ความเห็น |
หนังอินเดีย เคยเข้ามาฉายในบ้านเราในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ซึ่งขณะนั้นยังเป็นฟิล์ม
โรงภาพยนตร์ในกรุงเทพ ฯ ที่ฉายหนังอินเดียเป็นหลัก คือ โรงหนังเท็กซัส ย่านเยาวราช (ปัจจุบันกลายเป็นร้านสุกี้ไปแล้ว) สมัยนั้น หนังอินเดีย ได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพ หรือตามชนบทจากหนังกลางแปลง ขณะที่หนังจีนยังมีน้อย
นางเอกยอดนิยมในขณะนั้น ก็มี นีรูปารอย มีนากุมารี ส่วนพระเอกก็มี ราช การ์ปู / ราช กุมาร / เมห์มูด ดาราตลก ส่วนนาง
ต่อมาหนังอินเดียได้พัฒนาจากหนังขาว-ดำ ระบบ
เมื่อหนังอินเดียได้พัฒนาขึ้น ก็มีดารายอดนิยมในยุคต่อมาที่แฟนภาพยนตร์ชาวไทยนิยมชมชอบ อาทิ ราเยส คานนา, มุมตัส, เฮมา มาลินี เรียกว่าฮิตพอ ๆ กับ ดาราไทย มิตร- เพชรา เลยทีเดียว หนังอินเดียเรื่องไหนที่ดาราคู่นี้แสดง ผู้ชมในบ้านเราตัดสินใจซื้อตั๋วเข้าชมทันที หนังอินเดียที่สร้างประวัติการณ์การฉายยาวนาน และทำรายได้ทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัดมหาศาลคือ ช้างเพื่อนแก้ว ทำลายสถิติทุกแห่งที่ฉาย พระเอกเรื่องนี้คือ ราเยส คานนา นางเอกคือ ทานูจา แต่ที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือ บรรดาช้างแสนรู้
นอกจากนี้ยังทำให้นักพากย์ฝีปากเอก ทิวา - ราตรี เจ้าของหนัง กลายเป็นมหาเศรษฐี
หนังอินเดียก็มีเสน่ห์เฉพาะตัว อาทิ เพลงประกอบในเรื่อง ซึ่งหนังอินเดียบางเรื่องให้นางเอกร้องเพลงไป วิ่งข้ามภูเขาไปถึง 4 ลูก 5 ลูก แถมยังยักย้ายส่ายเอวยั่วพระเอกอีกต่างหาก ต่อมาก็เริ่มมีซาวด์แทรคเพลงจากภาพยนตร์อินเดียในรูปแบบแผ่นเสียงออกวางจำหน่าย
ด้วยอิทธิพลของเพลงที่อยู่ในหนังอินเดีย ก็มีนักแต่งเพลงลูกทุ่งนำทำนองของเพลงจากหนังอินเดียมาใส่เนื้อภาษาไทย เช่น เพลงสาวนาคอยคู่ ขับร้องโดย บุปผา สายชลซึ่งเป็นเพลงลำดับที่สองของภาพยนตร์ไทยเรื่อง "มนต์รักลูกทุ่ง" รุ่นมิตร-เพชรา (ต้นฉบับเดิมคือหนังอินเดียเรื่อง "รอยรักรอยมลทิน") หรือเพลงธรณีชีวิต ขับร้องโดยชาตรี ศรีชล และยุพิน แพรทอง ส่วนเนื้อร้องแต่งโดยครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา หรือหนังอินเดียเรื่อง รอยมลทิน ขายชีวิต ที่มุมตัส นำแสดง ก็ให้ไพรวัลย์ ลูกเพชร เป็นต้น
สำหรับโรงหนังที่ฉายหนังอินเดีย นอกเหนือจากเท็กซัสแล้ว ยังขยายไปถึงโรงหนังควีนส์ วังบูรพา และ โรงหนังบางกอก ย่านราชปรารภ หนังอินเดียดัง ๆ นั้น ถ้าออกเดินสายก็ยังสามารถเก็บเงินได้เป็นกอบเป็นกำ
เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป หนังอินเดียก็เริ่มหมดความนิยมลง ประกอบกับโรงหนังที่เคยฉายหนังอินเดียต่างพากันยุติกิจการ แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีหนังอินเดียให้เห็นประปราย ในลักษณะการขายให้กับ "สายหนัง"
ยุคที่สองของหนังอินเดียในบ้านเรา ก็คือช่วงทศวรรษ พ.ศ. 2530 เมื่อกมล กุลตังวัฒนา ซึ่งตอนนั้นเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์แอมบาสเดอร์ ได้ซื้อหนังอินเดียเข้ามาอีกครั้ง ภายใต้ชื่อ "ดวงกมลมหรสพ" ซึ่งหนังอินเดียที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ได้แก่ KHUDA GAWHA รักข้าเหนือชีวิต, หมาเลี้ยงลูกคน (มี 2 ภาค แต่ภาคแรกได้รับความนิยมมากกว่า), ลูกสองแม่, ความรักของจันทนี, รอยรักรอยแค้น, สะใภ้คืนเดียว, ลัมมานี เป็นต้น ทว่าหนังอินเดียในยุคที่สองนี้ก็ได้รับความนิยมได้ไม่นานนัก
ส่วนในยุคที่สามนี้ ต้องถือว่าเป็นยุคเฉพาะกิจ กล่าวคือ มีการนำหนังอินเดียมาฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ที่จัดขึ้นในกรุงเทพ ฯ เป็นครั้งคราว ซึ่งก็จะมีจำกัดแค่ผู้ชมที่เป็นชาวอินเดียในบ้านเรา ส่วนผู้ชมที่เป็นคนไทยนั้นยังน้อยมาก อย่างล่าสุดก็จะเป็นเรื่อง SLUMDOG MILLIONAIRE ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมชาวไทย (ว่ากันว่าเต็มทุกรอบ เมื่อมาฉายที่โรงหนังเครือเอเพ็กซ์ สยามสแควร์)
เมื่อสมัยเด็ก ๆ ก็ชอบดูครับ พวกเล่นวิ่งร้องเพลงข้ามภูเขา อาเล้ อาเล ตามทำนองเพลง พอโตขึ้นหาแผ่นมาดูอีกครั้ง ยังนึกอยู่ว่า " ตูดูจนจบได้ไงวะ " 555
ได้แล้วครับ เฮีย โทษที มันต้องใส่ ข้อความด้วย
สมัยนั้น ทิวา-ราตรี มาสมัครลงรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรที่พัทลุง นำหนังมาฉายทุกหมู่บ้าน ที่หาเสียงดูกันสนุกมาก เช่น ช้างเพื่อนแก้ว สามพี่น้อง โชเล่ย์ ฟิล์มน่าจะพังตอนนั้นละ