Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
โรงหนังเมื่อครั้งอดีต เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-สำรวจโรงหนังร้าง ยุค 80...381.. 20/8/2566 18:48
-‘ชุมแพซีนีเพล็กซ์’ โรงหนังขายตั๋ว 60 บาท730ยังไม่มีคนตอบ
-Old Cinema Halls of Jalandhar City830ยังไม่มีคนตอบ
-Major Cineplex 1760ยังไม่มีคนตอบ
- SF Cinema1280ยังไม่มีคนตอบ
-อาชีพเจ้าของโรงภาพยนตร์4561.. 30/10/2564 16:41
-The Cinerama Dome3550ยังไม่มีคนตอบ
-อมรา อัศวนนท์โชว์ตัว โรงหนังศรีเมือง จ.ตรัง4200ยังไม่มีคนตอบ
- 35mm Cinema Projecto5640ยังไม่มีคนตอบ
-อดีต ผู้จัดการโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์5390ยังไม่มีคนตอบ
-เรื่องสกาล่า...6410ยังไม่มีคนตอบ
- Shiela Cinema6070ยังไม่มีคนตอบ
-ปิด ตำนานโรงภาพยนตร์ สกาลา8254.. 26/6/2563 16:29
-“ย้อนรอย ทับเที่ยงภาพยนตร์” “โรงแรม ร้านอาหาร โกเต็ง”8400ยังไม่มีคนตอบ
-โรงภาพยนตร์ตรังรามา8210ยังไม่มีคนตอบ
-เปิดตํานานสายหนังดัง ภาคอีสาน8031.. 19/6/2563 18:14
เลือกหน้า
[<<] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 244

(ID:25246) เรื่องสกาล่า...


ขอขอบคุณบทความจากคุณชาญชนะ หอมทรัพย์...

เรื่องสกาล่า

ประเทศนี้เนี้ยมีปัญหาเรื่องจัดการศิลปวัฒนธรรมมวลชน ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากการจัดการไม่ดีด้วย แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากการไม่ประเมินค่าแต่แรกว่านี่มีคุณค่ายังไง คือเวลาเราพูดเรื่องศิลปวัฒนธรรมมวลชนหรือชุมชนทีไร มักจะถูกตีค่าให้ต่ำเตี้ยเรี้ยดิน ถูกลืม หรือไม่ก็ถ้ามันจะมีคุณค่าขึ้นมาได้ก็ต้องถูกตัวเป็นงานที่เชิดชูส่วนกลาง หรือบูชาค่านิยมแบบเดียวกันกับที่ส่วนกลางบูชา ไม่สามารถเป็นอื่นได้

การไม่มองว่ามันมีรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมมวลชนแบบอื่น หรือถ้ามีมันก็ต้องถูกยกเปรียบเทียบกับอะไรที่แม่งไม่เกี่ยวข้องกันเลย เช่น กรณีทุบเฉลิมไท คึกฤกษ์สนับสนุนให้ทุบเพราะมันบดบังโลหะปราสาท คำถามคือทำไมถึงมีโรงหนังอยู่ใกล้วัดไม่ได้ คำตอบก็อยู่ในคำพูดของคึกฤกษ์แล้วคือ โรงหนังหรือวัฒนธรรมการดูหนังในอดีต มันเป็นวัฒนธรรมบันเทิงชาวบ้าน มันยังไม่ถูกยกย่องหรือให้คุณค่าเทียบเท่ากับการแสดงหรือศิลปะแขนงอื่นๆ และการที่มันรับใช้ชาวบ้าน ไม่ได้รับใช้ชนชั้นสูงหรือทำนุบำรุงศาสนา อันเป็นธรรมสูงสุดที่ถูกส่วนกลางยกย่องบูชา มันก็เป็นคำตอบว่า ทำไมโรงหนังกับวัดถึงอยู่ด้วยกันไม่ได้ในกรอบความคิดของคนพวกนี้

ลองพูดถึงหมอลำคำกลอน/เพลงฉ่อยกับกลอนแปดและละครนอก/ในทั้งหลายแหล่สิ คุณก็จะพบร่องรอยเดียวกัน การเอากรอบของส่วนกรอบไปครอบเพื่อบีบหรือกำจัดวัฒนธรรมมวลชนลงเพื่อไม่ให้มวลชนแข็งแรง ให้ทุกคนอยู่ร่วมในประวัติศาสตร์ส่วนกลางแบบเดียวกันในทุกระนาบ ไม่ว่าจะระนาบสังคม การเมือง ศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา มันเป็นเรื่องเดียวกันหมด

