Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน
รูป
หนังไทยในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-คิดถึง "หนังไทย"1998146.. 13/12/2551 0:35
-โหมโรง69155.. 13/10/2551 2:57
-เฉิ่ม89886.. 12/10/2551 5:56
-15 ค่ำ เดือน 1181966.. 12/10/2551 5:52
-วัยระเริง110686.. 6/10/2551 2:11
-หามาให้ชมกัน...โปสเตอร์บ้านผีปอบตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาึคล่าสุด1010416.. 27/9/2551 1:53
-บ้านผีปอบ2008 ปอบหยิบของแท้มาแย้ว119039.. 27/9/2551 1:52
-ชุมแพ83315.. 25/9/2551 3:45
-อรหันต์ซัมเมอร์82307.. 21/9/2551 4:33
-บุญชู1467230.. 20/9/2551 16:26
-ร่วมไว้อาลัย"ยอดรั สลักใจ"พระเอกลูกทุ่งที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ1370813.. 20/9/2551 9:49
-พระเอกตลอดกาล "สมบัติ เมทะนี"1659211.. 20/9/2551 9:43
-ดรีมทีม74134.. 14/9/2551 1:23
-"ด้วยเกล้า"93408.. 8/9/2551 23:03
-ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่89747.. 5/9/2551 1:13
-ลูกอีสาน1373110.. 4/9/2551 19:56
เลือกหน้า
[<<] [32] [33] [34]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 535

(ID:1516) 15 ค่ำ เดือน 11


ไหนๆ เหลืออีกไม่กี่วัน ก็จะออกพรรษาแล้ว ตอนนี้มาอุ่นเครื่องด้วยสุดยอดภาพยนตร์อื้อฉาว (ในยุคนั้น) 15 ค่ำ เดือน 11 ครับ เป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ในดวงใจครับ ไม่ว่าจะเป็นพล็อตเรื่อง หรือดนตรีประกอบ



ความเห็น

[1]


(ID:15445)

"๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑" เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากความเชื่อ ของชาวท้องถิ่นในแถบอีสาน เกี่ยวกับปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นการเรียกขานลูกไฟประหลาดสีชมพูจำนวนมาก ที่พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ในคืนวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น "๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑" ของทุกปี โดยลูกไฟนั้นไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นสูงประมาณ 20-30 เมตร แล้วก็หายไป โดยไม่มีการโค้งลงมา เช่นเดียวกับไฟที่เกิดจากพลุทั่วไป และเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่แน่นอน ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้เฒ่าผู้แก่ที่อาศัยอยู่ริมน้ำโขง ได้รับการบอกเล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า ลูกไฟเหล่านี้คือ "บั้งไฟพญานาค" ที่พญานาคสร้างขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี และจะมีผู้คนจำนวนมาก แห่แหนมานั่งชมปรากฏการณ์ ที่มหัศจรรย์ดังกล่าว ปรากฏการณ์นี้ ก่อให้เกิดมีคำถามตามมามากมายว่า บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเกิดขึ้นเฉพาะในวันออกพรรษา และเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย มีหลายทฤษฎีกล่าวถึงเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีที่บอกว่า อาจจะมีใครบางคนไปสร้างขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และความเชื่อของชาวอีสาน เกี่ยวกับพญานาค...


"๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑" เรื่องราวของบั้งไฟพญานาค มหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง ที่เกิดขึ้นกับชีวิตคนไทยในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพไปกว่าแปดชั่วโมง แต่ที่แห่งนี้ กลับมีสิ่งเร้นลับมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นตรงกันทุกปี ในคืนวันออกพรรษา บั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ กลายเป็นเรื่องที่โด่งดังไปทั่วโลก และยังไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่า บั้งไฟพญานาค เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์? เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ? หรือเป็นพุทธบูชาของพญานาค จริงตามความเชื่อ และ ศรัทธาของชาวอีสาน? ยังคงเป็นปริศนาที่ท้าทาย และรอคอยการพิสูจน์มาจนทุกวันนี้

จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส ร่วมกับ หับโห้หิ้น ฟิล์ม ภูมิใจเสนอ ภาพยนตร์เรื่อง "๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑" มหัศจรรย์แห่งภาพยนตร์ไทย จากฝีมือการกำกับฯ ของผู้กำกับหนุ่ม เก้ง - จิระ มะลิกุล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดี ผลงานที่ผ่านมา มีทั้งงานด้านกำกับภาพยนตร์โฆษณา และกำกับมิวสิควิดีโอ โดยก่อนจะมาทำงานในเรื่องนี้ เขาได้มีส่วนร่วมเขียนบทกับ สิน - ยงยุทธ ทองกองทุน ในภาพยนตร์เรื่อง สตรีเหล็ก

จิระ มะลิกุล ผู้กำกับหนุ่ม อ่านพบเรื่องนี้ จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม เมื่อปี 2538 ข้อถกเถียงและทฤษฎีที่ถูกยกมากล่าวอ้าง สร้างความฉงนสนเท่ห์ ชวนให้ติดตามยิ่งนัก และเขาเริ่มค้นคว้าหาข้อมูล จากหนังสือเป็นลังๆ นำเรื่องราวทั้งหมดมาประมวล พร้อมเดินทางไปดูบั้งไฟพญานาคให้เห็นกับตา เดินย่ำรอยเท้าไปทั่วบริเวณริมน้ำโขง พูดคุยกับชาวบ้าน และกลับมาศึกษาค้นคว้าถึงเรื่องนี้ อย่างจริงจังอีกครั้ง เข้าพิพิธภัณฑ์ ค้นคว้าต่อเติม รวบรวมข้อมูลทั้งหมด บวกจินตนาการในสิ่งที่อยากจะให้เป็นภาพ โดยใช้เวลานานกว่าแปดเดือนใ นการเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อบทเขียนเสร็จ เขานำบทปึกใหญ่มาให้ ยงยุทธ ทองกองทุน และ ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ ผู้ที่เป็นทั้งเพื่อนร่วมสถาบัน และร่วมก่อตั้งบริษัท หับโห้หิ้น ฟิล์ม

หลังอ่านบทจบ ทั้งสิน และ เสริฐ รู้สึกได้ว่าเป็นบทที่ดีมาก และเมื่อบทดี การนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ก็ยากที่จะออกมาไม่ดี สองโปรดิวเซอร์คู่หู ยงยุทธ และ ประเสริฐ ก็ตัดสินใจว่า "๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑" น่าจะเป็นหนังที่ หับโห้หิ้น ฟิล์ม เลือกเป็นหนังเปิดตัวกับ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส เป็นเรื่องแรก และเมื่อได้รับอนุมัติจากทาง จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส อย่างเป็นทางการ การทำงานก็เริ่มขึ้น

การคัดเลือกนักแสดงนั้น ทีมงานเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดในภาคอีสานอยู่นานกว่าจะลงตัว ทีมงานสร้างเลือกใช้นักแสดงหน้าใหม่ ที่ยังไม่เคยผ่านงานแสดงภาพยนตร์มาเป็นดารานำ นักแสดงที่มีบทสำคัญเป็นตัวเดินเรื่อง ได้แก่ โอ - อนุชิต สพันธุ์พงษ์ มาในบท คาน เด็กวัดผู้กุมความลับในการสร้างบั้งไฟ ที่ทำหน้าที่ดำน้ำลงไปวางบั้งไฟ เก้ง - จิระ เห็นแววของเขา มาจากภาพยนตร์โฆษณาของโค้ก ส่วน ตี้ - ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ อดีตผู้ประกาศข่าวสีสันบันเทิงทางช่อง 3 แม้จะเป็นที่คุ้นเคย ของใครๆ จากหน้าจอโทรทัศน์ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องแรก ในชีวิตการแสดงของเธอ ที่ต้องมารับบทครูอลิศ ด้าน เปี๊ยก - บุญชัย ลิ่มอติบูลย์ ที่กว่าจะได้ตัวมาต้องใช้เวลาไม่น้อย เพราะหนุ่มคนนี้ มีหน้าที่การงานหลักฐานมั่นคง และไม่เคยคิดอยากจะเป็นดารา มารับบทหมอนรติ ผู้เฝ้ารวบรวมทฤษฎี เพื่อยืนยันความเชื่อของตัวเองว่า ลูกไฟนั้นเกิดขึ้น เกิดจากการหมักหมมของซากพืชซากสัตว์ ร่วมด้วยตัวแสดงที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง

นักแสดงสมทบยังมี นพดล ดวงพร เจ้าของวงดนตรี เพชร พิณทอง ที่ลือลั่นในภาคอีสาน มารับบทหลวงพ่อโล่ห์ ผู้ที่มีความผูกพันกับพญานาค และบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษา สุรสีห์ ผาธรรม อดีต ผู้กำกับใหญ่ที่ตื่นเต้นยินดีปรีดา เมื่อมีคนคิดตรงกับเขา ในการนำเรื่องบั้งไฟพญานาค มาสร้างเป็นภาพยนตร์ มาในบทครูใหญ่ ผู้ที่ไม่อยากรู้เลยว่า บั้งไฟพญานาคเกิดจากอะไร, สิงห์คาน นันกวน หมอลำ คณะเพชร พิณทอง มารับบท พระยอดสน ผู้ที่คอยไปรับส่ง และดูแลคานกับหลวงพ่อ เป็นหนึ่งในคนทำบั้งไฟพญานาค

นอกเหนือจากนี้ เก้ง - จิระ ยังได้ชักชวนเพื่อนฝูง ที่เคยทำงานร่วมกันมาอย่าง ชนินทร์ (โปสาภิวัฒน์) นินจา มารับบท ดร.กริช นักประหลาดวิทยา ที่เดินทางไปทั่วเพื่อพิสูจน์ว่า พญานาคนั้นมีจริงหรือไม่, สมชาย ศักดิกุล นักดนตรีอารมณ์ดี มารับบท ดร.สุรพล ผู้คัดค้านทฤษฎีของหมอนรติในทุกกรณี นอกจากนี้ ยังได้ความร่วมมือจากชาวบ้านอำเภอโพนพิสัย มาร่วมเข้าฉากเป็นดาราจำเป็น ด้วยความยินดีและมีน้ำใจ

"๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑" ยังได้ เอก เอี่ยมชื่น ผู้ฝากผลงานไว้ในฐานะโปรดั๊กชั่นดีไซน์ ในภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ อย่างมากมายอย่าง จันดารา, ฟ้าทะลายโจร, นางนาก มาร่วมทำงานคุมภาพ, ฉาก และงานด้านโปรดั๊กชั่น ที่ปรากฏเป็นภาพในเรื่องนี้

การทำงานเรื่องนี้ ในส่วนของทีมงานสร้าง ประกอบด้วย สมบูรณ์ พิริยะภักดีกุล ผู้กำกับภาพและช่างภาพ, ปาน บุษบรรณ ลำดับภาพ, มนตรี วัดละเอียด ช่างแต่งหน้าเอฟเฟ็ค, ธิฐิพล แฝงสีคำ ช่างแต่งหน้า, เอกศิษฐ์ มีประเสริฐกุล ออกแบบเครื่องแต่งกาย




(ID:15446)

15 ค่ำ เดือน 11
โดย : น้ำโขง  เมื่อ : 15/09/2005 12:53 PM

"หากชีวิตคือการดิ้นรน คนหนึ่งคนต้องเดินก้าวไป ให้เรียนรู้เส้นทางแห่งใจ แล้วก็ไปให้ถึงที่นั่น เพราะชีวิตคือการต่อสู้ ให้เรียนรู้ด้วยใจตั้งมั่น เส้นทางไกลแค่ไหนช่างมัน คนช่างฝันเท่านั้นทำได้" เหอะๆๆ...อย่าพยายามขมวดคิ้วจนเห็นตีนกา หรือทำหน้าฉงนจนสงสัย ว่าเอ๊ะ..คำนี้ ความหมายอะไร มาจากไหน ใครตอบได้ช่วยกูที อันว่าที่จริงแล้วประโยคนี้ผู้เขียนเองดึงมาจากส่วนหนึ่งของเพลงๆ หนึ่งที่ใช้ประกอบในภาพยนตร์เรื่อง "15 ค่ำ เดือน 11" ของพี่ เก้ง นนทรีย์ นิมิตบุตร เอ๊ย! พี่เก้ง จิระ มะลิกุล ต่างหาก (ขอโทษพี่..สับสนนิดนึง..ดังเหมือนกัน) เพลงนี้ประพันธ์ขึ้นโดยคุณ เสกสรรค์ สุขพิมาย บางคนไม่รู้จักอาจจะสงสัย ไอ้คนชื่อเสกสรรค์ในหมู่บ้านมีถมไป อ๋อ..บอกให้ง่ายๆ เสก โลโซ นั่นไง ใครก็รู้ (ลิเกอีกแว้ววววว)

