Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง เครื่องฉายหนัง-โครง-จอเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-ของเล่นใหม่ กับเตาซุบเปอร์มินิ ควบคุมการผลิตโดย วิจิตร์ฟิล์ม(รูปมาแล้วววว)732914.. 31/8/2553 20:46
-คนบ้าซินเกียวตอน 364294.. 28/8/2553 14:56
-สวิชชิ่ง 200a640611.. 27/8/2553 14:13
-สำหรับคนรักซินเกียว1241419.. 24/8/2553 7:51
- เวลาฉายหนัง จับตัวเครื่องฉาย มีไฟดูด เกิดจากอะไรครับ789114.. 21/8/2553 6:16
-ถนัดสาวหนังออกข้างหลังหรือข้างหน้ากันครับ62208.. 12/8/2553 7:33
-คลอดแล้วครับ1092425.. 11/8/2553 12:09
-มีนาฟิล์ม (สำหรับฉายในสนามหน้าบ้าน)67043.. 10/8/2553 13:33
-เครื่องฉายภาพดาว (ท้องฟ้าจำลอง)86690ยังไม่มีคนตอบ
-ไปเจอมาครับ ได้ความรู้ดี88297.. 5/8/2553 15:13
-น้องซิน ผู้น่าสงสาร59866.. 5/8/2553 7:44
-มีงานเข้า57922.. 3/8/2553 21:27
-เตาเขมือบ ไฟ86128.. 1/8/2553 22:56
-มือใหม่ขอถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่านในเตาฉายโดยที่ปลอดภัยและแสงมืดน้อยที่สุด61441.. 25/7/2553 16:39
-ทีมงานครับ585811.. 20/7/2553 15:54
-ใครมีข้อมูลบ้างครับ58182.. 18/7/2553 11:12
เลือกหน้า
[<<] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 932

(ID:5412) ไปเจอมาครับ ได้ความรู้ดี




เรื่องจอ สำหรับผู้เริ่มต้น

พักหลังมีคนถามเรื่องจอ
(Projection Screen) กันมาก โดยเฉพาะจอฉายในบ้าน ก็เลยลองรวบรวมมา จริงๆแล้วก็ดีใจ
ที่คนเริ่มรู้จัก Home Cinema มากขึ้น พูดตรงๆก็คือ อย่างน้อยๆ เราประกอบอาชีพตรงนี้
ก็พลอยมีอันจะรับประทานไปด้วย ถึงแม้ว่าการแข่งขันจะสูง แต่มองในแง่ผู้บริโภค
ก็ถือว่าได้ประโยชน์ เพราะมีทางเลือกเยอะแยะมากมาย อดนอกเรื่องไม่ค่อยได้ ตามสไต์ืตาแก่ขี้บ่น
(วลีนี้ได้มาจากเจ้านายเก่าผมคนนึง ในแวด-วง คนพรีเซนเตชั่น) ไหนๆก็ไหนๆแล้ว
ขออารัมภบท ให้กว้างๆเผื่อจะได้เป็นประโยชน์ สำหรับผู้เริ่มต้น จอฉาย (Projection
Screen) เนี่ย ถ้าแบ่งตามลักษณะการฉาย เราจะแบ่งออกเป็น 3 แบบกว้างๆ ก็คือ


1.จอฉายหน้า
(Front Projection Screen)
ก็หมายถึงเอาเครืองฉายมาฉายด้านหน้าจอ
ทางเดียวกับคนดู แบบโรงภาพยนตร์ทั่วๆไป หรือตามห้องประชุม ที่แขวนโปรเจคเตอร์
ไว้บนเพดาน ฉายข้าม ศีรษะเราไป หรือตั้งหน้าห้องฉายตรงเข้าจอ


2.จอฉายหลัง
(Rear Projection Screen)
ก็หมายถึงเอาเครื่องฉายฉายทะลุจอออกมา
แล้วให้คนดู ดูด้านตรงข้าม


