Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง เครื่องฉายหนัง-โครง-จอเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-104-x2 ขอโชว์ บ้างนะครับ .. 17/7/2553 11:04
-Philips FP 7 Projector 35 mm. เครื่องในตำนานแห่งประเทศไทย.. 15/7/2553 8:16
-สอบถามพี่ๆครับ.. 15/7/2553 7:59
-น่าลองทำน่ะครับยังไม่มีคนตอบ
-ใช่เจ้านี่ใหมที่เขาเรียกว่า เครื่องฉาย Digital Cinema.. 9/7/2553 21:04
-เครื่อง 103 กับระบบ Sound แดงและประตูชัก (เด็กอยากโต).. 9/7/2553 20:15
-ไปแอบถ่ายหัวเครื่อง Tokiwa T54 และเตา Ashcraft ของเพื่อนสมาชิก...และรับหัวT54 ที่ประมูลได้มาให้ชม..... 8/7/2553 20:38
-ไม่ต้องกรอกลับ ฉายแล้ว ฉายต่ออีกรอบได้เลย กับฟิล์มชุดเดิม คิโนตั้นทำได้ไง ไปดู.. 8/7/2553 0:05
-Reverse Scan Sound Red Light และ เครื่องฉาย จาก Kinotonยังไม่มีคนตอบ
-t54 ทาสีใหม่ครับ.. 5/7/2553 9:38
-หัวซินเกียวกับเตาซินเกียว.. 30/6/2553 15:10
-ซาวค์แดงกับเตาถ่าน.. 29/6/2553 0:48
-ขอข้อมูลประตูปรับได้.. 24/6/2553 23:25
-ถ่านฉายชนิดนี้ดีไหมครับ.. 18/6/2553 18:36
-ฉายขำๆสพรรณ.. 17/6/2553 20:01
-ทดสอบเตาพริกขี้หนู 3 kw.. 16/6/2553 20:14
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 931

ใช่เจ้านี่ใหมที่เขาเรียกว่า เครื่องฉาย Digital Cinema



ขออนุญาติสอบถามนะครับ ว่ารูปที่ผมโพสใช่ เครื่องฉาย Digital Cinema หรือป่าว


แล้วมีภาพยนต์ไทยเรื่องใหนบ้างที่ฉายด้วยระบบ Digital Cinema ...ขอบคุณครับ...





ความเห็น

[1] [2]


มีแต่การ์ตูนไทยเท่านั้นล่ะครับที่ฉายแบบนี้




ไปดูที่เวอร์เทรตสิ


ราคาเท่าไรหนอ

 




ผมว่าภาพ ไม่ค่อยจะต่างกันเท่าไหร่เลย นะครับ จะต่างก็ตรงราคาบัตรเข้าชม..

ท่าน อื่นๆ คิด อย่างไรกันล่ะครับ

แล้วแบบนี้จะทำเป็นหนังกลางแปลงได้หรือเปล่า...









ถ้าฉายกลางแปลงสบายมากครับฉายถึง 12 เมตรน่ะ มั่นใจว่าใช้ไฟ 2K ถึง 4K




แต่ถ้าได้ฉายแบบนี้ คุณจะไม่อยากฉายฟิล์มอีกเลยครับ




เพราะ ฟิล์ม ความเร็ว 24 เฟรม : วินาที




ดิจิตอล ความเร็ว 100 เฟรม : วินาที




ข้อความข้างล่างนี้มาจาก http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=3309




คำว่าโรงภาพยนตร์ระบบดิจิตอลในเมืองไทย เริ่มต้นมาจากระบบเสียงก่อน เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจโรงภาพยนตร์เริ่มกลับมาตื่นตัวอีกครั้ง จากการรุกเข้ามาบุกเบิกตลาดของกลุ่มอีจีวี ตามติดด้วยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ลูกพี่ลูกน้อง ตระกูลพูลวรลักษณ์ ตลอดจนกลุ่มเอสเอฟ




การเข้ามาของกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิวัติโฉมหน้าของธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่อยู่ในแบบเดิมๆ ไปสู่โรงภาพยนตร์ให้ทันสมัย ทั้งการออกแบบตกแต่งอย่างดี และยังเป็นศูนย์กลางความบันเทิง และก็ได้กลายเป็นจุดเริ่มของการนำระบบเสียงดิจิตอลมาใช้




