Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
แหล่งความรู้ โฮมเธียเตอร์ โปรเจคเตอร์ และเครื่องฉายดิจิทัลในบ้านเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-ขอฉายกับเขาบ้างแบบดายๆ64594.. 28/10/2555 23:29
-วันแม่5448376.. 28/10/2555 8:26
-กว่าจะมาเป็น “3 มิติ และ 4 มิติ”: ประวัติคร่าวๆ ของหนังระบบดิจิตอล96695.. 28/10/2555 1:34
-อยากรู้จักสมาชิกโปรเจคเตอร์ที่อยู่จังหวัดเพชรบูรณ์54635.. 26/10/2555 11:25
-ฉายในครัวครับ ที่ทำงาน55431.. 25/10/2555 16:21
-หน่วยหนังของผมไม่ได้ฉายขายยาแต่ฉายขายซีดี..เจ้าแรกเจ้าเดียวในประเทศไทยครับ1514229.. 24/10/2555 16:07
-ระบบ 3D กำลังมาแรงจริงๆ..89438.. 22/10/2555 21:04
-++วิธีหลอกเครื่องเพื่อเปลี่ยนหลอดโปรเจ๊คเตอร์ ราคาถูกๆครับ ++72041.. 21/10/2555 12:00
-กลับมาอีกครั้งกับเขาผู้นี้ เดลจอ 7 เมตร671611.. 21/10/2555 7:26
-สมาชิกฉายโปรเจคเตอร์ เขตบางปะอิน อยุธยา1727123.. 20/10/2555 23:16
-จอ 2 เมตร 60 บาทโครงจอ 2 แสน796116.. 16/10/2555 8:10
-ขอคำชี้แนะกูรู BenQ MS513P สุดท้ายได้ BenQ MW5162641352.. 15/10/2555 13:25
-Ben Q MS513P48973.. 14/10/2555 9:33
-มือใหม่ขอถาม58386.. 11/10/2555 15:25
-++หนังกลางแปลงสามมิติ++76992.. 10/10/2555 1:51
-มีตัวอย่างบางตอน1424228.. 7/10/2555 21:52
เลือกหน้า
[<<] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [>>]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 940

(ID:13456) กว่าจะมาเป็น “3 มิติ และ 4 มิติ”: ประวัติคร่าวๆ ของหนังระบบดิจิตอล


พอดีไปอ่านเจอบทความดีๆชิ้นนี้จากเวป

ก็เลยอยากนำบทความมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ
ขอขอบคุณเวป filmzick.com


ความเห็น

[1]


(ID:140329)

เราอยู่ในยุคที่เป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย ที่ไม่ได้จำกัดแค่ในวงการภาพยนตร์ แต่เป็นวิทยาการและเทคโนโลยีในวงกว้างที่ช่วยให้เราสามารถทำสิ่งต่างๆ มากมายได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่วันนี้ผมจะขอเสนอบทความเกี่ยวกับที่มาที่ไป เรียกว่าเป็นประวัติคร่าวๆ ก็แล้วกัน เป็นประวัติของระบบภาพยนตร์แบบดิจิตอล ถือว่าเป็นการต่อยอด (ในรูปแบบหนังภาคต้น-prequel) จากบทความครั้งที่แล้ว ที่ผมนำเสนอเกี่ยวกับระบบภาพยนตร์ 3 มิติแบบต่างๆ

เคยสังเกตุกันไหมว่า ทุกวันนี้เวลาเราไปดูหนัง ยังคงมีหนังที่ฉายทั้งในแบบฟิล์มปกติ และระบบดิจิตอล (ไม่เจาะจงถึงระบบ 3 มิติ) เพราะว่าระบบดิจิตอลนั้น จริงๆ แล้วพึ่งจะใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงหนังทั่วโลกไม่ถึงทศวรรษนั่นเอง

