Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
โรงหนังเมื่อครั้งอดีต เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-โรงภาพยนตร์ เฉลิมไทย1011017.. 29/7/2553 9:48
-ไปดูชุดฉายที่โรงหนังโคกสำโรง ลพบุรี925825.. 23/7/2553 20:04
-ดีไซน์โรงหนังเก่า กับโรงหนังใหม่ และโรงหนังที่กำลังจะเปิด 55911.. 23/7/2553 14:52
-เกษียณอายุ 30 ปี ปิดตำนานโรงหนังเบอร์ 1 ของภาคอีสาน ปริ๊นซ์ขอนแก่น (2523-2552)98996.. 22/7/2553 22:39
-โรงหนังครูทวี 53733.. 20/7/2553 16:47
-ระบบเสียงในโรงภาพยนตร์905017.. 15/7/2553 12:07
-ฟื้นชีวิตเหยื่อเผาเมือง "โรงหนังสยามต้องไม่ตาย"566610.. 14/7/2553 11:33
-โรงหนัง 56965.. 14/7/2553 0:06
-โรงหนังเปิดใหม่สดๆซิงๆครับ1470336.. 11/7/2553 9:58
-ปิดตำนานโรงหนังเสรีมัลติเพล็ค ลำปาง636714.. 25/6/2553 23:14
-+ + โรงภาพยนตร์สุวรรณราม่า จ,เลย (พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์)616112.. 13/6/2553 20:31
-ขอไว้อาลัย และปิดตำนานโรงหนังสยาม 880224.. 10/6/2553 18:44
-โรงภาพยนตร์เสริมสุข อ.กุภวาปี จ.อุดรธานี73315.. 16/5/2553 23:38
-และแล้วก็ถึงตอนอวสานของโรงภาพยนตร์ชานเมือง "เอเซียรามา" เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร847118.. 26/2/2553 18:34
-ตามไปดู เจาะลึกโรงหนังมงคลรามา สะพานควาย1421923.. 21/2/2553 14:08
-โรงหนังชั้นสองกับความทรงจำสีจางๆ1210823.. 26/1/2553 15:19
เลือกหน้า
[<<] [14] [15] [16]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 248

(ID:2891) โรงหนัง






 



 



[ คัดลอกมาคำต่อคำจาก  :


 


เรื่อง ...โรงหนัง "สแตนด์อะโลน"  ลมหายใจสุดท้ายก่อนเป็นอดีต


หนังสือพิมพ์ "เดลินิวส์"     ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่  23  กรกฎาคม  2552     หน้า 4



เขียนโดย...ทีมวาไรตี้ (ศราวุธ ดีหมื่นไวย์) ].



 



 



อาจใกล้ถึงลมหายใจสุดท้ายเข้าไปทุกที  สำหรับโรงหนัง "สแตนด์อะโลน"  ซึ่งเป็นโรงขนาดใหญ่



ไม่มีการตัดแบ่งโรง  ไม่พึ่งห้างสรรพสินค้า  เน้นฉายบนเนื้อที่ของตัวเอง



 



คนละอารมณ์กับโรงหนังทั่วไปที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า ซอยกั้นแบ่งโรง กระทั่งสร้างอาณาจักรของตัวเอง



โดยแบ่งพื้นที่ให้เช่าขายของกึ่งห้างสรรพสินค้า



 



จากยุครุ่งเรืองเข้าสู่ยุคซบเซา  จนวันนี้...โรงหนังสแตนด์อะโลน ทยอยปิดตัวเป็นทิวแถว



เฉพาะในกรุงเทพฯ  เหลือไม่ถึง  5  แห่ง  ไม่แน่...อนาคตอาจเหลือเพียงความทรงจำ



 



"ผมผ่านยุคที่รุ่งเรือง มาจนถึงยุคที่ตกต่ำ  ได้เห็นและเรียนรู้อะไรมากมาย



สิ่งเหล่านี้เป็นอีกแรงใจที่ทำให้เราฮึดสู้ จนกว่าจะไม่ไหว



ทุกวันนี้อยู่แบบประคองตัวเองมากกว่า"



สุธิพงษ์ (สงวนนามสกุล)  เจ้าของ โรงหนัง ธนบุรีรามา ย่านปิ่นเกล้า



ซึ่งเป็นโรงแสตนด์อะโลน ไม่กี่แห่งที่เหลืออยู่ในกรุงเทพฯ กล่าว



 



