ก็คือ ควรจะเตรียมฟิล์มตัวอย่างใส่ฟิล์มไว้ในรีลนานๆ ให้อยู่ตัว พอจะจับฟิล์มไปต่อ จะไม่มีสบัด สบิ้ง ยอมให้ต่อโดยดี..ไม่อายม้วนจนต้องระวังปีนรีล(ใส่เต็มรีล)
ลองดูรูป การเก็บฟิล์มตัวอย่าง เดี่ยวนี้ จะเป็นแบบวงใหญ่ๆแบบภาพ B จะไม่ค่อยม้วน
แต่ถ้าเจอเก็บภาพ A ถ้าด้านในที่เป็นแกนมาอยู่ท้ายม้วน ได้เรื่องถ้ามากรอใส่รีลใหม่ๆ มันจะทำตัวเป็นสปริงจับให้ตรงไม่ค่อยได้... คิดว่า ตอนต่อฟิลืมม้วนที่ว่านี้ โอกาสเป็นเกลียวสปริงยังมีอยู่...เพราะเกิดการเก็บกดไว้ในม้วนที่อัดไว้แน่นๆ ยาวนาน มันจะคลายเป็นแบนยาวๆ ตรงๆ ไม่ค่อยได้...มันจะเหมือนอยู่สภาพม้วน พอยืดให้เป็นช่วง มันเลยพันกันต้องถึงให้ระวัง...
เสียดายจ้า..ยาวๆดี แนวสะสม ไม่มีภาพก็อยากให้ได้ฟิล์มยาวๆ ไว้ก่อน แต่ตอนหลังก็ดูว่านานมากคนดูก็ไม่ชอบ..
เดี๋ยวนี้ พอได้แนว หาเฟรมหัวหนัง ที่มีขีดแบ่งเฟรมมาทาบแล้วตัดให้ลงเฟรมก็พอไปได้ ก็ยังว่าดำๆ ไม่เกินซัก 1 ฟุตกำลังดี..ไม่งั้นเสียเวลารอ...ที่นับ 1 2 3 หัวหนังต่อม้วนไม่ค่อยได้เห็นแล้ว....
การม้วนฟิล์มตัวอย่าง (รวมทั้งโฆษณา) ตามภาพในข้อ A นั้น จะเกิดปัญหาฟิล์มพันเป็นเกลียวอย่างที่ว่านั่นแหละครับ และเวลาต่อฟิล์มด้วยเทปแบบซ้อนทับตรงนี้น่าลุ้น แม้จะต่ออย่างดีตาม ถ้าลากผ่านไปได้ก็รอด แต่ถ้าไม่ผ่าน
1. เหลื่อม (ยังพอปรับได้)
2. สะดุดรอยต่อ (มีรอยไหม้เป็นของแถม)
นอกจากนี้ ฟิล์มที่พันเป็นเกลียว ถ้าเอามาไว้เป็นตัวอย่างท้ายเรื่อง เพื่อไว้สาวกองกับพื้น มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ช่วงท้ายของฟิล์มนั้นเสียหายได้อีกครับ (เว้นแต่จะฉายภายในบ้าน ไม่ได้สาวลงกับพื้น
อย่างไรก็ตาม ฟิล์มที่พันเป็นเกลียวนี้ ถ้าใช้ที่ต่อฟิล์มเป็นหลักแล้วละก็ ให้ต่อแบบนี้ไปก่อน (ซึ่งอาจจะทำให้ฟิล์มหลุดจากแท่นบ้าง แต่เราก็ต้องรู้ Trick ว่า วางฟิล์มอย่างไรไม่ให้มันหลุด) เพราะฟิล์มที่เคยเป็นเกลียว ซึ่งถ้าผ่านการฉายมาแล้วอย่างน้อยสัก 4 - 5 ครั้ง ช่วงที่เคยเป็นเกลียวก็จะเป็นปกติแล้วครับ ไม่งอแล้ว แล้วก็มาม้วนเก็บตามข้อ B
