Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน
รูป
หนังไทยในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-คิดถึง "หนังไทย"1998146.. 13/12/2551 0:35
-โหมโรง69145.. 13/10/2551 2:57
-เฉิ่ม89876.. 12/10/2551 5:56
-15 ค่ำ เดือน 1181966.. 12/10/2551 5:52
-วัยระเริง110676.. 6/10/2551 2:11
-หามาให้ชมกัน...โปสเตอร์บ้านผีปอบตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาึคล่าสุด1010416.. 27/9/2551 1:53
-บ้านผีปอบ2008 ปอบหยิบของแท้มาแย้ว119039.. 27/9/2551 1:52
-ชุมแพ83315.. 25/9/2551 3:45
-อรหันต์ซัมเมอร์82287.. 21/9/2551 4:33
-บุญชู1467130.. 20/9/2551 16:26
-ร่วมไว้อาลัย"ยอดรั สลักใจ"พระเอกลูกทุ่งที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ1370813.. 20/9/2551 9:49
-พระเอกตลอดกาล "สมบัติ เมทะนี"1659211.. 20/9/2551 9:43
-ดรีมทีม74114.. 14/9/2551 1:23
-"ด้วยเกล้า"93408.. 8/9/2551 23:03
-ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่89747.. 5/9/2551 1:13
-ลูกอีสาน1373010.. 4/9/2551 19:56
เลือกหน้า
[<<] [32] [33] [34]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 535

(ID:1496) วัยระเริง


ภาพยนตร์เรื่อง "วัยระเริง" เป็นผลงานเรื่องแรกของอำพล ลำพูนและวรรษมณ วัฒโรดม ก่อนที่ทั้งคู่จะแสดงคู่กันอีกในภาพยนตร์เรื่องที่สองของทั้งคู่เรื่องน้ำพุ



ความเห็น

[1]


(ID:15234)
ใครมีเป็น DVD ครับ



(ID:15444)

เสียดายครับ ผมไม่มีซีดีหรือดีวีดีเก็บไว้เลยครับ แต่เคยดูหนังเรื่องนี้เหมือนกันครับ




(ID:15545)

ผมชอบกีต้าร์ที่ใช้แสดงในหนังเรื่องนี้มากครับ ปัจจุบันกีต้าร์ทรงนี้คงไม่มีแล้ว




(ID:15547)

วัยระเริง (2527)


วัยระเริง ออกฉายวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 เป็นผลงานการกำกับของ เปี๊ยก โปสเตอร์
เป็นภาพยนตร์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของวงดนตรีและนักร้องที่มีผลงานที่สร้างชื่อเสียงในเวลาต่อมาคือ
วงไมโคร และ "แหวน" ฐิติมา สุตสุนทร รวมถึง สุรสีห์ อิทธิกุล ที่ขับร้องไว้หลายเพลงหลังจากที่
ได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "เงิน เงิน เงิน" ซึ่งเป็นงานทำดนตรีของบัตเตอร์ฟลายมาแล้ว
ในปีก่อนหน้า

ไม่ประทับใจในตัวหนัง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม่ได้ชมในโรงภาพยนตร์ เพิ่งได้ดูจากวีซีดีไม่กี่ปีที่
ผ่านนี้เอง ดูแล้วรู้สึกว่าหนังเชยมาก ๆ ในมุมกลับกันถ้าได้ชมในโรงในปีที่ออกฉายอาจจะ "อิน"
มากกว่านี้ก็ได้ ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่อยากจะต่อยอดทางความคิดสักนิดหนึ่ง การเสพงาน "หนัง"
หรือ "เพลง" แต่ละคนจะมีจุดตั้งต้น (entry point) ต่างกัน นอกจากรสนิยมส่วนตัวแล้ว สถานที่
และเวลาที่สัมผัสงานชิ้นนั้น ๆ มีผลต่อการสร้างความประทับใจและความชอบที่ต่องานที่เสพ
เช่น ผมได้ดู "วัยระเริง" เมื่ออายุสามสิบกว่า ๆ แล้วและยังเป็นหนังที่สร้างไว้ตั้งแต่ตอนเป็นนักเรียน
พอได้มาดูใน สถานที่และเวลาที่ไม่ได้ร่วมสมัยแล้วมันเลย "เอ๊าท์" มาก ๆ

ขอยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวอีกเคสหนึ่ง หนังเรื่อง "โปรดทราบคิดถึงมาก" ที่ได้ชมใน สถานที่และเวลา
รวมถึงวัยที่ร่วมสมัย ผมก็อาจจะไม่ชอบหนังเรื่องนี้ก็ได้ถ้าบังเอิญไม่เคยดูมาก่อนและได้มีโอกาส
นำมาดูในตอนนี้ เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องของ "
what if" แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างเชื่อก็คือ ถ้างาน "หนัง"
หรือ "เพลง" นั้นเป็นงานที่มีคุณภาพอยู่เหนือกาลเวลา ไม่ว่าคุณจะเสพมันเมื่อไรประกอบกับถ้า
คุณมีวุฒิภาวะทางความคิดระดับหนึ่งแล้ว เมื่อได้เสพงานชิ้นนั้น ๆ มันก็ต้องเป็นงานที่ดีอยู่วันยังค่ำ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ชมหนังฝรั่งฟอร์มเล็กจากยุค 80 เรื่อง "
Some Kind of Wonderful" (1987)
ดารานำได้แก่ Mary Stuart Masterson จำไม่ได้ว่าได้ลงโรงในบ้านเราหรือไม่ ดูแล้วรู้สึกว่า
ไม่ "เอ๊าท์" เลยแล้วยิ่งเมื่อได้มีโอกาสอ่านบทวิจารณ์หนังเรื่องนี้ในภายหลัง จากสื่อออนไลน์
ต่าง ๆ ของต่างประเทศ ก็ได้รับการแสดงทัศนคติในเชิงบวก ความเห็นของผมหนังเรื่องนี้เป็นหนัง
ที่มีคุณภาพเหนือกาลเวลาจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่ได้ชมจากวีซีดี

กลับมาเข้าเรื่องเอนทรีนี้ต้องการบันทึกผลงานดนตรีประกอบภาพยนตร์ของ "วัยระเริง"
ให้ได้รับทราบว่ามีบุคลากรชั้นดีหลายคนเป็นผู้ร่วมผลิตงานขึ้นมา เริ่มตั้งแต่ เรวัต พุทธินันทน์
รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ ซึ่งตรงนี้เป็นจุดเคลียร์คัทที่สำคัญว่าไม่ใช่งานผลิตของบัตเตอร์ฟลาย
เพียงแต่งานดนตรีชิ้นนี้มีสมาชิกบัตเตอร์ฟลายที่เกี่ยวข้องมากที่สุดอยู่สองคน คือ สุรสีห์ อิทธิกุล
ที่ทำหน้าที่ร้องนำอย่างเดียว ส่วนอีกคนหนึ่งคือ อุกฤษฎ์ พลางกูร ทำดนตรีเกือบทุกเพลง
แต่ภาพการรับรู้ที่ปรากฏเหมือนกับว่าเป็นงานของบัตเตอร์ฟลายซึ่งตรงนี้สำหรับผมแล้วค่อนข้าง
ก้ำกึ่งมาก ๆ ส่วนนักดนตรีที่บันทึกเสียงในห้องอัดไม่ได้ให้เครดิตไว้ ซึ่งก็อาจจะเป็นสมาชิก
ของบัตเตอร์ฟลายเล่นก็ได้ แต่ในเมื่องานประพันธ์เพลงส่วนใหญ่ไม่ใช่พวกเขา ก็เลยไม่อยาก
จัดเข้าหมวดหมู่โดยตรงนัก ถือว่าเป็นงานไซด์โปรเจ็คท์หรืองานของ อุกฤษฎ์ พลางกูร น่าจะดีกว่า

คุณภาพของดนตรีในหนังเรื่องนี้ "เข้าขั้น" ทุกเพลง จะมีเพลง "ยุโรป" เท่านั้นที่ยืมทำนอง

Heartbreaker ของ Pat Benetar มาใช้โดยไม่ให้เครดิตเจ้าของเดิมไว้ด้วย ดังนั้นถ้าใครชอบ
เพลงนี้ก็ต้องยกเครดิตให้กับผู้แต่งดนตรีเพลงนี้ไว้ด้วย "แหวน" บันทึกเสียงร้องไว้ในชุดนี้
สามเพลง และได้ออกงานเดี่ยวชุดแรก "ฉันเป็นฉันเอง" กับแกรมมี่ในปีเดียวกัน ส่วนวงไมโครนั้น
ไม่ได้มีส่วนร่วมกับดนตรีชุดนี้แต่อย่างใด ภาพรวมของดนตรีชุดนี้เป็นร็อคแอนด์โรลล์สนุก ๆ
และมีเพลงช้าที่น่าฟัง




โปรดิวเซอร์
: เรวัต พุทธินันทน์

เพลง: ทิวเขา-แมกไม้-สายธาร/เฮฮาปาร์ตี้/ยุโรป/ดนตรีในหัวใจ/ชีวิตนี้ของใคร/
จับตำรามาใส่ตลับ/จังหวะ/จากวันนั้นถึงวันนี้

ขับร้อง
: สุรสีห์ อิทธิกุล, ฐิติมา สุตสุนทร

ดนตรี
:อุกฤษฎ์ พลางกูร ยกเว้น 5 ดนตรีโดย วิชัย อึ้งอัมพร

คำร้อง
: เรวัต พุทธินันทน์ 1,3,6,7/ประภาส ชลศรานนท์ 2,8/วาชิต รัตนเพียร 4/
เรวัต พุทธินันทน์ - ประภาส ชลศรานนท์ 5



Powered by eSnips.com




(ID:15548)

ขอขอบคุณข้อมูลจากบล็อคเนชั่น




(ID:15549)
สโลแกน

ภาพยนตร์เฮฮาประสาวัยรุ่น เพลงเพียบ เฉียบทุกเพลง




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 6

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116957351 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , ProlBlask , RobertMIGH , Sallycgriet , BrianerpGep , AnthonykDraib , Kristenmswony , Edwinjophorie , Stanley , Robbsf ,