พน้ส ศรีสมบูรณ์
ตอนย้อนรอยโรงหนัง
บทสัมภาษณ์พิเศษ
สิ่งที่สูรย์หายไปกลับการเวลา คือความทรงจํา ความสุขที่หายไปคิดถึงภาพบนจอในความมืด คือโรงภาพยนตร์ ศตวรรษ ศรีสมบูรณ์เล่าความหลังบอกว่า ความสุขความทรงจํา ที่ยังฝังใจไม่ลืม โรงหนังสมัยก่อน มีโปสเตอร์ใบปิด และภาพหนังในตู้ลอบบี้ติดที่หน้าโรงหนังทุกโรง คือมันสร้างความสุขสนุกสนานในการได้ชมภาพยนตร์ดีๆ ในกรุงเทพฯยังมีโรงหนังชั้นสอง ที่ฉาย สองเรื่องควบจากฟิล์มหนัง ที่เหลือแต่ความทรงจํา กระป๋องฟิล์ม และหนัง คือตํานานระหว่างปี 2506 /2520 ซึ่งเป็นยุคทองของภาพยนตร์ เช่นขุมทองแมกแคนน่า และหนังชุด เจมส์บอนด์ 007 หรือที่ฮือฮาคนดูมากที่สุด คือมือปืนเพชรตัดเพชร The Good the Bad and Ugly ทั้งสองภาค และหนังดังอีก ฯลฯ
วันนี้พามาพบคนดังที่มีนามปากกาว่าหนุ่ม 100 ปีที่ชื่อว่าศตวรรษ ศรีสมบูรณ์ จากผู้จัดการโรงหนัง จนมาเป็นผู้จัดการโรงแรมสี่ดาว ตําแหน่งสุดท้ายก่อนเกษีนณ เป็นผู้อํานวยการบริหารในเครือเบียร์ช้าง สมัยทําโรงหนัง ชื่อนายพนัส ศรีสมบูรณ์ เคยเป็นผจกโรงภาพยนตร์ถึง 3 แห่ง เช่นบางแค ราม่า และ ประดิพัทธ์เธียเตอร์ เฉลิมพันธ์ เธียรเตอร์
ผมทําโรงหนังอยู่หลายปี จะเล่าให้ฟัง โรงหนังมีกิจกรรมเยอะมากฉะนั้นการบริหารโรงภาพยนตร๋นั้งต้องใช้ความรู้ความสามารถโรงหนังเป็นมากกว่าการฉายหนัง บางครั้งมีการแสดง และกิจกรรมพิเศษต่างๆ
หน้าที่ผู้จัดการต้องดแลทั้งหมด จัดโปรแกรมหนังต่อเนื่องทําโฆษณาประชาสัมพันธ์ ใบปลิว โฟสเตอร์ และทํารถแห่หนังแบบสวยงามด้วยภาพ สิ่งสําคัญต้องลงทุนคัทเอาท์ใหญ่ไว้หน้าโรงหนังเขียนด้วยสีนํ้ามัน จนมาถึงต้องหานักพากษ์เก่งๆเพระเป็นโรงชั้นสอง ยุคทอง มีพรพจน์ รัชนีวรรณ รุจิรัตน์ ศรีรัตน์
คู่นี้สุดยอดคนนิยมมากที่สุดเพราะท่านพากษ์สด ต่อมาจึงมีการอัดเทปเพราะพากษ์ไม่ทันเรื่องเดียวฉายหลายโรงในกรุงเทพฯ
สมัยก่อนเป็นฟิล์มใช้หลายม้วน จึงเกิดธุระกิจวิ่งหนัง ที่เรียกว่าม้าเร็ว ด่วนพิเศษ ใช้มอเตอร์ไซย์ ชอปเปอร์ประมาณ 40 คันส่งตามโรงต่างๆห้ามพลาด ถ้าหนังมาไม่ทัน เรียกว่าจอขาว คนดูโห่ ผจก ต้องเตรียมหนังสํารอง เช่นหนังตลกมาขัดตราทัพเผื่อฟิล์มมาไม่ทัน
ยังมีอาชีพบุคเกอร์ คือคนกลางติดต่อเจ้าของหนัง หรือบ.จัดจําหน่ายเพื่อป้อนหนังให้กับโรงต่างๆ มีทั่วประเทศ ฉนั้นผู้จัดการต้องมีไหวพริบลูกเล่นลูกชนสารพัด ระบบการฉายหนังสมัยนั้นมี สองวิธี คือเช่ามาฉาย หรือวิธีแบ่งกัน โรงหนังกับเจ้าของหนัง คือ 60 / 40 ขอบคุณทุกท่านติดตามตอนต่อไปครับ
![]() | ![]() |
![]() |
ความเห็น |