วิวัฒนาการจากระบบเสียงที่เป็น mono ธรรมดามาสู่ระบบ stereo ตามมาด้วยระบบดิจิตอล มีทั้งระบบ SRD, DTS, THX และ SDDS ของโซนี่




สิทธิพร ศรีสงวนสกุล ผู้อำนวยการ บริษัท GOLDENDUCK ผู้นำเข้าและติดตั้งอุปกรณ์เสียงและภาพระบบดิจิตอลสำหรับโรงภาพยนตร์ เล่าว่า ระบบเสียงของโรงภาพยนตร์ในเมืองไทยเวลานี้อยู่ในอันดับต้นๆ ของเอเชีย นอกจากทำซับไตเติ้ลเป็นภาษาไทยแล้ว ด้วยเหตุนี้ บริษัทผู้ผลิตรายใหญ่จากฮอลลีวู้ด ไม่ว่าจะเป็น ฟ็อกซ์ ดิสนีย์ โคลัมเบีย จึงให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางในการ mix เสียงเป็นภาษาอื่นๆ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ก่อนที่จะนำไปฉายในประเทศเหล่านี้




หลังจากที่บรรดาคอหนังได้อรรถรสในเรื่องของระบบเสียงดิจิตอลมาพักใหญ่แล้ว ก็มาถึงระบบภาพดิจิตอล ซึ่งเป็นเรื่องที่พัฒนาได้ยากกว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การถ่ายทำ เพราะปัจจุบันภาพยนตร์หลายเรื่องก็ถ่ายทำระบบดิจิตอลแล้ว ซึ่งหมายความว่า ภาพยนตร์เรื่องนั้นแทนที่จะถ่ายลงบนฟิล์ม ก็จะเปลี่ยนมาเป็นไฟล์ข้อมูล และบรรจุอยู่ใน hard disk แทน ไม่แตกต่างไปจากระบบคอมพิวเตอร์




แต่เมื่อถึงเวลาจะต้องนำไปฉายในโรงภาพยนตร์แล้วกลับต้องเจออุปสรรค เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการฉายภาพยนตร์ หรือโปรเจกเตอร์ที่เป็นระบบดิจิตอล ยังมีขีดความสามารถไม่เทียบเท่ากับการใช้ฟิล์ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแสง หรือความละเอียดของภาพ




จนกระทั่งบริษัท Texas Instrument บริษัทพัฒนาและวิจัยด้านเทคโนโลยี ได้พัฒนาชิปขึ้นมา เรียกว่า digital light processing หรือ DLC มีลักษณะคล้ายกระจกเงาสะท้อนแสง โดยชิปที่ว่านี้มีขนาดแค่นิ้วกว่าๆ แต่ความสามารถในเรื่องของภาพ คือ มีความละเอียดได้เท่ากับฟิล์ม




"ระบบดิจิตอล เราต้องมองอยู่ 2-3 จุด คือ ความละเอียดของภาพเทียบเท่ากับฟิล์ม แต่ความนิ่งเหนือกว่าฟิล์ม ภาพจะมีความนิ่งมากกว่า




เมื่อ ชิป DLC ถูกพัฒนาออกมาสำเร็จ ภาพยนตร์ที่ถูกถ่ายทำด้วยระบบดิจิตอล แต่เมื่อเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ต้องแปลงกลับมาเป็นแผ่นฟิล์ม เนื่องจากขีดความสามารถของโปรเจกเตอร์ที่เป็นระบบดิจิตอล ยังมีประสิทธิภาพไม่ดีพอ ก็จะไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป




ภาพยนตร์ที่เคยอยู่ในรูปของแผ่นฟิล์ม จะถูกเปลี่ยนเป็นไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน hard disk เมื่อต้องการนำไปฉายในโรงภาพยนตร์ในที่ต่างๆ ก็ download ใส่แผ่น DVD หรือส่งผ่านอินเทอร์เน็ต หรือยิงดาวเทียม นำมาฉายผ่านเครื่อง Digital Projector ที่เป็นเครื่อง server สำหรับเก็บข้อมูลภาพยนตร์ หรือที่เรียกว่า Digital Movie Storage