พ.ศ. 2515  ธนบุรีรามา  โรงหนังชั้น  1   เปิดตัวขึ้นก่อนการสร้างสะพานพระปิ่นเกล้า



ฉายภาพยนตร์  "ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง"   เป็นเรื่องแรก  และได้รับการตอบรับจากคนดูแน่นขนัดเกือบทุกรอบ



แต่ด้วยภาระรายจ่ายที่มากขึ้น จึงต้องปรับมาเป็นโรงหนังชั้น  2     แต่โจ๋ฝั่งธนฯ สมัยนั้นยังให้การตอบรับเนืองแน่น



 



สุธิพงษ์  ผูรับช่วงต่อจากพ่อ   เล่าว่า ด้วยความที่โรงหนังแห่งนี้เป็นสมบัติของครอบครัวที่พ่อสร้างมากับมือ



จึงไม่อยากปิดตัวลง  แม้ปัจจุบันมีผู้ชมประมาณวันละ  100  คน  ทำให้ต้องปรับตัวด้วยการพยายามประหยัดค่าไฟ



เพื่อไม่ให้รายจ่ายมากเกินไป 



ทุกวันนี้ยังเก็บค่าตั๋วเพียงรอบละ  40  บาท  เพราะอยากให้คนระดับล่างที่ไม่มีเงินพอไปดูโรงหนังชั้น  1  ไปดู



 



"คนดูเริ่มลดตั้งแต่ก่อนปี  40   หลังจากนั้นก็ลดลงจนน่าตกใจ



อาจเป็นเพราะเศรษฐกิจไม่ดี  และผู้ประกอบการโรงหนังรายใหญ่นิยมสร้างอาณาจักรโรงหนังของตัวเองขึ้น



แต่เสน่ห์โรงหนังของเราคือ    มีความเก่าแก่อยู่มานาน



ดังนั้น คอหนังรุ่นเก่า ๆ ชอบมาดู  ฉายหนังซ้ำ  ดูเมื่อไหร่ก็ได้  ประหยัด  และยังรักษาความสะอาดได้อย่างดี



เพราะเป็นโรงของเราเอง  สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง"



 



นอกจากนี้ ยังพยายามรักษาเอกลักษณ์โรงหนังเก่า 



โดยการจัด  "รถแห่หนัง"  เพื่อให้คนในพื้นที่ได้รู้โปรแกรมหนัง  อาทิตย์ละ  2  ครั้ง



สิ่งนี้ต้องพยายามอนุรักษ์ไว้  เนื่องจากโรงหนังสมัยก่อนมีความผูกพันกับคนพื้นที่ ที่ถือว่าเป็นเรื่องดีควรรักษาไว้



ขณะเดียวกัน แผ่นป้ายโปรแกรมหนังก็ยังใช้ลายมือคนเขียน...เหมือนในอดีต



ตนเคยคิดจะซอยโรง แต่พอคิดแล้วไม่ปลอดภัยตามหลักของโยธาฯ  เพราะทุกปีต้องตรวจสอบอาคารตลอด



ถึงจะเปิดมานาน แต่ความปลอดภัยของผู้ชมก็เป็นเรื่องสำคัญ



 



แฟนประจำส่วนใหญ่เป็นคนขับแท็กซี่  ที่ได้ค่าเช่ารถ  แล้วมานอนรอเวลา



หรือแม่ค้าในตลาดใกล้เคียง 



ขณะที่เด็กรุ่นใหม่ๆ ยังมีเข้ามาให้เห็น เพราะราคาประหยัด



ด้านคนดูรุ่นเก่า ๆ ที่ต้องการมารำลึกบรรยากาศครั้งอดีตก็ยังมีให้เห็นอยู่



 



ภาวะปัจจุบัน...โรงหนังชั้น  2   ผู้คนมักมองว่า  ฉายหนังโป๊   ซึ่ง สุธิพงษ์ มองว่า



เมื่อตอนพ่อมีชีวิตอยู่ เน้นย้ำเสมอ  ไม่ให้ลูกนำหนังโป๊มาฉายในโรงเด็ดขาด  เพราะทำแล้วไม่รุ่ง



ฉายไปก็ต้องเสียเงินใต้โต๊ะให้เจ้าหน้าที่หลายคน  ซึ่งตนเองพยายามทำตามอย่างที่พ่อสอนมาตลอด



 



หลายครั้งที่ สุธิพงษ์ รู้สึกท้อจนอยากจะปิดกิจการ  แต่พอเห็นผู้ชมมีความสุข ก็เป็นอีกกำลังใจให้สู้ต่อ  เช่น