3.จอฉายสองด้าน
(Dual Surface Projection Screen)
จอแบบนี้ ฉายด้านไหนก็ได้
แต่ดูได้ทั้งสองด้าน บางคนเรียกจอกระเทย ไปโน่นเลย เหมาะสำหรับงานนำเสนอ หรือประกอบการประชุม
ห้องใหญ่ๆมากกว่า จุดประสงค์ เพื่อให้ผู้ชม ได้ชมภาพได้ทั้งห้อง ถ้าเอาจอไว้กลางห้อง
ใครจะเอาไปใช้ในบ้านก็ไม่มีใครว่า ฉายห้องนั่งเล่นทะลุไปดูห้องนอนด้วยก็ได้ เนื้อจอมักจะใช้สีขาวด้าน
(Matt white) ธรรมดา ไม่มีการเคลือบสีเทา หรือสีดำด้านหลัง


จอฉายด้านหน้า
เนื้อจอ ที่นิยมกันมากที่สุดก็คือสีขาวด้าน (Matt
white)
เหตุผลที่ใช้สีขาวด้าน ก็คือสีขาว ไม่ทำให้สีของภาพที่ฉายลงบนจอเปลี่ยนไป
แล้วที่ด้าน(Matt) ไม่มันๆ (Glossy) ก็เพราะว่าไม่ต้องการให้เกิดการสะท้อนกลับนั่นเอง



บ้านนี้ใช้จอ
Matt white ฉายด้านหน้า แบบมอเตอร์ไฟฟ้า ฝังไว้หลัง กรอบไม้ สังเกตได้ว่า จะติดตำแหน่งจอ
ไว้ไม่ให้สูงมาก เอาคิ้วไม้ เกลี่ยแสง บนเพดาน เป็นตัวกำหนดจอให้ต่ำลงโดยไม่หน้าเกลียด
ทำให้มุมมองอยู่ระดับสายตา ไม่ต้องแหงนมาก โดยเฉพาะที่นั่งเป็นแบบโซฟา เป็นอีกไอเดียหนึ่ง
(จากหนังสือ Home Theater Design โดย Krissy Rushing)


ช่วงประมาณ
20 ปี ที่แล้ว หรือมากกว่านั้น ในงานนำเสนอทั่วไป เริ่มเห็นจอเนื้อเงิน
(Silver)
กันมากขึ้น เพราะผู้ผลิต บอกว่าสามารถช่วยให้เครื่องฉาย
ฉายในห้องที่มีแสงรบกวนได้ ซึ่งสมัยก่อน ใช้กับ CRT Projector ที่มีความสว่างน้อยๆ
ซึ่งจริงๆมันช่วยเรื่อง Contrast ของภาพให้ดีขึ้นด้วย ยกระดับความขาวของภาพ และเพิ่มระดับความดำให้ดำขึ้นด้วย
สรุปก็คือ ในช่วงนั้น จอเงิน ขายดี โดยเฉพาะตลาด ห้องประชุม ศูนย์ฝึกอบรม โรงเรียน
เพราะการนำเสนอทั้งหมด เป็นกิจกรรมกลางวัน ซึ่งมีแสงรบกวนมาก


ส่วนในบ้านก็มีใช้อยู่บ้างแต่ไม่แพร่หลายพูดถึงเรื่องจอเงิน
มีเรื่องเล่า ตั้งแต่สมัยเด็กๆ โรงหนังแถวบ้านเรา หลังคายังเป็นสังกะสี เก้าอี้นั่ง
เท่มาก เอาแถวหน้าขาสั้นที่สุด แล้วขาเก้าอี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ แบบว่าไม่ต้องยกพื้น
ยกขาเก้าอี้แทน เราเป็นเด็กๆ ก็ลำบากหน่อย เพราะถ้าอยากนั่งแถวหลังๆ ต้องปีนกันน่าดู
เท่านั้นยังไม่พอ ความสูงเก้าอี้ แต่ละแถว ก็ไม่ต่างกันมาก เบื่อที่สุดเวลานั่งหลังผู้ใหญ่ตัวโตๆ
เพราะพี่แกจะบังไปครึ่งจอ เรื่องอ่าน Sub-Title ไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไหร่ เพราะหนังเขาพากย์สดๆ
เวลาเราเลือกที่นั่งก็มักจะเลือก เก้าอี้แถวกลางๆ ที่พอจะปีนได้ แล้วเลือก ที่นั่งชิดกำแพงโรง
เพราะเวลาดับไฟ เราก็แอบไปนั่งบนพนักเก้าอี้ ซบกับกำแพงจะได้ดูหนังได้ทั่วจอ
ไม่ต้องกลัวใครมาบัง แล้วก็ไม่โดนหนังสติ๊กยิงหู เพราะเราไม่บังเขา แต่ก็อดดูหนังตรงกลางโรง



