีวิตครูประเทือง เอาไว้ ใน หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ ครูประเทือง บุญญประพันธ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2545 เอาไว้ว่า...“ดูเหมือนจะมีครูคนเดียวในเมืองไทย ที่มีชีวิตเป็นนักแต่งเพลงที่อาภัพที่สุด คือดวงตาทั้งสองข้างบอดสนิท มาตั้งแต่ 2 ขวบ
นั่นคือความสะเทือนใจครั้งยิ่งใหญ่สำคัญของครูประเทืองและครอบครัวอย่างมาก แม่ปลอบใจว่าลูกต้องสู้กับชีวิอย่าท้อแท้
อายุ 7 ขวบร้องเพลงเก่ง มีพรสวรรค์ชอบร้องเพลง และร้องได้ไพเราะ จนใครๆและเพื่อนๆ ขอให้ร้องให้ฟังอยู่เสมอ
เพลงที่ชอบร้อง คือ เพลงใต้ร่มมะลุลี จากละครเวที เรื่องจุฬาตรีคูณ
ตอนเด็กตาบอดอยู่แปดริ้ว ชอบเดินร้องเพลงแถว ถนนศุภกิจหน้าโรงเรียนทวิวิทยาคุณ ฉะเชิงเทรา ปัจจุบัน เป็น โรงเรียนเซ็นต์หลุยส์ เพลงที่ร้อง เช่น น้ำเหนือบ่า “ ก็มักจะมีผู้หญิงมาร้องต่อให้ เป็นที่ครึกครื้น...” และเป็นที่น่ารักของผู้พบเห็นทุกคน
ตอนวัยรุ่นครูร้องเพลงไทยเดิมและ เชียร์เพลงรำวง อยู่เป็นประจำ ในงานบวชนาค งานแต่ง พูดเก่งเคยเป็นโฆษกของร้านขายยาอีกด้วย
เริ่มฉายแวว ศิลปินอัจฉริยะเมื่ออายุ 12 ปี เมื่อบิดาย้ายเข้ากรุงเทพฯ ครูประเทืองจึงมีโอกาสได้เข้าเรียนที่โรงเรียนคนตาบอด สี่แยกตึกชัย ถนนราชวิถี
และเริ่มฉายแสงของความเป็นอัจฉริยะทางด้านดนตรีสากล ปรากฎชัด เล่นเครื่องดนตรีได้หลายชนิดเรียน ที่โรงเรียนคนตาบอด จนอาจารย์ที่สอนทึ่งในความสามารถพิเศษเหนือคนอื่น
เมื่อ พ.ศ. 2485 เกิดสงครามโลกครอบครัว จึงย้ายกลับไปอยู่ที่แปดริ้วตามเดิม แต่แม่เกิดเสียชีวิต เมื่ออายุได้เพียง 33 ปี ครูยังเด็ก จึงต้องไปอาศัยอยู่กับญาติ และฝึกฝนด้านร้องเพลงและดนตรี อย่างจริงจัง ชอบเล่นกีตาร์ เปียโนฯลฯ
ทราบข่าวว่ามีการประกวดร้องเพลงที่ สถานีวิทยุ กรมการรักษาดินแดน ครูจึงเข้าไปประกวดด้วย ได้รางวัลชนะรับเงิน รางวัลสูงถึง 5.000 บาท ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูประเทือง ภูมิใจมากที่สุด
ต่อมา ครูนคร มงคลายน หัวหน้า วงดนตรีนครสหาย ประกวดร้องเพลง เพื่อคัดเลือก อัดแผ่นเสียง ครูประเทืองเข้าประกวดด้วย คว้ารางวัลที่ 3 จนมีชื่อเสียงมาตั้ง “วงดนตรีประเทืองทิพย์ “ที่ ครูประเทือง บุญญประพันธ์ ตั้งวงขึ้นเอง เพื่อออกแสดงทั่วไปจนเป็นที่รู้จัก
ปี พ.ศ. 2496 มีโอกาสบันทึกแผ่นเสียง เพลงลิขิตที่มืดมน ที่แต่งเอง ร้องเอง โด่งดังเป็นที่นิยม รู้จักอย่างแพร่หลายทั่วประเทศไทย
ครูประเทือง บุญญประพันธ์ ท่านจากไปแล้ว แต่ผลงานเพลง ชีวิตและการต่อสู้ของครูประเทือง จะเป็นตำนานอมตะตลอดไป ขอขอบพระคุณ สถาบันดนตรีคนตาบอด (วิวัย จิตต์แจ้ง เรียบเรียง )
![]() | |
![]() |
ความเห็น |