บางครั้งหนังดี มีคนเข้ามาดูเยอะ  ทำให้อยากจะสู้ต่อ 



อย่างน้อยก็รักษาโรงหนังที่มีคุณค่าทางจิตใจให้คนไทยได้ดู



มานั่งนึกดูก็ปลง เพราะทุกอย่างมีขึ้นมีลง  ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้ค้ำฟ้า



 



"พี่น้องผมทุกคนไม่มีใครเอาโรงหนังแล้ว  ยกเว้นผมคนเดียว  เพราะเขามองว่าลงทุนไปก็ไม่คุ้ม



ปล่อยให้เช่าที่ยังได้เงินมากกว่า  แต่ผมยังเชื่อว่ามันมีหวัง แม้จะเหลือเพียง  50  เปอร์เซ็นต์



ขณะที่โรงหนังสแตนด์อะโลนหลายแห่งทยอยปิดตัวลงเรื่อย ๆ  แต่เราจะสู้จนเฮือกสุดท้ายมาถึง"



สุธิพงษ์  เล่าถึงการต่อสู้ที่ยังมองไม่เห็นอนาคต



 



หลายคนเปรียบโรงหนังสแตนด์อะโลน  เสมือน  "จุ ด นั ด ฝั น" 



ครั้งอดีต...ไม่ว่าหนุ่มบ้านนา  หรือไอ้หนุ่มลูกกรุง  นิยมออกเดทครั้งแรกที่โรงหนัง



แต่ใช่ว่าจะง่ายดายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก



ตอนมาสาวเจ้าก็นั่งสามล้อมาด้วยกันดีหรอก



พอตีตั๋ว...เพื่อน ๆ ยกกันมาเป็นโขยง



เจ้าหนุ่มหลายคนกระเป๋าฉีกไปตาม ๆ กัน 



หนึ่งในนั้นมี  มนัส  กิ่งจันทร์  นักจดหมายเหตุ  หอภาพยนตร์แห่งชาติ  รวมอยู่ด้วย



 



ที่ว่า   "จุ ด นั ด ฝั น"  



มนัส  ขยายความว่า  โรงหนัง "สแตนด์อะโลน"  ไม่ใช่แค่ฉายหนัง



แต่สามารถสร้างแรงบันดาลใจด้านศิลปะ  เช่น 



 



-----   โปสเตอร์หนังที่ติดด้านหน้าโรง  เด็กคนไหนชอบศิลปะก็มานั่งสเกตช์ภาพตาม



หรือ



-----    บรรดาร้านตัดเสื้อตามต่างจังหวัด ก็เอาไปเป็นแบบตัดเสื้อ



 



 



ราวปี พ.ศ. 2507 - 2513  หนังเรื่องใหม่เข้าโรงทีจะมี รถแห่หนัง    เด็กก็จะเข้าไปรุมล้อม



หรือบางครั้ง...มีดารามาร่วมขบวนแห่  ชาวบ้านจะยกกันมาทั้งหมู่บ้าน



สมัยก่อน...แม้อยู่ต่างจังหวัดก็ได้ใกล้ชิดดารา



 



เช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2510 - 2520  เสียงในฟิล์ม



หนังต่างประเทศยังไม่มี  โรงหนังต่าง ๆ จึงพยายามหาจุดขายด้วย นักพากย์



ที่เน้น พากย์  สนุกภาษาถิ่น  ไปจนถึงนำเหตุการณ์สำคัญในประเทศมา พากย์



ทำให้หลายคนได้รับแรงบันดาลใจอยากเป็น นักพากย์



 



หลังจากนั้น คนดูโรงหนัง "สแตนด์อะโลน"  เริ่มลดลง 



เพราะการเข้ามาของทีวีซึ่งมีละครให้ดูอยู่ที่บ้านอย่างสะดวกสบาย



ประจวบเหมาะกับตอนนั้น รัฐบาลต้องการส่งเสริมหนังไทย  เลยตั้งกำแพงภาษี



ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าหนังต่างประเทศแพงกว่าปกติ  ขณะที่หนังไทยผลิตเยอะจนล้นตลาด



แล้วเครื่องเล่นวิดีโอก็เข้ามาในไทย



เจ้าของภาพยนตร์ต่างชาติพยายามหลีกเลี่ยงกำแพงภาษีโดยขายหนังผ่านวิดีโอ



โรงหนัง "สแตนด์อะโลน" ได้รับผลกระทบอย่างหนัก



เจ้าของกิจการปรับตัวด้วยการพยายามฉายหนังควบเอาใจคนดู  โดยไม่ตรวจสอบคนที่เข้าไปดูว่า