ถ้าพูดถึง “หนังในระบบดิจิตอล” แล้ว การย้อนกลับไปดูต้นกำเนิดนั้นเป็นเรื่องที่กำกวม นั่นเป็นเพราะคำหรือประโยคนี้ ครอบคลุมเทคโนโลยีการดูภาพเคลื่อนไหวในวงกว้าง ครอบคลุมไปถึงการดูคลิปวิดิโอด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจะมีการฉายหนังในโรงแบบดิจิตอลเสียอีก ดังนั้นผมจะขอนำเสนอเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงหนังเท่านั้น

 

ทำความเข้าใจกับ “หนังดิจิตอล”

“หนังดิจิตอล” คือการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ในระบบดิจิตอล มาใช้กับ 3 ส่วนหลักๆ ของกระบวนการสร้างหนังดังนี้ 1) การถ่ายทำหนัง 2) การจัดจำหน่ายหนัง และ 3) การฉายหนัง แทนที่จะใช้ฟิล์มเซลลูลอยด์เป็นสื่อในการเก็บและฉายหนัง

กว่าจะมาเป็น 3 มิติ และ 4 มิติ: ประวัติคร่าวๆ ของหนังระบบดิจิตอล

ดังนั้น “คำว่าหนังดิจิตอล” จะต้องเกี่ยวข้องกับอย่างน้อยสองส่วน ซึ่งก็คือการจัดจำหน่าย และการฉายหนังแบบดิจิตอล ส่วนการถ่ายทำนั้น สามารถถ่ายทำด้วยระบบเก่าได้ ทั้งหมด หรือบางส่วน แม้แต่ในปี 2009 ที่ผ่านมา หนังหลายๆ ถ่ายทำด้วยกล้่องปกติ ลงบนฟิล์ม 35 มม. ตามปกติ แต่นำมาสแกนและแปลงเป็นระบบดิจิตอล ซึ่งในปัจจุบันมีความละเอียดหลักๆ 2 แบบ ได้แก่ 2K คือความละเอียด 2,048 x 1,080 พิกเซล หรือ 4K ที่ความละเอียด 4,096 x 2,160 พิกเซล

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การถ่ายทำหนังด้วยกล้องระบบดิจิตอลใช้ต้นทุนต่ำลงกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งกล้องระบบดิจิตอลเหล่านี้ มีทั้งความละเอียด 2K และ 4K แต่กล้องดิจิตอลทั่วไปที่ต้นทุนต่ำที่สุด จะถ่ายทำที่ความละเอียดแบบ HD ที่ 1,920 x 1,080 พิกเซล ซึ่งเทียบเท่ากับหนังแผ่นแบบ Blu-Ray ในปัจจุบัน

 

ขั้นตอนที่ 1) การถ่ายทำในระบบดิจิตอล

อย่างที่เกริ่นไปข้างต้น ยุคแรกๆ หนังที่ฉายในระบบดิจิตอล อาจมีบางฉากที่ถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอล แต่ที่เหลือ ถ่ายทำด้วยฟิล์มเซลลูลอยด์ธรรมดา แต่เมื่อพูดถึงหนังที่ถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลทั้งเรื่อง หนังเรื่องนั้นคือ Star Wars: Episode II, the Attack of the Clones ของผู้กำกับ จอร์จ ลูคัส นั่นเอง และหนังไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วยระบบดิจิตอล 100% ก็คือ ปักษาวายุ

กว่าจะมาเป็น 3 มิติ และ 4 มิติ: ประวัติคร่าวๆ ของหนังระบบดิจิตอล    กว่าจะมาเป็น 3 มิติ และ 4 มิติ: ประวัติคร่าวๆ ของหนังระบบดิจิตอล

กล้องที่ใช้ถ่ายหนังแบบดิจิตอล ต่างจากฟิล์มตรงไหน? อย่างแรกคือ เฟรมเรท (Frame Rate) หรือจำนวนภาพนิ่งที่กล้องบันทึกใน 1 วินาที ซึ่งกล้องฟิล์มทั่วไป บันทึก 24 เฟรมต่อวินาที ในขณะที่กล้องดิจิตอลทั่วไป บันทึก 30 เฟรมต่อวินาที