สิทธิพรบอกว่าข้อดีของระบบดิจิตอล คือ คุณภาพของภาพยนตร์ที่ปรากฏอยู่ในโรงภาพยนตร์จะเหมือนกับที่อยู่ในสตูดิโอถ่ายทำ นอกจากนี้ไม่ว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นจะถูกนำออกฉายกี่รอบ และกี่วันก็ตาม จนกระทั่งวันสุดท้าย คุณภาพของภาพจะไม่เปลี่ยน




"ไม่เหมือนกับฟิล์ม พอฉายไปเรื่อยๆ ก็จะมีเกิดเส้น หรือเพราะฟิล์มจะมีการสึกกร่อนไปเรื่อยๆ ภาพที่ฉายวันแรกกับวันสุดท้ายที่ออกจากโรงจะไม่เหมือนกัน"




อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเครื่องฉายระบบดิจิตอล ที่จะทำให้ผู้ชมได้สัมผัสกับอรรถรสของคำว่า ดิจิตอลเธียเตอร์ ที่เป็นทั้งเสียงและภาพ แต่ก็ยังไม่เห็นถึงความแตกต่างมากนัก อาจจะเป็นเพราะสไตล์ของภาพยนตร์ และเป็นปกติของอุปกรณ์ไอทีที่เป็นรุ่นแรกๆ ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อเนื่อง




แต่อุปสรรคสำคัญของการฉายภาพยนตร์ระบบดิจิตอล อยู่ที่การทำซับไตเติ้ลยังเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากเป็นระบบใหม่ ผู้นำเข้าภาพยนตร์ยังไม่สามารถทำได้เอง ไม่เหมือนกับระบบฟิล์มที่ทำเองได้ในไทย กรณีของภาพยนตร์เรื่อง Star Wars : Episode II ต้องส่งไปทำซับไตเติ้ลที่สหรัฐอเมริกา




"เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุน" สิทธิพรบอก กรณีของ Star Wars : Episode II จึงต้องใช้เวลา 10 วัน และเงินลงทุนหลักล้านในการส่งไปทำซับไตเติ้ลที่สหรัฐอเมริกา ก่อนจะนำมาเปิดฉายก็เรียกว่าหวุดหวิดเต็มที




สิทธิพรเล่าว่า การทำซับไตเติ้ลภาษาไทยในระบบดิจิตอลนั้น ไม่เหมือนกับระบบฟิล์ม ที่เป็นการซ้อนภาพตัวอักษรลงบนแผ่นฟิล์ม แต่กรณีของภาพยนตร์ในระบบดิจิตอลนั้นทำเช่นนั้นไม่ได้ จะต้องบันทึกอักษรลงบนภาพใหม่ทั้งหมด




แม้ว่าจะมีความยุ่งยากในบางขั้นตอน และยังไม่เห็นความแตกต่างของภาพมากนัก เมื่อเทียบกับการใช้ฟิล์ม ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะเข้าที่เข้าทาง ฟิล์มอาจจะลดความสำคัญลง




แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับโรงภาพยนตร์ที่ใช้เครื่องฉายระบบดิจิตอล ที่มี 94 โรงในโลก ก็คือ การทำกิจกรรมในโรงภาพยนตร์ เช่น การเปิดตัวสินค้าใหม่ของต่างประเทศ จะสามารถถ่ายทอดสัญญาณแบบเรียลไทม์มาที่โรงภาพยนตร์ได้ทันที




และนี่คือผลต่อเนื่องที่เกิดจากพัฒนาการของคำว่า Digital Cinema










(คคห.ส่วนตัวล้วนๆ)


จากที่ผ่านมา เคยดูหนังระบบ Digital ในโรงมาครั้งเดียวครับ เพราะตอนนั้นเรื่องที่อยากดู(เสือก)ฉายแต่ระบบดิจิตอล