คุณอาจจะบอกว่านี่มันเพ้อเจ้อไปใหญ่ละเว้ย กะอีแค่โรงหนังเก่าโรงเดียวถูกทุบทิ้ง มันจะอะไรนักหนา คำถามกลับก็คือถ้ามีการทุบวัดร้างหรือโบสถ์วิหารหรือกำแพงเมืองเก่าขึ้นมา คุณจะเห็นดีงามด้วยข้ออ้างเดียวกันว่า พ้นสมัย ล้าสมัย หรือจะช่วยให้ปรับปรุงภูมิทัศน์ดีขึ้นไหม มันก็ไม่ เพราะเห็นๆ กันอยู่ว่ามีกรอบที่ทำให้คุณประเมินค่าของสิ่งนี้ต่างกัน วัดก็รับใช้ชุมชน ตลาดก็รับใช้ชุนชม โรงหนังก็รับใช้ชุมชน ถ้าฟังก์ชั่นการทำงานเหมือนกัน ทำไมคุณค่ามันต่างกัน เพราะชุมชนถูกทำลายได้ แต่คุณค่าในเชิงนามธรรมบางอย่างทำลายไม่ได้ใช่ไหม? โรงหนังมันบอกประวัติศาสตร์ของชุมชน ของเมือง ของยุคสมัยได้ เป็น Landmark ของช่วงเวลาเหมือนสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่รุ่งโรจน์และร่วงโรยเหมือนกัน

เวลาไปสกาลา คุณเคยแหงนหน้ามองเพดาน เห็นภาพจิตรกรรมบนทางเข้าโรงและบนเพดานอาคารไหม ภาพนั้นมันเล่าอะไร โคมไฟนั้นออกแบบโดยใคร กรอบประตูและพื้นเวทีหน้าโรงมันต่างจากโรงยุคใหม่เพราะอะไร ทำไมถึงมีสโลปที่นั่งลาดลงขนาดนั้น จอทำไมถึงต้องโค้ง ทุกอย่างมันมีความทรงจำของคนมากมายอัดแน่นอยู่ เพียงแค่คุณไม่รู้จักไม่เข้าใจมัน ก็เลยพลอยไม่เห็นคุณค่ามันขึ้นมา?

ไม่มีอะไรเป็นนิรันดร์ อันนี้จริงแท้ ตึกสร้างมาเป็นครึ่งร้อยปีซักวันมันก็อาจทรุดโทรมผุพัง ถึงวันที่อารยธรรมมนุษย์ล่มสลายมันคงไม่มีโรงหนังซักโรงให้คุณเดินเข้าไปหรอก แต่ว่าสิ่งสำคัญคือคุณจะทำยังไงให้เรื่องราวของมันเป็นนิรันดร์ คุณจะทำยังไงให้สิ่งเหล่านี้เมื่อเล่าถึงรุ่นลูกหลาน มันจะไม่ได้เป็นแค่อดีตชาติอันไกลโพ้นที่เขาไม่มีวันสัมผัสหรือจับต้องได้ คุณก็ต้องอนุรักษ์ถนอมมันไว้ในสภาพที่ใกล้เคียงคำว่าสมบูรณ์ที่สุดถูกมั้ย? แต่ถ้าทำเป็นลืมๆ มันไป มองข้ามผ่านมันไป ไม่ต้องถึง 5 ปี 10 ปีหรอก ปีหน้าคุณก็ลืม คุณคงลืมกันแล้วลิโด้ก่อนจะมีคำว่า connect ต่อท้ายเป็นยังไง อีกหน่อยคุณก็จะลืมสกาล่าเหมือนที่เคยลืมโรงอื่นๆ เหมือนกัน ถ้ามันไม่ได้ยืนอยู่ตรงนั้น มันจะกลายเป็นแค่อากาศธาตุ

ลองมองมันเหมือนเรื่องใกล้ตัวขึ้นมาอีกนิด เราทุกคนต่างมีบ้านหลังเก่าที่อยากกลับไป หรือโรงเรียนเก่าที่เคยมีเพื่อนและความรักครั้งแรกที่นั่น มันจะมีโรงหนังซักกี่แห่งที่ให้ความรู้สึกแบบนี้กับคนหมู่มากได้ เมื่อก่อนมันเคยมีโรงหนังมากมายกว่านี้ แต่นั่นมันเกิดจากหลายปัจจัย เป็นเรื่องธุรกิจ เป็นเรื่องสัญญาเช่าที่ดิน เจ้าของโรงกับเจ้าของที่เป็นคนละคน เอกชนมองว่าที่ดินตรงนั้นถ้าโรงหนังมันไม่คุ้มทุน ก็ทุบทิ้งทำอย่างอื่นซะดีกว่า แต่ตอนนี้ ที่ดินตรงนี้ สกาล่าไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นที่เอกชน แต่เป็นพื้นที่ของสถาบันที่น่าจะเข้าใจและอยู่คู่ประวัติศาสตร์ของพื้นที่สยาม ของผู้คนในสยาม และของประเทศนี้นับแต่ก่อนแรกมีการสร้างภาพยนตร์ในสยามด้วยซ้ำ