อย่างที่สองคือคุณภาพของภาพ ถ้าเป็นเมื่อก่อน ภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกด้วยกล้องดิจิตอลนั้น คุณภาพไม่ดีเท่ากับฟิล์มเซลลูลอยด์ แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่กล้องสามารถบันทึกภาพที่ความละเอียด 4K หรือ 4,096 x 2,160 พิกเซล แล้ว ถือว่าใกล้เคียงกับฟิล์มมากๆ

จอร์จ ลูคัส ถ่ายทำหนังเรื่อง Star Wars: Episode II, the Attack of the Clones  ด้วยกล้อง Sony HDW-F900 HDCAM และใช้เลนส์ระดับไฮ-เอ็นด์ของ Panavision ซึ่งตัวกล้องบันทึกภาพ 30 เฟรมต่อวินาที

ถ้าคุณภาพดิจิตอลไม่ดีเท่ากับฟิล์ม (รวมถึงกล้่องถ่ายภาพนิ่ง) ทำไมเทคโนโลยีนี้ถึงแพร่หลายอย่างรวดเร็ว คำตอบง่ายๆ คือเรื่องของ ต้นทุน และ ความยืดหยุ่น ครับ

การถ่ายทำด้วยระบบดิจิตอลนั้น เมื่อใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว ต้นทุนถูกกว่าแบบฟิล์ม ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มแต่ละม้วนที่ใช้ถ่ายหนังซึ่งปัจจุบันมีราคาแพง อย่างที่เรารู้ดีว่า ดิจิตอลนั้นช่วยให้เราถ่ายซ้ำกี่ครั้งก็ได้ ทำให้ต้นทุนแทบจะเป็นศูนย์ สำหรับสตูดิโอใหญ่ๆ ในฮอลลีวูด

ดูจากกรณีของ Star Wars ข้างต้น ที่โปรดิวเซอร์ ริค แมคคอลลั่ม เผยว่า ทีมงานใช้จ่ายเรื่องการถ่ายทำไปทั้งหมด 16,000 ดอลลาร์ด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งถ้าใช้ฟิล์มถ่ายทำทั้งฟุตเทจทั้งหมด 220 ชั่วโมงนั้น จะใช้เงินถึง 1.8 ล้านดอลลาร์

อีกเหตุผลคือ ความยืดหยุ่น ซึ่งหมายถึงกระบวนการถ่ายทำไปจนถึงการจัดจำหน่าย และฉายในโรง เพราะการถ่ายทำด้วยฟิล์มนั้นต้องแปลงเป็นดิจิตอลเพื่อตัดต่อก่อน จากนั้นจึงแปลงกลับไปเป็นฟิล์มอีกครั้งเพื่อฉายในโรง และการแปลงทุกครั้ง สามารถลดทอนคุณภาพของภาพได้ไม่น้อย ในขณะที่ระบบดิจิตอล ผลของการถ่ายทำแต่ละครั้งก็ออกมาเป็นไฟล์ ซึ่งสามารถนำไปขั้นตอนโพสต์โปรดักชั้น หรือตัดต่อได้เลย

 

ขั้นตอนที่ 2) การจัดจำหน่ายหนังดิจิตอล

ต้นทุนการบันทึกหนังเรื่องหนึ่ง ตีซะความยาวประมาณ 80-90 นาที ลงบนฟิล์ม 35 มม. นั้นใช้เงินประมาณ 1,500-2,500 ดอลลาร์ ต่อม้วน และค่ายหนังยังจะต้องส่งฟิล์มม้วนใหญ่ๆ นี้ไปยังโรงหนังทั่วโลก

กว่าจะมาเป็น 3 มิติ และ 4 มิติ: ประวัติคร่าวๆ ของหนังระบบดิจิตอล
ฟิล์มเซลลูลอยด์

 