เท่าที่รู้สึกก็คือ
-ความสว่าง ก็โอเคสำหรับโีรงขนาด 200 กว่าที่นั่ง จอราวๆ 10 เมตรพอดี แต่ถ้าจอเท่าสกาล่าคงดูไม่จืด
-ความนิ่งของภาพ อันนี้ไม่เถียง ภาพนิ่งสนิทอยู่แล้วครับ ไม่มีไหวติงใดๆเลย
-Refresh Rate ของภาพสูงมาก (ไม่รู้ว่ากี่ Hz แต่สูงมากแน่ๆ) และเนื่องจากไม่มีการใช้ใบพัดมาตัดแสงแบบเครื่องฉายฟิล์ม (ซึ่งจำกัดความถี่อยู่ที่ 48Hz) ทำให้ดูได้สบายๆ ไม่เห็นถึงการกระพริบของภาพแม้แต่น้อย
-แต่...จุดสำคัญที่สุด ก็คือ "Look" ของภาพ คือดูๆแล้ว ภาพมันเหมือนกับที่เราดูจากโปรเจคเตอร์แบบฉายนั่นแหละครับ เพียงแต่ฉายขึ้นจอใหญ่ขนาดโรงหนัง ก็เท่านั้นเอง
อ้อ ตอนหนังเลิก ผมเดินลงไปออกประตูตรงหน้าจอ ก็เลยได้สังเกตเห็นภาพใกล้ๆ ก็ปรากฏว่าเห็นเป็นตารางๆ เหมือนกับภาพจากโปรเจคเตอร์ทั่วไปนั่นแหละครับ เพียงแต่เม็ดละเอียดกว่า ถ้านั่งตรงกลางๆโรงก็ไม่เห็นหรอก (แต่คนนั่งแถวหน้าสุดก็เซ็งไปละกัน)



ที่สำคัญ เครื่องฉายแบบนี้ ยังราคาเครื่องละหลายล้านอยู่ ในขณะที่เครื่องฉายฟิล์มแบบโรง (เอาแบบที่เป็ดทองนำเข้ามาประกอบเองด้วย) ราคาไม่ถึงล้าน ยังห่างกันหลายช่วงตัวอยู่ อ้อ อย่าลืมว่าระบบดิจิตอล ต้องมีเครื่องคอมพ์อีกเครื่องในการควบคุม+เป็นต้นแหล่งสัญญาณด้วยนะครับ ต้องเพิ่มอีกกี่แสนไม่ทราบ


สรุปว่าซักวันหนึ่ง เครื่องฉายดิจิตอล ก็คงจะมาแทนเครื่องฉายฟิล์มอยู่ดี (เหมือนที่กล้องดิจิตอลเข้ามาทุบกล้องฟิล์มจนเดี้ยงไปแล้ว) แต่คาดว่าคงไม่ใช่ภายใน 4-5 ปีนี้หรอกครับ ยิ่งเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ จะมีใครอยากลงทุนอะไรหนักๆอยู่รึเปล่าก็ไม่รู้



นึกออกอีกอย่าง



ตอนนี้เรื่องซับไตเติลไม่น่าเป็นปัญหาแล้วครับ เพราะได้ยินคุณแสนระศักดิ์เล่าให้ฟังว่า เดี๋ยวนี้เป็ดทองรับแสกนต้นฉบับที่เป็นฟิล์ม ให้เป็นดิจิตอลไฟล์ได้แล้ว (สำหรับทำเป็นโฆษณาปะหัวเรื่อง) ดังนั้นแค่ซับไตเติลก็ไม่น่าเป็นปัญหาละ









จุดที่ผมห่วงที่สุดสำหรับระบบดิจิตอลก็คือ ต่อให้วางระบบป้องกันการก็อปปี้แค่ใหน เชื่อว่าต้องมีคนเจาะระบบป้องกันจนได้...ลองนึกถึงไฟล์หนังชนโรง ความละเอียดเท่าๆกับที่ฉายในโรงนั่นแหละดูสิครับ แทบไม่ต้องเดาเลยว่า ไฟล์นั้นๆจะกลายเป็นอะไรเอ่ย... (ขนาดแผ่นบลูเรย์ บอกว่าวางระบบป้องกันก็อปไว้หนาแน่นสุดๆ เผลอแผล็บเดียว ตอนนี้โดนเจาะจนพรุนหมดแล้วละครับ)

ซึ่งในกรณีเลวร้ายที่สุด อาจทำให้ตลาดแผ่นผีเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้ และนี่ อาจเป็นหายนะของธุรกิจหนังโรงทั้งหมดในที่สุด




ถ้าไม่มีการป้องกันการก๊อปปี้ที่ดี ไอ้พวกทำแผ่นผีก็ยิ้มเลยสิ่ครับเนี่ย

เพราะว่าภาพที่กีอปปี้ คงจะชัดพอๆกับต้นฉบับเลย(มั้ง)ทั้งๆที่ยังไม่มีการผลิตจำหน่าย

..คิดๆไปก็น่ากลัวเหมือนกัน..