ตัวอย่างที่ผมเก็บไว้ร่วมร้อย ผมม้วนแบบข้อ B ทั้งหมดครับ ใช้มือทั้งสิ้น ทั้งที่มีกล่องตัวอย่างของมัน และที่ไม่มีกล่อง ส่วนเรื่องช่วงหัวและท้ายที่เป็นภาพมืด ถ้าเป็นตัวอย่างที่ได้มาจากโรง (ซื้อ / ได้มา) จะตัดตรงเฟรมพอดีครับ บางทีก็กินเข้าไปในภาพแล้ว หรือไม่ก็เหลือเศษที่เป็นภาพมืดไว้นิดๆ หน่อยๆ ทั้งหัว - ท้าย ตัวอย่างที่ผมเก็บไว้ก็ไม่ตัดครับ ได้มาอย่างไรก็เก็บไว้อย่างนั้น เพราะเก็บรวมกันไปหมดทั้งสภาพใหม่ยังไม่เคยฉาย มีหัว - ท้ายครบถ้วน (เวลาเอาไปฉายก็ฉายแบบนั้นแหละครับ) สภาพใหม่ที่มีรอยตัดหัว - ท้ายไปแล้ว และถูกใช้งานมาสมบุกสมบัน ซึ่งการตบแต่งฟิล์มที่หัวและท้ายเพื่อตัดปัญหาเรื่องภาพเหลื่อม ก็ใช้ช่วงท้ายของหนังฝรั่งซึ่งมีหมายเลขเฟรมตามภาพนั่นแหละครับ
![]() | |
ขณะเดียวกันฟิล์มตัวอย่างที่เก็บไว้นาน จะเกิดคราบกาวจากเทปติดที่ปลายฟิล์ม และด้านที่เทปแปะลงไปครับ เวลาฉายก็จะเห็นคราบกาวแวบหนึ่ง ซึ่งการเช็ดคราบกาวนั้นก็ต้องใช้ "น้ำมันสนทาไม้" "น้ำมันก๊าด" หรือ "น้ำมันเบนซิน" ตามถนัด มันก็เกลี้ยงอยู่หรอก แต่หลังจากแปะใหม่แล้ว ก็จะเกิดปัญหาเดิมขึ้นอีก ก็ต้องเช็ดอีก
ก่อนหน้านี้ ก็เคยเห็นภาพการประมูล หรือขายฟิล์มตัวอย่างจากเว็บ "อีเบย์" แล้ว รวมทั้งฟิล์มตัวอย่างเรื่อง "เป้ ท่าทราย" (หรือในชื่อ "หมาแก่อันตราย") ที่จะมีสติ๊กเกอร์แปะบอกรายละเอียดไว้ ก็เลยเกิดความคิดขึ้นมาได้ โดยประยุกต์ใช้ของที่มีอยู่ และลงทุนลงแรงนิดหน่อย (ไม่นิดหน่อยล่ะ เพราะมีกว่าร้อยม้วนเข้าไปแล้ว)
เมื่อตอนงาน MOVIE ON THE BEACH ก็มีสมาชิกคนหนึ่งได้มอบฟิล์มหนังโฆษณา "ไวตามิลค์" ชุด "ฮีโร่" (ที่ทำขวดไวตามิลค์ตกลงไปในทะเลและมีคนช่วยเก็บให้) ความยาว 30 วินาที จำนวน 2 ม้วน โดยมีม้วนหนึ่งโดนน้ำจนถลอกเป็นระยะๆ ตลอดม้วน สรุป...ใช้งานไม่ได้ กับอีกม้วนหนึ่งมีโดนถลอกนิดหน่อยในช่วงแรกๆ แต่สภาพดีกว่า ตัวนี้ก็เลยเก็บไว้ ส่วนม้วนที่โดนน้ำก็เก็บอยู่อย่างนั้นแหละ
พอเห็นสติ๊กเกอร์แปะฟิล์ม ประจวบกับมีเศษฟิล์มหนังที่เป็นหัวม้วน - ท้ายม้วนที่เป็นภาพใสอยู่ส่วนหนึ่ง หรือเป็นท่อนสั้นๆ ไม่สมบูรณ์ ต่อแล้วภาพเหลื่อม ซึ่งท่อนที่ยาวหนึ่งฟุตก็เอาไว้พันที่รีล ที่ยาวประมาณคืบหนึ่งก็เอาไว้พันแกนโรลพลาสติกเพื่อกันเป็นรอย ก็เลยคิดว่าน่าจะเอาส่วนที่เหลือนี้มาประยุกต์ใช้ เพราะจะเกิดรอยเฉพาะส่วนที่เป็นเศษฟิล์มเท่านั้น ขณะที่ตัวฟิล์มจะไม่มีรอยคราบกาวอีกเลย เพราะพันฟิล์มแบบซ้อนทับไว้เฉยๆ เท่านั้นเอง