เล่ามาซะยาวจะบอกว่าวันนึง
เจ้าของโรงเกิดคึกอะไรมาก็ไม่รู้ เอาสีเงินไปทาสีจอ เดิมก็จอขาวๆ เข้าใจว่าจอมันเก่าหรืออะไรสักอย่าง
แล้วสีที่ทามันก็ไม่เรียบ คนพากย์หนัง เรื่องนึง (ไม่แน่ใจ ว่ามากับสายหนังหรือเปล่า)
วิจารณ์ออกเครื่องขยายเสียง เพราะคงทนไม่ไหว เรื่องคุณภาพของภาพ ว่า "อาจจะเป็นเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการ
ของเจ้าของโรงที่ใช้สีเงินทาจอ ทำให้ภาพออกมาไม่ชัดเจน ซ้ำยังเป็นรอยด่าง ทำให้เสียอรรถรส
ในการชมภาพยนตร์อย่างยิ่ง" ไม่รู้ว่าตอนนั้น เจ้าของโรงฟังอยู่ด้วยหรือเปล่า
แต่แน่ๆเราก็ดูหนังไปจนจบ เพราะเสียตังค์มาแล้ว ฮ่า อีกตอนคนพากย์ไม่บอก ก็ไม่ได้สังเกต
แต่พอจะเห็นเหมือนกัน ว่าจอทำไมมันด่างๆ พอคนพากย์บอก เรายิ่งสังเกตใหญ่เลย เลยดูหนังไม่มันเลย
เหมือนคนที่คอยสังเกต Rainbow effect ใน DLP Projector บางคนยังไม่ทันเห็นซะหน่อย
ก็พลอย เออ ออไปด้วย ประมาณนั้น ฮ่า


ซึ่งในกรณีนี้
ไม่แน่ใจว่าเจ้าของโรงอาจจะได้กระแสเรื่องจอเงิน ที่เริ่มโปรโมทหรือเปล่า แต่จอเงินที่เขาผลิต
มันจะเนียนมาก มีร่องเล็กๆเพื่อให้เนื้อจอด้าน(Matt)ขึ้น บางยี่ห้อเรียกจอชนิดนี้ว่า
Silver lenticular สมัยก่อน ตอนออกใหม่ราคาคงแพง ซึ่งปัจจุบัน ไม่ค่อยมีใครใช้แล้ว
มุมมองจะอยู่ที่ประมาณ 30 - 45 องศา จริงๆ ถ้าจะว่ากันไปแล้ว ก็คล้ายๆกับจอ High
Contrast สีเทาๆ ที่เราฮิตๆกันอยู่ตอนนี้