เพราะเหตุผลนี้ ในอดีต การตัดสินใจของค่ายหนัง และโรงหนังที่จะนำหนังซักเรื่องเข้าฉาย จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี แต่ด้วยระบบดิจิตอลแล้ว ทำให้ต้นทุนในส่วนนี้ ลดลงมหาศาล และส่งผลดีต่อผู้ชมทั่วโลก อย่างที่เราจะสังเกตุได้ว่า ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีหนังนอกกระแสเข้าโรงใหญ่ๆ มากขึ้น จริงอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการของคนดู แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่สำคัญกว่าในมุมมองของคนทำธุรกิจโรงหนัง คือผลกำไร

หนังในระบบดิจิตอลนั้น จริงๆ ก็คือไฟล์หนัง เหมือนกับไฟล์หนังที่เราดูด้วยคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์มือถือทั้งหลาย ค่ายหนังจะทำการส่งไฟล์หนังที่อาจจะบันทึกลงบนแผ่น DVD บันทึกลงฮาร์ดดิสก์ขนาด 300Gb หรือส่งผ่านดาวเทียม หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต

ต้นทุนการบันทึกหนังสักเรื่องลงบนฮาร์ดดิสก์ และส่งไปยังโรงหนังสัก 4,000 โรงทั่วโลกใช้เงินเพียง 600,000 ดอลลาร์

ค่ายหนังจะไม่พบความแตกต่างระหว่างการฉายหนังเรื่องเดียวกันในโรงหนัง 1 โรง หรือโรงหนัง 100 โรงเหมือนการฉายด้วยฟิล์ม

 

ขั้นตอนที่ 3) การฉายหนังดิจิตอล

ส่วนนี้เป็นส่วนที่ผู้ชมทั่วโลกอย่างเราๆ สัมผัสได้ การฉายหนังในระบบดิจิตอลและฟิล์มนั้นมีข้อแตกต่างด้านต้นทุนอย่างหนึ่งคือ คุณภาพของหนัง

กว่าจะมาเป็น 3 มิติ และ 4 มิติ: ประวัติคร่าวๆ ของหนังระบบดิจิตอล
โปรเจ็คเตอร์ดิจิตอล

 

หนังฟิล์มนั้น คุณภาพจะเสื่อมลงทุกครั้งที่ฉายเพราะฟิล์มทำจากเซลลูลอยด์ และคุณภาพจะลดลงเมื่อโดนความร้อนจากโปรเจ็คเตอร์ฉายหนัง (สังเกตุว่าฟิล์มจะไหม้ หากฟิล์มไม่วิ่ง) ในขณะที่ไฟล์ดิจิตอลคุณภาพจะไม่เสื่อมลงเลย

ในปัจจุบัน การฉายหนังในระบบดิจิตอลมี 2 แบบ ได้แก่ Micromirror และ LCD Projector

 

กว่าจะมาเป็น 3 มิติ และ 4 มิติ: ประวัติคร่าวๆ ของหนังระบบดิจิตอล
ภาพจาก Texas Instruments
 

Micromirror นั้นเป็นการฉายหนังด้วยไฟพลังงานสูงฉายภาพ ผ่านปริซึม ซึ่งปริซึ่มนี้จะแยกแสงออกเป็นสี แดง เขียว และน้ำเงิน จากนั้นแสงแต่ละสีจะส่งไปยัง DMD แต่ละตัว โดย DMD นี้ย่อมาจาก Digital Micromirror Device ซึ่งถูกคิดค้นโดย Texas Instruments เป็นชิพสารกึ่งตัวนำที่เคลือบด้วยกระจกขนาดเล็กมากมายมหาศาล

สัญญาณภาพจะสั่งการให้ DMD ตันสินว่าจะเปิดหรือปิดแสงสีอะไร ในส่วนไหนของภาพเป็นพันๆ ครั้งต่อวินาที ซึ่งแสงสีต่างๆ จะถูกส่งรวมกันไปยังเลนส์ออพติคส์ด้านหน้าและฉายลงบนจอในโรงหนังในที่สุด