"15 ค่ำ เดือน 11" โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะไม่มีใครให้ความสำคัญกับคำนี้ เพราะจะนึกถึงแต่เพียงว่า เป็นวันออกพรรษาและเป็นวันเทศกาลบุญบั้งไฟพญานาค ที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดหนองคายทุกๆ ปี จนมีภาพยนตร์กระแสแห่งปี ตั้งชื่อนี้ขึ้นมาจนโด่งดังไปทั้งประเทศ แล้วไอ้คนหนองคายบางคนที่ชอบเพลงโลโซอย่างผู้เขียน มีหรือจะพลาด จริงๆ แล้วก็ไม่ได้อะไรมากมาย แค่ดูในโรง 2 รอบ และวีซีดี อีก 7-8 รอบเท่านั้นเอง หนังเรื่องนี้ทำไมถึงดูได้ขนาดนั้นเหรอ ผมจะไม่เล่าให้ฟัง แต่จะเขียนให้อ่าน ก็เพราะมันเป็นหนังที่ครบเครื่องทั้งในเรื่องของภาพที่สวยงาม บทที่ดีใช้ได้ (หรือบางคนว่าไม่ดี ก็ไม่ว่ากัน) แต่ที่สำคัญ ทำให้คนหนองคายรักหนังเรื่องนี้ได้พอสมควร และอีกอย่าง หนังเรื่องนี้ทำให้ช่องข่าวทีวีบางช่อง ดันตกเป็นข่าวเองซะงั้น เอ๊ะ..นี่ผมยังไม่ได้ลอดผ้าพาทุกท่านเข้าไปชมเลยนะเนี่ย ประเด็นก็บานปลายซะแล้ว เรื่องประเด็นหนักๆ อย่างนี้ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ คุณม้าก้านกล้วย ใน คอลัมน์ตีตั๋ว ไปละกัน (ยังไม่วายที่จะเหน็บ) ส่วนผมจะนำเสนอในส่วนของผมให้ทุกท่านได้รู้แล้วกัน ว่าหนังเรื่องนี้มีอะไรที่น่าสนใจในอีกมุมมองนึง

แค่เริ่มต้นมาฉากแรกก็กรี๊ดแล้ว คนอะไรมุดน้ำเพื่อไปทำอะไรซักอย่างภายใต้แม่น้ำโขงที่ลึกหลายสิบเมตร ทั้งๆ ที่น้ำไม่ได้หยุดนิ่งเหมือนคูคลอง หนองบึง หรือซัดเข้าฝั่งเหมือนน้ำทะเล แต่นี่..กลับไหลเป็นทางยาวออกสู่อ่าวไทย โอ้..พระเจ้าจอร์จ ทำไปได้ แต่ก็ชอบ เพราะครั้งหนึ่งผมก็อยากทำได้อย่างนั้น อยากรู้ว่าข้างใต้แม่น้ำโขงมันจะมีอะไรน่าพิศมัยรึเปล่า แต่ไม่เอาดีกว่า น้ำนี่ขุ่นขลักอย่างกับน้ำกาแฟผสมนม หรือว่าคนจีนชอบกินกาแฟมากมายจนชงเผื่อให้คนอื่นด้วย แล้วไหลลงมาตามแม่น้ำฮวงโหจนถึงแม่น้ำโขง อ๊ะ..ก็ไม่แน่ จินตนาการเข้าไว้ อย่าใช้แต่ความรู้ที่สั่งสมมา จนปิดกั้นจินตนาการของตัวเองไว้ จริงมั้ยครับ