อีกตัวหนึ่งที่นิยมมากก็คือ
เนื้อทรายแก้ว (Glass Beaded )ไม่แน่ใจว่า
อันไหนมาก่อนกัน แต่เนื้อจอจากตัวทรายแก้ว คล้ายๆกระดาษทราย ใช้พื้นเป็นสีขาวแล้วพ่นด้วยเม็ดทรายแก้ว
ละเอียดๆ ราคาสูงกว่า เนื้อเงิน มักจะพบเห็นตามโรงหนังในบ้านเ็ป็นส่วนใหญ่ เพราะมีบางช่วง
บริษัท ผู้นำเข้าโปรเจคเตอร์ เอามาจำหน่ายควบ เลยมักพบเห็นได้บ่อยขึ้น ปัจจุบันก็ยังมีผู้ผลิตหลายบริษัท
ยังผลิตอยู่ เกน(Gain) อยู่ระหว่าง 1.5 - 2.5 เท่า จริงๆเนื้อนี้ มุมมองใกล้เคียง
กับเนื้อเงิน ประมาณ 30 -45 องศา เหมาะสำหรับ Projector ที่มีกำลังส่องสว่างน้อยๆ
เพราะจะช่วยเรื่องอัตราการขยายแสง (Gain) ได้ดีมาก สำหรับคนที่ชอบเรื่องความสว่าง
แบบสุกๆ จะเปรียบเหมือนจันทร์วันเพ็ญ ไม่รู้จะเว่อร์ไปหรือเปล่า เพราะจอตระกูลนี้
พอโดนแสงมันจะผ่องๆ ระยะหลังจะนิยมเป็นเนื้อไข่มุก (Pearl)หรือบางยี่ห้อเรียกว่า
High Power ก็มี



จอเนื้อทรายแก้ว
(Glass beaded) ของ Dalite ที่ให้เกน 2.5 มุมมอง 30 องศา ของจริงจะระยิบระยับ
มากว่านี้เยอะครับ แต่จับทีไร ทรายติดมือมาทุกที ฮ่า


แต่อย่างไรก็ตาม
ก็เข้าตำรา ได้อย่างเสียอย่าง เพราะจอที่ให้อัตราการขยายแสงสูง ก็จะให้มุมมอง
ที่แคบกว่า เช่นจอ เนื้อขาวด้าน (Matt white) มีเกน = 1 คือไม่มีการขยายแสงเลย
ฉายไปอย่างไรได้อย่างนั้น ซึ่งจะให้มุมมอง กว้างมากถึง 180 องศายังมี ซึ่งมองข้างๆจอก็ได้
ครับแน่ละ ก็คงไม่มีใคร ไปนั่งดูนั่งริมจอแน่ๆ แต่ที่ได้คือความถูกต้องแม่นยำของแสงสี
ฉายมาอย่างไรก็ได้อย่างนั้น




ภาพนี้ใช้จอมอเตอร์ไฟฟ้า
ซ่อนกล่องไว้ในกรอบไม้ จอที่ม้วนเก็บได้จะมีประโยชน์ตรงที่ ไม่เปื้อนง่าย (ได้จากไฟล์ภาพของ
Stewart)
High
Contrast Grey เนื้อจอสีเทา


ซึ่งปัจจุบัน
(2004)กำลังฮิตกันมาก แต่ละยี่ห้อ เรียกชื่อต่างๆกันออกไป แต่โดยรวมก็คือ High
Contrast สีเทา เท่าที่เห็นเกนจะต่ำกว่า 1 เพราะนอกจากจะไม่ขยายแสงแล้ว ยังลดลงอีกด้วย
เกนจะอยู่ที่ 0.4 - 0.8 ซึ่งส่วนมากจะถูกคอ สำหรับคนที่จริงจังกับภาพ เพราะจะให้สีดำ
ได้ดำมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาเราฉายภาพจาก LCD หรือ DLP ที่ Contrast ไม่สูง สีดำจะไม่ดำสนิท
จอเทาก็จะช่วยเรื่องสีดำ อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็จะเสียเรื่องสีขาว หรือความสว่างก็ลดลง




ภาพนี้ได้จากไฟล์ภาพโฆษณาของ
Stewart เช่นกัน เป็นรุ่นสีเทา Grayhawk เปรียบเทียบกับจอเนื้อขาว ของเขาเอง
ทางด้านขวา ผมคงไม่กล้าวิจารณ์อะไรมาก เอาเป็นว่า เป็นตัวอย่างก็แล้วกันครับ


