เท่าที่สังเกตนะครับ
หัวหนัง / ท้ายหนัง ที่เป็นหนังต่างประเทศ มักจะยึดตามเนกาตีฟเดิม พูดง่าย ๆ ก็คือ ต้นฉบับมีหัวม้วน / ท้ายม้วน และคัลเลอร์ชาร์ทเป็นแบบใด ตอนพิมพ์ก็พิมพ์ออกมาแบบนั้นเลย
ส่วนหนังไทยซึ่งล้างที่แล็บในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นของกันตนา หรือสยามพัฒนาฟิล์ม เค้ามีหัวม้วน / ท้ายม้วนที่เป็นชุดสำเร็จ ก่อนที่จะนำปากกาเขียนข้อความลงไปบนเนกาตีฟ ซึ่งตอนปริ้นท์ออกมา รอยที่เขียนไว้ก็จะปรากฏด้วย
หัวหนังของบริษัทสยามพัฒนาฟิล์ม ในหนังไทยเมื่อสัก 10 - 20 ปีก่อน จะใช้เลขไทย ส่วนท้ายก็จะเป็นภาพมืดแว่บหนึ่งจากนั้นก็จะเป็นภาพที่มีสีเขียว หรือสีน้ำเงินเข้ม พร้อมกับปรากฏข้อความชื่อเรื่องวิ่งผ่าน แล้วมีเสียง 2 ป๊อบ ยาว
หัวหนังของกันตนา เปลี่ยนบ่อยมาก เรื่องแรกก็คือ กาเหว่าที่บางเพลง ก็ใช้หัวหนังคล้าย ๆ ลูกผสมของซีเนคัลเลอร์ แล็บกับหัวหนังตามแล็บระดับล่าง (ที่เป็นหนังเกรดบี) ลองดูได้จากคลิปหนังโฆษณาชุดนี้ก็ได้ และก็ยังมีแบบปัจจุบันที่เปลี่ยนบ่อย 3 - 4 ครั้ง เดี๋ยวนี้มีชาร์ทภาพกับชาร์ทสีแทรกไปด้วย ดูแล้วลายตา
หัวหนังของซีเนคัลเลอร์ แล็บ คงต้องดูตามสมาชิกที่สะสมหนัง ต้องมีหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง
ตอนนี้ผมได้นำหัวม้วนหนัง (ที่เคยอยู่ตามวิดีโอบ้าง รวมทั้ง VCD แต่ผมใช้ต้นฉบับหลัง และมีของกันตนารุ่นใหม่) เอามาทำใหม่ ด้วย Adobe Premiere 6 (รุ่นเก่า) แล้วแปลงเป็นไฟล์ avi ซึ่งสามารถแทรกคัลเลอร์ชาร์ทได้ตามใจชอบ แล้วก็ที่โหลดมาจากยูทูปก็มีครับ
ส่วนหัวหนังที่เป็นฟิล์ม มีเยอะเหมือนกัน เพราะธนา ฯ นครสวรรค์ เค้าตัดหัวหนัง / ท้ายหนังทิ้งออกไปทั้งหมด แม้แต่ End Credit หนังไทยก็ยังตัดเลยครับ อีกอย่างหนึ่งสำหรับตัวอย่างหนัง (ที่ผมซื้อ) ที่มีหัวหนัง / ท้ายหนัง ติดมาก็ไม่ตัดครับ มาอย่างไรก็อยู่อย่างนั้น