ส่วนระบบ LCD Projector นั้นทำงานด้วยแผง LCD (Liquid Crystal Display) ที่คอยตัดสินว่าจะปล่อยแสงสีอะไรในส่วนไหนออกไปบนจอภาพ จริงๆ แล้วทำงานคล้ายๆ กับแบบแรกในหลายๆ ส่วน

ข้อเสียของการฉายระบบดิจิตอลนั้นตรงกันข้ามกับหนังฟิล์ม คือคุณภาพของไฟล์หนังดิจิตอลจะไม่ลดลงเลย แต่คุณภาพของเครื่องฉายหนัง (โปรเจ็คเตอร์) จะลดลงทุกครั้ง เช่นพิกเซลอาจจะแตกได้

 

ข้อด้อยอื่นๆ ของหนังระบบดิจิตอล

ข้อด้อยในที่นี้กระทบผู้ผลิต และโรงหนัง มากกว่าคนดูหลายเท่านัก นอกจากข้อด้อยในเรื่องคุณภาพของเครื่องฉายหรือโปรเจ็คเตอร์ที่ลดลงในแต่ละครั้งแล้ว ข้อด้อยอีกอย่างคือโรงหนังที่เปิดให้บริการมานานแล้ว ในระบบฟิล์มจะต้องพบกับการลงทุนแปลงโรงหนังให้เป็นระบบดิจิตอล ซึ่งค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 150,000 ดอลลาร์ต่อโรง

นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าเป็นยุคหนังฟิล์ม 100% เช่นในอดีต เราจะไม่มีวันพบข่าวประเภท หนัง X-Men Origin: Wolverine ฉบับก่อนใส่สเปเชียลเอฟเฟกต์หลุดว่อนบนอินเตอร์เน็ตได้เลย เพราะการจัดจำหน่ายหนังดิจิตอลนั้นง่ายขึ้น การขโมยหนังก็ง่ายขึ้น ถ้าเป็นหนังฟิล์ม คงจะต้องมีการปล้นรถ หรือเครื่องบินที่ขนฟิล์ม หรือแอบถ่ายในโรงหนังแบบสมัยก่อน

 

อนาคตของหนังดิจิตอล

การสร้างหนัง หรือดูหนังก็เหมือนเรื่องอื่นๆ ในชีวิตประจำวันเมื่อต้องเกี่ยวเนื่องกับ “ผู้ผลิต” และ “ผู้บริโภค” ในอนาคต คุณภาพของหนังดิจิตอลจะต้องสูงกว่าหนังฟิล์มในที่สุด ซึ่งความต้องการของคนดูหนังทั่วโลก และต้นทุนของผู้ผลิตหนังต่างเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง

กว่าจะมาเป็น 3 มิติ และ 4 มิติ: ประวัติคร่าวๆ ของหนังระบบดิจิตอล
โรงหนัง AIS 4DX ที่ Paragon Cineplex 
 

และด้วยความที่เทคโนโลยีที่เดินทางควบคู่กับโรงหนังมาตลอดคือทีวี และเครื่องเล่นอย่าง DVD หรือ Blu-Ray ในบ้าน ก็เดินหน้าไปเช่นเดียวกับโรงหนัง รวมถึงราคาตั๋วหนังที่เพิ่มขึ้นทุกปี ความต้องการดูหนังในโรง อาจจะลดลงเรื่อยๆ และเปลี่ยนไปเป็นการดูหนังที่บ้านแทน เพราะแม้แต่ทีวีคุณภาพดีๆ ในปัจจุบัน ก็ราคาลดลงมหาศาล

โรงหนังจะต้องมีกลยุทธ์ หรือใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดึงดูดให้คนไปดูหนัง ไม่ว่าหนังนั้นจะเป็นระบบฟิล์ม ดิจิตอล 3 มิติ หรือ 4 มิติก็ตาม

 

ข้อมูล: WikiPedia, HowStuffWorks




(ID:140347)
     ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ..เฮียแอ๊ด..