เมื่อคิดได้เช่นนั้นแล้ว ก็จับฟิล์มโฆษณาที่โดนน้ำชุดนั้นคลายออกมา และเอาไปแช่น้ำทิ้งไว้ ครบ 3 วันก็ลอกภาพออกหนหนึ่ง ก็ยังไม่เอี่ยมดี จากนั้นก็เปลี่ยนน้ำและแช่ฟิล์มใหม่อีก 2 วัน ภาพก็ค่อยล่อนออกไปเกือบ 80 % จากนั้นก็ทำแบบเดิม แช่ไว้อีก 2 วัน คราวนี้ใช้เศษผ้าลูบคราบที่เหลืออีกนิดหน่อยก็เกลี้ยงหมดจด จากนั้นก็ล้างน้ำอีกครั้งแล้วก็ผึ่งแดดไว้แป๊บเดียวก็แห้งสนิท เอาไปใช้งานได้เลยครับ โดยตัดเป็นท่อนยาว 1 ฟุดไม้บรรทัด ตัวอย่างที่มีกล่องของมัน แค่พันซ้อนทับด้านปลายฟิล์มก็พอ แต่ถ้าเป็นตัวอย่างที่ไม่มีกล่อง ถึงจะทำสติ๊กเกอร์แปะครับ (ปกติเวลาเก็บตัวอย่าง จะเอาด้านต้นเรื่องพันอยู่ข้างใน ตอนจบของตัวอย่างอยู่ข้างนอก)
จะว่าไปแล้ว นอกจากจะใช้ฟิล์มที่ล้างจนเกลี้ยง เพื่อใช้ในการนี้แล้ว ยังนำไปประยุกต์ในกรณีอื่นได้ด้วย แต่ก่อนจะนำฟิล์มไปแช่น้ำ ต้องตัดฟิล์มให้พอดีกับเฟรมเสียก่อน ทั้งหัว - ท้าย และภายหลังจากผึ่งฟิล์มให้แห้งแล้ว จึงค่อยใช้ปากกาแบบที่เขียนแล้วลบไม่ได้ ทำกรอบเฟรมไว้ 4 - 5 เฟรมก็พอ (4 รูหนามเตย = 1 เฟรม) ทั้งหัวและท้าย เวลาตัดฟิล์ม หรือที่ทำไว้ลบเลือนจึงค่อยเขียนใหม่
1. ใช้สำหรับหัวฉายในโรงที่ต่อจากรีลแพนเค้ก (รีลใหญ่ที่สามารถใส่ฟิล์มหนังเรื่องได้หลายม้วน) หรือจาก "แพลตเตอร์" แต่เศษฟิล์มต้องยาวหน่อย
(ฟิล์มที่เป็น END CREDIT ก็ใช้ได้ แต่ต้องดูกรอบเฟรม และตัดให้ดีๆ จะบอกว่าที่ต่างประเทศเค้ามีฟิล์มที่สำหรับใช้กรณีนี้เป็นการเฉพาะครับ ราคาเมื่อคิดเป็นเงินไทยก็แพงเอาการ ส่วนโรงซีนีเพล็กซ์ในบ้านเราก็เอาเศษหัวหนัง - ท้ายหนังหลายท่อนมาต่อรวมกัน)
2. ใช้สำหรับหัวฉายรุ่นกระเป๋า ป้องกันไม่ให้ฟิล์มเสีย ตอนเปิดสวิทช์เดินเครื่องฉายก็ปล่อยให้ฟิล์มผ่านไป จนกระทั่งคะเนว่าใกล้จะถึงส่วนที่เป็นภาพแล้วจึงจะเปิดแสง (จากเตาหรือจากหลอดก็ว่ากันไป)
ใครจะเอาไปใช้ก็ไม่สงวนสิทธิ์ครับ
![]() | ![]() |
![]() |