แต่ก็คงไม่คาดหวังอะไรมากไปกว่านี้ สิ่งเดียวที่พอทำได้ในฐานะปัจเจกบุคคล ก็คงจะเป็นการส่งต่อความทรงจำ การทำให้โรงหนัง ความทรงจำ และเรื่องราวในอดีตมันคงอยู่ต่อไปด้วยวิธีคลาสสิค คือการเล่าปากต่อปาก ให้ความทรงจำนำพามันเดินทางต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น ให้ fact กลายเป็นตำนาน แล้วค่อย print the legend ผนวกให้โรงหนัง วัฒนธรรมการดูหนัง เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเสียที มันไม่ใช่แค่ความบันเทิงชั่วครู่ชั่วยาม แต่มันพูดถึงคน วิถีชีวิต ความคิด ความอ่าน ความรู้สึก อารมณ์ร่วมของมวลชน

ยังไม่นับว่าคนในอุตสาหกรรมหนังไทย ตกหล่นหายไปในประวัติศาสตร์ที่ว่านี้มากน้อยแค่ไหน คนฉายหนังตัวเล็กๆ ตัวประกอบอดทน คนบอกบท ช่างภาพ ช่างไฟ ช่างเสียง ฯลฯ ทั้งที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยพาเราไปสู่โลกแห่งจินตนาการ ความสนุก ความฟุ้งเฟ้อที่หาไม่ได้ในชีวิตจริง

ทุกอย่างมันเกี่ยวข้องกันหมดครับ การพังทลายของสิ่งหนึ่ง มันหมายถึงการจากหายไปของอีกหลายสิ่ง สถานที่และผู้คนเคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่บัดนี้มันกำลังถูกทำให้กลายเป็นอื่น ไม่ใช่แค่สถานที่ ร้านข้าวแกงข้างๆ จะย้ายไปอยู่ไหน ลุงยามที่คอยเดินดูรถจะทำอย่างไร ตึกแถวทั้งคูหาในซอยนั้นจะได้รับผลกระทบถ้าหากมีการรีโนเวตหรือไม่ เราเคยเห็นการเปลี่ยนพื้นที่นั้นเป็นอื่นมาหลายต่อหลายครั้ง เช่นเดียวกับการทุบและทำลายอื่นๆ มันไม่ใช่แค่การทำลายแนวระนาบ พื้นที่เดิมถูกเปลี่ยน แต่มันยังเป็นการทำลายแนวลึกในเชิงประวัติศาสตร์จนถึงผู้คนบนพื้นที่นั้น พื้นที่ถูกทำให้กลายเป็นแค่พื้นที่ ไม่ได้มีสิ่งใดยึดโยงหรือสูงค่ากว่า

การปฏิเสธการมีอยู่ของประวัติศาสตร์มวลชนโดยสิ้นเชิง คือการทำลายทิ้งแล้วสร้างคุณค่าใหม่ขึ้น ชำระของเก่าออกเพื่อเอาสิ่งใหม่เข้าแทนที่ หน้าหนังสือประวัติศาสตร์ในหนังสือเรียนจึงแทบไม่เคยบันทึกเรื่องชาวบ้านเลย ศิลาจารึก คำกลอน บทละครก็ไม่ได้สนใจผู้คนตัวเล็กตัวน้อยเบี้ยใบ้รายทาง เราพลาดโอกาสบันทึกชีวิตผู้คน เราทอดทิ้งชีวิตนับล้านๆ ให้หายไปในสายธารประวัติศาสตร์มานักต่อนักเพราะเพียงแค่พวกเขาเป็น "เบี้ย" เป็น "ใบ้" อยู่ "ตามรายทาง" ไม่ได้สลักสำคัญพอจะมีชื่อปรากฎ ชาวบ้านจึงต้องอาศัยการเล่าปากต่อปาก ผ่านนิทานพื้นบ้าน ผ่านเรื่องเล่าคำกลอน ส่งทอดต่อๆ กันเพื่อให้เรื่องราวในชุมนุม/ในชุมชนยังคงอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ทำไมนะเวลาผ่านมานับกี่ร้อยปี อาวุธสำคัญของเราชาวบ้าน ก็ยังมีแค่ "ปากต่อปาก" เหมือนเดิม เล่าต่อเพื่อให้มันยังคงอยู่ ทำได้แค่เหมือนที่หนังคาวบอยเรื่องหนึ่งเขาหล่นวรรคทองเอาไว้

When the legend becomes fact, print the legend.



ความเห็น


เลือกหน้า

จำนวนหัวข้อทั้งหมด 0

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 111242857 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :MiriamConee , K2512 , Senyavus , Mart1996 , casino bonus , Davidbub , tide , MashaPaymn , SoniaPaymn , DavidJet ,