ความเห็น |
กรณีฟิล์มเปียกน้ำ ถ้าโดนทั้งภาพและเส้นซาวด์ด้วย ก็น่าเสียดายเหมือนกันครับ
ฟิล์มตัวอย่างที่ผมเก็บไว้อยู่ ก็มีที่โดนน้ำมาตั้งแต่แรกเหมือนกันครับ ได้แก่ หวงเฟยหง 5 สยบจอมสลัด, เหี้ยม...ต้องเรียกแม่, ถึงโลกแตกก็ไม่หายบ้าเธอ, ประกาศิตยาจกซู (ซึ่งเป็นของสหมงคลฟิล์มทั้งหมดเลย) โดนน้ำในด้านที่ไม่ใช่เส้นซาวด์ แต่ก็จะเห็นรอยถลอกปรากฏเป็นระยะๆ นี่ยังไม่รวมสีเฟด หรือเปื้อนน้ำหมากอีกนะครับ ซึ่งทั้ง 4 เรื่องซ่อมแซมรอยต่อเรียบร้อย พร้อมฉายได้เลย ตอนแรกกะจะนำไปฉายในงานอีเว้นต์ที่อุดรธานีเมื่อปีที่แล้วด้วย แต่ขนไปไม่ไหวครับ
![]() | |
![]() |
ขึ้นชื่อว่างานอนุรักษ์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างก็รู้สึกเช่นเดียวกันครับ
ดูกรณีของผมเป็นตัวอย่าง
* แรกๆ ที่สนใจกับฟิล์มภาพยนตร์ (พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2538) ก็เห็นเป็นของเล่นอย่างหนึ่ง แก้เซ็ง จากเศษฟิล์มเป็นเฟรม เป็นท่อน เริ่มขยับมาเป็นม้วนตัวอย่าง
>> ฟิล์มตัวอย่างแรกที่มีโอกาสจับต้องคือ แผลเก่า [เวอร์ชั่นฉายซ้ำ] แล้วเพื่อนคนที่ไปขอมา ดันไปซอยฟิล์มแจกให้เด็กๆ ไปเล่นอีก
(ตัวอย่างนี้เคยดูมาก่อนจากบริการ จุ๊ยเจริญภาพยนตร์ นครสวรรค์ เมื่อคราวที่มาฉายในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งยาวประมาณ 3 นาทีกว่าๆ เป็นฟิล์มอั๊กฟ่า เนื้อธรรมดา อ้อ เพื่อนคนนี้เคยแอบขโมยฟิล์มม้วนจบของเรื่อง เต้าฮวยไล้เหลี่ยว จากหนังขายยามาอีกด้วย เคยเห็นม้วนนั้นมาแล้วเหมือนกัน)
>> ฟิล์มตัวอย่างตัวต่อมาคือ รักในฝัน (เต็มเรื่อง / ฟิล์มทอง ฟูจิ) และ โป้งปากกระจุย (ไม่เต็ม / ฟิล์มอั๊กฟ่า เนื้อธรรมดา) ปรากฏว่า จุดที่เอาไปเก็บนั้นฝนสาดถึง ผลก็คือ เนื้อฟิล์มลอกออก หมดสภาพที่จะได้ฉาย
(มารู้ในภายหลัง หนังเรื่อง รักในฝัน เป็นของ Shaw Brothers ที่เข้าฉายเป็นเรื่องสุดท้ายในบ้านเรา)
ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2538 เพลาเรื่องหนัง หันไปฟังเพลงแทน แต่ก็ยังมีโอกาสได้จับฟิล์มบ้าง
* ระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2548 มีโอกาสได้ทำหน้าที่ส่งฟิล์มกับเช็คเกอร์ ช่วงซัมเมอร์ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2541 ซึ่งความจริงมีโอกาสที่ควรจะได้ครอบครองเสียด้วยซ้ำ แต่ไม่กล้าขอเอง
