โรงภาพยนตร์ตรังรามา
โรงสุดท้าย ที่ยังอนุรักษ์ไม่ทุบทิ้ง
ทับเที่ยง เมืองตรังสมัยก่อน ย่อมไม่เหมือนสมัยนี้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างมากมาย สิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่จะบันทึกไว้คือโรงหนัง.ในเมืองตรัง
แหละแล้ว วันหนึ่ง... โรงหนังโรงแรกชื่อ..” ทับที่ยงภาพยนตร์” คู่บ้านคู่เมืองตรัง ตั้งแต่สมัยโบรําโบราณ ก็ถึงกาลอวสาน ถูกรื้อทิ้งไปอย่างไม่มีใยดี
มีคณะใหม่มาสร้างทับบนที่ดินเดิมทันสมัยขึ้น ตั้งชื่อว่าศรีเมือง ในเวลาไลเลี่ยกัน ยุคต้นๆปี 2501มีโรงหนังใหม่ สร้างตามขึ้นมาอีกโรงอยู่ใกล้ตลาดสด ชื่องโรงหนังคิงส์ตรัง เป็นโรงสองชั้นสวยทันสมัยสร้างแบบกรุงเทพฯ ห้องฉายอยู่ชั้นบนติดห้องพากย์
อีกไม่นานต่อมา มีเปิดใหม่ขึ้นอีกโรงตามมา ชื่อตรังรามา เปิดตรงข้ามโรงแรมควีนส์ตรงสี่แยก ทับเที่ยงตรัง จึงมีโรงหนังค่อนข้างทันสมัยหลายโรง เด่นที่สุดคือโรงหนังคิงส์ ได้หนังดีๆมีคุณภาพมาฉายทั้งหนังดีนักพากย์ดี สีแสงเสียงเยี่ยมยอด
ในสมัยนั้นนักพากย์ภาคใต้และจากกรุงเทพฯ แจ้งเกิดขึ้นหลายคน เพราะมีโอกาสได้มาพากย์โรงใหม่ๆเหล่านี้ โรงหนังคิงส์ตรังได้ตำเลดีใกล้ตลาดสดการคมนาคมสะดวกผู้คนจาก ห้วยยอด ลำภูรา นาโยง กันตัง ย่านตาขาว นั่งรถเข้าเมืองซื้อของที่ตลาดเสร็จ แวะดูหนังรอบบ่าย ก่อนกลับบ้าน
ดังนั้นโรงหนังคิงส์ โรงหนังศรีเมืองฉายหนังดี ส่งเสริมนักพากย์คุณภาพเก่งๆขึ้นมาด้วย อาทิเช่น.. อ.ชัยเจริญ มยุรา เทพปฎิพร บุญลือ จินตนา กรรณิการ์ อมรา สิงห์ทอง ศรีวรรณ กมลพันธ์ ดาราพันธ์ วันทนี พันทิวา เอื้อนจิต มธุรส ชนินธร ทิวา ราตรี ชัยวรา สายสุดา มนต์ฟ้า
ชัยกมล ชัยวรา ชัยเฉลิม เทพอาภรณ์ พงษ์ทิพย์ ศักดิ์ชัย อรุณศรี
จุฑามาศ ณภาพรรณ ศรอนงค์ พิมพา บุศราพันธ์ มานิดาฯลฯทั้งนักพากย์ใต้และที่มาจากกรุงเทพฯมารวมตัว ที่ตรัง และหาดใหญ่เป็นศูนย์กลาง
ระยะหลัง โรงหนังศรีเมืองเปลี่ยนเป็นลิโด้ คิงส์เปลี่ยนเฉลิมรัฐ
ตรังรามาไม่เปลี่ยน ยังยืนหยัดฉายหนังเกือบห้าสิบปี หยุดกิจการไปสิบปี ปิดไว้เฉยๆ ชาวจังหวัดตรังร่วงกันช่วยอนุรักษ์ไว้ถึงปี2563แล้วตรังรามาไม่ฉายหนังแล้ว วันนี้ ก็ยังอยู่เหมือนเดิมหน้าโรงเปลี่ยนเป็นร้านขายของ
วิวัย จิตต์แจ้ง เรียบเรียง ขอขอบคุณอ.ชัยเจริญ ดวงพัตรา
![]() | |
![]() |
ความเห็น |