บางยี่ห้อก็เทาอย่างเดียว
บางยี่ห้อเติมสารอะไรบางตัวลงไป ทำให้วาวแสงมากขึ้นด้วย ถ้าถามว่า แล้วของใครดีกว่าใคร
ก็ตอบยากเพราะเรื่องภาพ ที่เห็นอยู่ที่ความพอใจ แต่เรื่อง Contrast ถือว่าทำได้ดีกว่า
Matt white แน่นอน ตอนนี้มีหลายยี่ห้อ หลายราคาให้เลือก ตามความพอใจจอฉายด้านหน้ายังมีอีกหลายแบบ
เรียกตามแบบ ตามวัสดุแล้วแต่จะตั้งชื่อ เนื้อไข่มุกบ้าง เนื้อ High Power บ้าง
ไม่เฉพาะแต่เรียบๆธรรมดา เป็นจอโค้งก็มี เพื่อช่วยเรื่อง Gain ให้สูงยิ่งขึ้น




จอผิวอลูมิเนียม
ออกเทาๆเงินๆ โค้งทำมุมเพื่อรับแสง จอพวกนี้เกนจะสูงมาก แต่มุมมองจะแคบมาก


ขึ้นอยู่ที่ผู้ผลิตจะทำ
โดยจุดประสงค์มารองรับ การฉายในรูปแบบต่าง ๆ และรองรับเครื่องฉายในยุคนั้น และการพัฒนาเทคโนโลยีของวัสดุ
โดยรวมก็พัฒนาจาก สีจอ มุมมอง และอัตราการขยายแสง (Gain) เ็ป็นหลัก




จอเลียนแบบจอภาพยนตร์
ของยี่ห้อหนึ่ง มีรูจิ๋ว เพื่อซ่อนลำโพง ไว้ด้านหลัง สำหรับผู้ที่ไม่ชอบโชว์ลำโพง
และที่แน่ๆคือได้ ตำแหน่งเสียง ตรงกลางจอดี รูจิ๋วนี้ เมื่อฉายภาพแล้วมองไม่เห็นระยะที่นั่งชม


บางค่ายเริ่มเอาแบบมีรู
มาใช้ในบ้าน เลียนแบบ ในโรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ แต่ทำให้รูห่างกันมากขึ้น และเล็กลง
เหมาะสำหรับ คนที่ไม่ชอบโชว์ลำโพง ซ่อนลำโพงไว้หลังจอ ให้ทิศทางเสียงตรงต่ำแหน่งภาพมากขึ้น


จอฉายหลัง
(Rear projection Screen)
เนื้อจอส่วนมาก จะเป็นแบบสีเทาขุ่นๆ
(translucency) คล้ายๆกระจกฝ้า เหมาะสำหรับ การฉายที่มีแสงรบกวนด้านหน้า หรือควบคุมแสงไม่ค่อยได้
gain จะอยู่ที่ 1.5 ขึ้นไป มุมจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 30 องศา เนื้อมักเป็นเนื้อไวนิล
(Vinyl) นุ่มๆ มีทั้งแบบม้วน และแบบขึงบนกรอบ ใครจะซื้อเนื้อไปขึงเอง ก็ไม่มีใครว่า
เพราะยับยาก ส่วนมากจะให้วิธี เย็บขอบแล้วติดกระดุมเป๊ก (ไม่รู้เรียกถูกหรือเปล่า)
กับกรอบจอ บางยี่ห้อใช้แบบเทปตีนตุ๊กแก ยึดขอบก็สะดวกดี ไปอีกแบบ



จอฉายหลังแบบแข็ง
ลักษณะคล้ายกับอะคิลิค ที่อัดกรอบพระ เป็นเนื้อขาวขุ่นๆ คล้ายแบบจอไวนิล เป็นวัสดุตัวเดียวกับจอของ
โปรเจคชั่นทีวี บางยี่ห้อเคลมเรื่องเกนไว้สูงมาก สูงถึง 20 ยังมี แต่โดยทั่วไป
Gain จะอยู่ประมาณ 3 จอฉายหลัง ถ้าคุณภาพไม่ค่อยดี จะมีข้อเสีย เรื่องการเกลี่ยแสง
เพราะส่วนมากจะเห็นสว่างเป็นดวง ตรงกลาง แต่ที่คุณภาพดีๆก็มีเยอะน๊ะครับ