(ID:140649)

ขอบคุณครับ  แต่ผมสงสัยอย่างหนึ่งครับ ถ้าที่คุณ พีเพิลนิวส์ กล่าวมาข้างต้นนั้นลดต้นทุนค่าใช้จ่ายมากกว่าฟิล์ม  แต่ทำไมราคา ตั๋วหนังโรงมันแพงขึ้น  ทั้งๆที่ลดต้นทุนไปได้ตั้งเยอะแล้ว  งง  .....  ครับ  ( คิดเห็นส่วนตัวครับ) ผมว่าตราบใดที่ตั๋วหนังยังแพง และแพงขึ้นเรื่อยๆ แผ่นผีและเสื่อออนไลน์ ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย แทนที่จะลดลง และโดนปราบไป     ขอบคุณครับ




(ID:140652)
ลดต้นทุนในส่วนของผู้ผลิตหนัง  ส่วนต้นทุนในการสร้างโรงดิจิตอลยังแพงกว่าระบบฟิล์มอยู่มากโข แต่เจ้าของหนังขอส่วนแบ่งค่าตั๋วเท่าเดิม โรงหนังก็จำเป็นต้องขึ้นราคาตั๋วเพื่อให้ถึงจุดคุ้มทุนและมีกำไรตามกรอบการลงทุนครับ



(ID:140654)

บทความข้างบนนั้นผมไม่ได้เขียนเองครับแต่นำมาจาก เวป filmzick.com ครับ ราคาตั๋วหนังคงไม่ถูกลงนี่ก็ได้ข่าวว่าค่าไฟฟ้าก็จะขึ้นอีกแล้ว...อ๋อเท่าที่ทราบหนังที่จะเริ่มไม่ผลิตฟิล์มแล้วแต่จะฉายเป็นระบบดิจิตอลแทนในปลายปีนี้ก็คือหนังฟร์อมยักษ์เรื่องเดอะฮอพบิต...(ขอให้ข้อมูลที่ผมได้รับมาไม่เป็นความจริงด้วยเถอะ...สาธุ..เพราะจะได้มีฟิล์มเหลือให้หนังกลางแปลงได้ฉายบ้างครับ) ..ต่อไปเครื่องฉายดิจิตอลจะมีราคาถูกลงไปเรื่อยๆครับ..ผมกำลังรอดูอยู่ว่าจะมีคนใหวใสนำโปรเจ็คเตอร์มาปรับปรุงให้มีกำลังแสงแรงขึ้นและทำออกมาขายในราคาที่หน่วยหนังกลางแปลงพอจะซื้อไหวครับ..สมัยก่อนหัวฉายยามากีว่าและเตาซีนอลขนากใหญ่ๆ..คนบ้านเรายังมีความสามารถทำออกมาขายในราคาที่พอซื้อได้..ผมเชื่อว่าอีกไม่นานมีโปรเจ็คเตอร์แบบชนิดคนบ้านเราทำออกมาดัดแปลงขายแน่นอนครับ..คิดได้ก่อนรวยก่อนและต่อยอดหนังกลางแปลงได้แน่นอนครับ..ปัญหาเรื่องเครื่องแพงไม่น่าห่วงเชื่อว่าสุดท้ายแล้วราคาถูกลงมาแน่นอนแต่ที่น่าห่วงเหนือสิ่งอื่นใดก็คือค่าลิขสิทธิ์ว่าจะถูกลงไม๊ในเมื่อไม่ต้องลงทุนพิมพ์ฟิล์มที่มีราคาแพงกว่ากันครับ..จากนี้ไปจับตาดูเรื่องลิขสิทธิ์ให้ดีครับ..ส่วนเรื่องเครื่องฉายแบบดิจิตอลนั้นผมไม่ห่วงครับ




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 5

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116958996 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Bryantoxymn , นนท์ , Jerekioxgew , ProlBlask , RobertMIGH , Sallycgriet , BrianerpGep , AnthonykDraib , Kristenmswony , Edwinjophorie ,