เข้าเรื่องต่อดีกว่า ในตัวหนังนั้น ช่วงแรกๆ จะนำเสนอถึงประเพณีการจัดงานวันออกพรรษา รวมไปถึงเทศกาลบุญบั้งไฟพญานาคอันเลื่องชื่อ ระบือนาม สยามประเทศ ซึ่งสื่อได้ถึงความเป็นชาวหนองคายโดยแท้จริง จนผมเองได้ดูในโรงภาพยนต์ครั้งแรกแล้ว ถึงกับอุทานด้วยเสียงหลงว่า "คิดฮอดบ้านอีหลี" บรรยากาศนี้ใช่เลย สมกับเป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลกจริงๆ (โปรโมทนิดนึง ททท.ไม่ได้จ้างมานะ อันนี้เรื่องจริง) และยังนำเสนอถึงความขัดแย้งทางความเชื่อ 3 ความเชื่อ คือ ไสยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และฝีมือมนุษย์ คุณเอ๊ยยยย....ยิ่งขัดแย้ง ยิ่งดัง คนยิ่งแห่มาเยอะขึ้นทุกปี จนริมน้ำโขงไม่พอที่จะนั่ง วอนขอผู้ว่าจังหวัดหนองคายช่วยยกสแตนด์ที่นั่งของสนามราชมังคลา มาไว้ริมตลิ่งทีเถอะ เยอะมาก อันว่าเมืองน่าอยู่ จะไม่น่าอยู่ก็วันนี้แหละ รถราที่เคยวิ่งสะดวกสบาย สไตล์ชิวชิว (แปลว่าเรื่อยๆ) วันนี้วันเดียว จักรยานยังวิ่งลำบากเลย

ในหนังก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ผู้คนหลั่งไหลกันมาชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในหนึ่งปีนั้นมากมายขนาดไหน ทั้งมาด้วยความศรัทธาและเพื่อพิสูจน์ความจริง ผู้กำกับเรื่องนี้เล่าผ่านตัวละคร 2 ตัวหลักๆ คือ หลวงพ่อ ผู้มีความศรัทธาอย่างแรงกล้า กับ บักคาน หนุ่มน้อยที่กำลังสับสนระหว่างความเชื่อกับโลกความจริ ง (แต่พระเอกอย่างบักคานในเรื่อง เว่าอีสานบ่ค่อยเหมือนเลยเนอะ ดูแล้ว อึดอ๊าดดดด อึดอัด อยากเว่าแทน) จนสุดท้ายตอนจบ บักคานก็ได้รู้ความจริงจากความเชื่อแห่งศรัทธานั่นเอง สมกับสโลแกนของหนังที่ว่า "เซื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ" จริงๆ เรื่องนี้ถือว่าจบได้สวยมากๆ เพราะยังคงไว้ซึ่งความเชื่อและความศรัทธาไว้เช่นเดิม ดูไป อมยิ้มไป อิ่มใจไป ดูจบครั้งแรกผมตีเข่าดังพั่บในใจทันที ฮ่วย!...แบบนี้แหละบ้านข้อยชัดๆ

สรุปแล้วบทความนี้ เข้าข้างบ้านเกิดเมืองนอนตนเองไปหน่อย สำหรับผู้อ่านแล้วโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยเด้อ.... ใครยังไม่ได้ดูก็ขอแนะนำให้ไปดูได้เลยครับ แล้วคุณจะค้นพบบางสิ่งบางอย่างของชีวิตว่า

"ขอเพียงแค่ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึงที่จุดหมาย โอ้เย
โปรดจงมั่นใจ ที่ทำลงไปนั้นถูกแล้ว
อย่าฟังคำคน อย่าสนใจใคร อย่าเปลี่ยนแนว คนแน่แน่ว เท่านั้น ผู้ชนะ"

* โปรโมชั่นพิเศษของการเปิดบทความเรื่องแรกของผม สำหรับผู้ที่อ่านบทความนี้และได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ผมมีคำถามมาถามว่าภายในเรื่องจะมีผู้กำกับ พี่เก้ง จิระ มะลิกุล โผล่มาแว้บนึง อยากทราบว่ามาตอนไหน? ใครรู้คำตอบแล้วโพสกระทู้ตอบได้เลยครับ ใครตอบถูกเป็นคนแรกผมมีของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เป็น DVD ของภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ครับ




(ID:15447)

ข้างบน เป็นบทวิจารณ์หนัง ของน้ำโขง ครับ




(ID:15448)

เหลืออีกไม่กี่วัน จะออกพรรษา และคงไม่มีโอกาสไปชมบั้งไฟพญานาค  คงต้องอาศัยดูหนังเรื่องนี้แก้ขัดไปก่อนครับ




(ID:15493)
เป็นหนังอีกเรื่องในความทรงจำ



(ID:15890)

ยิ่งใกล้วันออกพรรษา ยิ่งคิดถึง 15 ค่ำ เดือน 11




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 6

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116957771 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :นนท์ , Jerekioxgew , ProlBlask , RobertMIGH , Sallycgriet , BrianerpGep , AnthonykDraib , Kristenmswony , Edwinjophorie , Stanley ,