เนื้อจอฉายหลังแบบแข็ง
ยี่ห้อ Reversa ในอังกฤษ คุณภาพดีมาก เกลี่ยแสงได้ดี โดยไม่มี แสงเข้มๆเฉพาะตรงกลาง
(Hot spot) ตรงกลางจอเลย


เดี๋ยวจะคิดว่าจอฉายด้านหลัง
ไม่ดีไปหมด จะว่าไปถ้าเรามีที่ด้านหลังพอ หรือออกแบบให้ลงตัว การติดตั้งโปรเจคเตอร์
ก็ไม่ยุ่งยาก ซ่อนไว้ได้ เป็นอย่างดี แถมให้คุณภาพ ไม่ด้อยไปกว่าจอแบบฉายหน้าเลย
จะดีกว่า ด้วยซ้ำไป ถ้าฉายในเวลากลางวัน หรือในห้องที่คุมแสงได้ไม่หมด


Transparent
Screen

จอฉายด้านหลัง อีกแบบหนึ่ง เป็นกระจกใสๆ (transparent screen) หรือ Hologram
Screen สำหรับงานโฆษณา ในที่สว่างๆมากกว่า ไม่เหมาะสำหรับ Home Cinemaจะเน้นเรื่องความสว่าง
มากกว่าสีสัน หรือ Contrast ของภาพ





Transparent
Screen


ข้อจำกัดของการใช้จอฉายด้านหลัง
ถึงแม่ว่าโปรเจคเตอร์ บางรุ่นติดตั้งเลนส์มุมกว้าง มาให้แล้วก็ตาม ส่วนมากก็จะอยู่ที่ประมาณระยะฉาย
3 เมตร ถึงจะฉายได้ประมาณ 100 นิ้ว ดังนั้นถ้าเราอยากจะติดตั้งจอฉายด้านหลัง
ก็ต้องคำนึงถึงระยะฉายด้านหลังจอด้วย อาจจะช่วยให้สั้นลงด้วยวิธีการใช้สะท้อนกระจก



ภาพนี้
เป็นกระจกสะท้อน เพื่อย่นระยะทาง การฉายจากด้านหลัง


ถึงตรงนี้
สำหรับบางท่านที่ไม่คุ้นเคย กับงาน Home cinema ก็ไม่ต้องกังวล ว่าเราจะเลือกแบบไหนดี
เพราะตามความจริง คุณภาพที่ได้ ก็ไม่ได้ต่างกัน ราวฟ้ากับดิน เพราะเท่าที่เห็นในตลาด
ราคาต่างกันถึง 20 เท่ายังมีเลยครับ แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าคุณภาพต่างกัน 20 เท่าซะเมื่อไหร่
เพราะบางทียังมีเรื่องยี่ห้อ เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย ผมเองก็เจอบ่อยๆที่มีลูกค้าที่ใช้กำแพงบ้านแทนจอ
ซึ่งจริงๆก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร แต่ถามไปถามมา ก็ไม่ใช่ไม่อยากได้จอน๊ะครับ
แต่มักจะบอกว่า "พี่ ผมอ่านมากไปหน่อย ยี่ห้อโน้นพูดที ยี่ห้อนั้นพูดที
เลยตัดสินใจไม่ได้สักที" แบบนี้ก็อีกเรื่องหนึ่งน๊ะครับ









ความเห็น

[1]


(ID:50089)
ข้อมูลน่าสนใจมากครับ รบกวนคุณ Aof ช่วยบอกที่มาของข้อมูลนิดนึงนะครับ
 เผื่อมีคนสนใจไปจะได้ไปอ่านต่อเพิ่มเติมได้ครับ



(ID:50091)
เว็บนี้เลยครับ
ไม่ใช่แค่เรื่องจออย่างเดียว รวมถึงโปรเจคเตอร์ด้วยครับ

http://www.avmaster.com





(ID:50103)
ชอบตรงกระจกต้องลองทำดูบ้าง



(ID:50213)
เรื่องจอเนื้อแก้วนี่ ที่บ้านเคยมีอยู่ผืนนึงครับ ป๊ะป๋าซื้อไว้เป็นโกฏิปีแล้ว (เอามาฉายการ์ตูน 8mm ดู สมัยผมเล็กๆ)