>> ต้นปี พ.ศ. 2544 เคยได้ฟิล์มตัวอย่างหนังจีนจาก สหมงคลฟิล์ม จำนวน 5 - 6 เรื่อง (คนละกลุ่มกับข้างบน) จากหนังกลางแปลง แล้ว..ก็เจอเหตุการณ์ซ้ำรอย นั่นคือ ฟิล์มโดนละอองฝนที่สาดเข้ามาในห้อง ในช่วงที่ผมบวชอยู่หนึ่งพรรษา กลางปีนั้นเลย ภายหลังจากเช็ค เหลือรอดเพียงเรื่องเดียว คือ เทวดาท่าจะบ๊องส์ ภาคพิสดาร 3 เลยต้องเก็บทะนุถนอมอย่างดีจนทุกวันนี้ (ล่าสุดเพิ่งได้ใบปิดมา)
* พ.ศ. 2549 คงต้องยกให้ ตัวอย่างหนังไทย ที่ออกฉายระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2521 ซึ่งถูกซุกซ่อนอยู่ในพิพิธภัณฑ์ใกล้บ้าน และไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นอีกเลย ทั้งที่ได้ครอบครองมาอยู่ในมือแท้ๆ เพราะต้องส่งฟิล์มหนัง 16 ม.ม. เรื่อง สันกำแพง กลับคืน ล่าสุด ฟิล์มตัวอย่างชุดนั้น เน่าตายทั้งหมดแล้ว
กรณีล่าสุดนี้ ไม่อยากตั้งความหวังว่าจะมอบให้ผมเพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษา เพราะฟิล์ม 16 ม.ม. ก็ไปอยู่กับสมาชิกคนหนึ่งแล้วส่วนหนึ่ง คงต้องรอให้ถึงเวลาที่เหมาะสม และไม่สามารถที่จะดูแลรักษาทรัพย์สมบัติที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ได้แล้ว นั่นแหละเค้าถึงจะร้องขอ แต่กว่าจะถึงตรงนั้น ผมว่าฟิล์มหนังที่เหลือละลายเป็นน้ำไปหมดแล้ว
เกือบลืมเรื่องการจัดเก็บไฟล์ดิจิตอลไปเลย
ตอนนี้ก็มีไฟล์รูปภาพกิจกรรมของทางเว็บ และวิดีทัศน์กิจกรรมที่ถ่ายลงแผ่นใหม่ เกรด A- ทั้งหมด ซึ่งจะอยู่ได้ประมาณ 3 ปีนับจากวันที่ไรท์ ในตอนนั้นก็เตรียมหาแผ่นเปล่าคุณภาพสูงเพื่อทำเป็นต้นฉบับไว้ ซึ่งที่หมายตาก็คือยี่ห้อ That's ของโรงงาน Taiyo Yuden นั่นแหละครับ ถ้าเวลานั้นมีงบน้อย ก็ใช้ Verbatim หรือ มิตซูบิชิ แทน (เกิน 3 ปีแน่นอน) ก่อนที่จะย้ายลงแผ่น That's ในภายหลัง
ส่วนฮาร์ดดิสก์ก็น่าสน แต่มันต้องถอดสาย USB เข้าออกอยู่บ่อยๆ สู้เก็บเป็นแผ่นจะง่ายกว่า แม้ใช้เวลาคัดลอก และไรท์นานกว่าเดิมก็ตาม (ความเห็นส่วนตัว)
นอกจากนี้ก็ได้ปรับเปลี่ยนห้องนอน มาเป็นห้องเก็บภาพยนตร์และวิดีทัศน์เป็นที่เรียบร้อย ทำให้เป็นระเบียบและสะดวกในการค้นหามากขึ้น
อ้อ..ตอนนี้มีศิลปินนักร้องลูกทุ่งที่มีชื่อ (และพฤติกรรมดี) หลายคน ได้ร้องขอให้ช่วยเก็บไฟล์ดิจิตอลที่เป็นภาพถ่าย และวิดีทัศน์ ทั้งที่ถ่ายเอง และไปออกรายการโทรทัศน์ด้วย (มาจาก Youtube อีกที) ให้ผมเก็บรักษาไว้เช่นกันครับ