ผมก็เคยดูหนังในระบบดิจิตอลอยู่หลายเรื่องเหมือนกันความคมชัดกินขาดฟิล์มอยู่แล้วแต่เสียงยังสุ้ฟิล์มไม่ได้เสียงจากลำโพงข้างยังแพนเสียงไม่ค่อยดีส่วนที่เป็นเม็ดบนจอผมว่าน่าจะเป็นที่รูบนจอมากกว่าครับ

 

 




^
^
^
เห็นมากับตาแล้ว ยืนยันว่าเป็น Pixel จากภาพแน่นอนครับ ไม่ใช่รูบนจอ เหมือนเวลาไปยืนดูภาพที่ฉายจากเครื่องโปรเจคเตอร์ใกล้ๆหน้าจอ ยังไงยังงั้นเลย



และยืนยันเหมือนเดิมครับ ว่า Look ของภาพนี่...มันไม่ได้จริงๆอ่ะ ดูยังไงก็เหมือนภาพจากโปรเจคเตอร์ ไม่เหมือนฟิล์มเลย



สงสัยต้องหาเวลาไปดูซะแล้วครับท่าน



                   "ส่วนตัวแล้ว ผมชอบระบบอนาล็อคฟิล์มมากกว่าแน่นอน
                            โดยไม่ต้องกล่าวถึงข้อดีข้อเสียเลยครับ.."


 ปล: ขนาดโรงหนังในสวนสนุกในต่างประเทศ ที่เขาเรียกว่า "เซมูเรเตอร์" (ไม่รู้ภาษาอังกฤษสะกด ยังไง)เขาก็ยังใช้ระบบฟิล์มในการฉายเลยครับ






ขออนุญาติ Update ครับ


พอดีได้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับเครื่องฉาย Digital Cinema ที่ผมได้โพสไว้ด้านบนมาก็เลยขออนุญาติโพสรายละเอียดเพิ่มสักเล็กน้อยนะครับ


JVC DLA-QX1G รายละเอียดของภาพระดับ QXGA (2048X1536)ความสว่างอยู่ที่ 7,000 ANSI ราคาในต่างประเทศ 225,000  US$ เท่านั้นเอง !และถือว่าเป็นเครื่องฉายที่ให้รายละเอียดภาพสูงสุดในขณะนี้และเป็นมาตรฐานของ digital cinema  ส่วนในระดับรายละเอียดที่สูงกว่านี้ยังไม่พบในเครื่องฉายแต่จะมีในจอภาพ ซึ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีย่อมไปถึงอยู่แล้ว


 





ขออนุญาติ Update ครับ

พอดีได้รูปเครื่องฉายดิจิตอลมาอีก ก็ขอนุญาติโพสเพิ่มนะครับ (คงไม่ว่ากันนะคร๊าบ เผื่อบางท่านจะเบื่อ )


+
+

+


เครื่องฉายดิจิตอลระดับhidefความระเอียดของภาพอยู่ที่4096x2160คือระบบ sxrd ของโฃนี่ครับความสว่าง18000lumensระดับ4kของchristieความสว่าง20000lumensระดับ2kครับ


ขอแซกนิดส์นึงครับ




กว่าจะเป็น ดิจิตอล ซีนีม่า นี่ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ดูภาพข้างบนนี้


เดินสายไฟเบอร์ออฟติกกันยาวเป็นร้อยกิโลเลยนะเนี่ย  แถมระบบ network กับ ตัว server ต้องเจ๋งจริงๆ ต้องรองรับการโอนถ่ายข้อมูลเข้าออกมหาศาลเลย

ยังไงฟิลม์ก็เจ๋งกว่าอยู่ดี



เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 20

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112735496 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Clarazkamic , KennethsAmara , SherinkaTrelf , BoxerBral , DavidoosGot , Vilianarab , Vikisrx , JustinzeDew , Juliqpw , GordonFella ,