ภาพสว่างดีจริงครับ แต่นอกจากมุมมองแคบแล้ว ยังดูแลรักษาลำบากลำบนเหลือเกินด้วย ดึงจอขึ้นมาที ทรายแก้วหลุดร่วงลงมาที ทำความสะอาดก็ไม่ได้ ฯลฯ

สุดท้าย ป๊ะป๋าโมโห ตัดผ้าจอออกมาแปะข้างฝาไว้ดูเล่นมันซะงั้นเลย --"


สรุปว่า จอขาวเนื้อด้านธรรมดาๆนี่แหละ ผมว่าเหมาะเอามาทำโฮมเธียร์เตอร์ที่สุดละ



(ID:50214)
เรื่องจอเนื้อแก้วนี่ ที่บ้านเคยมีอยู่ผืนนึงครับ ป๊ะป๋าซื้อไว้เป็นโกฏิปีแล้ว (เอามาฉายการ์ตูน 8mm ดู สมัยผมเล็กๆ)


ภาพสว่างดีจริงครับ แต่นอกจากมุมมองแคบแล้ว ยังดูแลรักษาลำบากลำบนเหลือเกินด้วย ดึงจอขึ้นมาที ทรายแก้วหลุดร่วงลงมาที ทำความสะอาดก็ไม่ได้ ฯลฯ

สุดท้าย ป๊ะป๋าโมโห ตัดผ้าจอออกมาแปะข้างฝาไว้ดูเล่นมันซะงั้นเลย --"


สรุปว่า จอขาวเนื้อด้านธรรมดาๆนี่แหละ ผมว่าเหมาะเอามาทำโฮมเธียร์เตอร์ที่สุดละ



(ID:50256)
คุณโหน่งครับผมมีจอแก้วอยู่ผืนครับพอดีผมฉายหนังแล้วลืมเก็บปรากฎว่ามีจิ้งจกมาขี้ใส่ติดอยู่หน้าจอผมเขี่ยออกแล้วแต่มันก็ยังเป็นรอยดำๆอยู่ช่วยบอกวิธีล้างทำความสะอาดหน่อยครับ



(ID:50283)
ทุกวันนี้ผมเองก็มีจอโปรเจ็คเตอร์อยู่ 4 จอมีทั้งจอแก้วเนื้อทรายและจอเงินรวมไปถึงจอขาวแบบมุกครับ สำหรับผมในตอนที่ซื้อจอแก้วเนื้อทรายมาก็เพราะสมัยนั้นผมใช้โปรเจ็คเตอร์โซนี่ รุ่น 1001 QM ความสว่างแค่ 800 ลูเมนท์ ((ซื้อมาร่วม 20 ปีแล้ว) เลยต้องใช้เพื่อเพิ่มความสว่างมากขึ้นครับ ทุกวันนี้ยังเก็บรักษาไว้อย่างดีครับ จอขนาด 100 นิ่ว ส่วนจอเงินขนาด 50 นิ้ว และจอขาวธรรมดาขาด 150 นิ้ว แต่ทุกวันนี้ที่ห้องฉายหนังใหม่ของเราใช้ขนาด 135 นิ้วซึ่งก็พอดีกับห้องฉายครับ ทุกจอผมใช้แบบ 4 ต่อ 3 ทั้งหมดเพราะเอาไว้ดูคอนเสิร์ตและดูทีวีด้วยครับ ถ้าจะดูหนังเหลือพื้นที่บนล่างก็ไม่ซีเรียตครับเพราะต้องการใช้งานเอนกประสงค์มากกว่าครับ



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 7

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116999844 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Krendamxgew , LavillKer , AnderaMum , Akimoxagew , Landyxogew , JeffreyJaf , SandraGob , BobbyHOm , พีเพิลนิวส์ , นนท์ ,