นำอาหารที่จะก่อให้เกิดความสกปรกเข้าไปหรือไม่



โรงหนังถูกลดเกรดเป็นชั้น  2



 



ปี พ.ศ. 2528 - 2529  โรงหนัง "สแตนด์อะโลน"  เข้าสู่ยุคตกต่ำ 



หลายแห่งซอยเป็นหลายโรง



เพื่อให้ผู้ชมได้เลือกดูหนังตามที่ต้องการ 



บางโรงดิ้นเฮือกสุดท้ายด้วยการฉายหนังโป๊ประหยัดต้นทุน



เพียงซื้อซีดีโป๊แผ่นละไม่กี่บาทมาฉาย    ทำให้เกิดชื่อหนังหวือหวา  เช่น



 



-----   สวาทสาวไฟแรงสูง



-----   สยิวดี ผีสลับหัว



 



เป็นต้น



 



 



"คนที่ดูโรงหนัง สแตนด์อะโลน  ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นเก่า 



ขณะโรงหนังใหม่ ๆ ตามห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวก



เนื่องจากพฤติกรรมคนดูเปลี่ยนไป  ไม่ได้ตั้งใจมาดูหนังอย่างเดียวเหมือนก่อน



แต่ต้องการซื้อสินค้า  หรือไม่มีอะไรทำก็เข้าโรงหนัง



สิ่งนี้เป็นตัวทำให้โรงหนังกับผู้ชมไม่ค่อยมีความผูกพัน



ถ้าแต่ก่อน คนฉายหนัง...เหมือนอภิสิทธิ์ชนไปไหนผู้คนจะทัก  เช่น 



ไปซื้อของที่ตลาด บรรดาแม่ค้าเห็นหน้าแล้วจำได้ว่าฉายหนังสนุก...เมื่อคืน  ก็จะแถมข้าวของให้ไม่อั้น"



มนัส  เล่า



 



มองไปยังอนาคต  โรงหนัง "สแตนด์อะโลน" 



มีโอกาสกลับมารุ่งเรืองเหมือนก่อนหรือไม่ ?



 



มนัส ลงความเห็นว่า เป็นไปได้น้อย  เนื่องจากพฤติกรรมคนดูเปลี่ยน 



ขณะที่คนดูโรง "สแตนด์อะโลน"  เพิ่มขึ้นอยู่ในวงจำกัด



ส่วนโรงหนังที่อยู่โดยทั่วไปขยายสาขาไปทั่วหัวระแหง ซึ่งเมื่อถึงเวลาปิดตัวก็คงต้องทำใจ



เพราะโรงหนังเคยผลักให้ลิเกไปแสดงนอกเมือง  ขณะที่วันนี้กระแสหนังแผ่นเข้ามาทดแทน



 



 



 



/  ด้าน  รัชนู บุญชูดวง...



 







ความเห็น

[1]


(ID:28250)

 

 

ด้าน  รัชนู บุญชูดวง  นางเอกเจ้าบทบาทแห่งจอแก้ว

ที่ย้อนกลับไปกว่า  20  ปีก่อน  โด่งดังเป็นพลุแตก  เป็นอีกผู้หนึ่งที่ชอบดูหนังในโรงภาพยนตร์

มองความเปลี่ยนแปลงว่า   สมัยก่อน...หากอยากดูหนังต้องตั้งใจจริง ๆ 

เพราะโรงหนัง "สแตนด์อะโลน"  เน้นการฉายหนังอย่างเดียว  ต่างจากขณะนี้ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า

และด้วยความสะดวก ทำให้วัฒนธรรมการดูของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไป 

ไม่ตั้งใจดูเหมือนก่อน  แสดงกิริยาไม่เหมาะสม 

โรงหนังกลายเป็นแค่ส่วนประกอบของห้างสรรพสินค้า  วัยรุ่นพอไม่มีอะไรทำก็เข้าโรงหนัง

 

ด้วยควาที่เป็นดาราเจ้าบทบาท  ทำให้  รัชนู  หมั่นศึกษาการแสดงผ่านหนังต่างประเทศ

ด้วยการเข้าไปดูหนังเกือบทุกอาทิตย์ในครั้งอดีต

มองว่าโรงหนัง "สแตนด์อะโลน"  เสน่ห์อยู่ที่บรรยากาศของแต่ละโรงไม่เหมือนกัน

ต่างจากปัจจุบันที่โรงหนังเหมือนกันหมด

นอกจากนี้ โปรแกรมหนังก็ฉายเหมือนกัน  หากเป็นสมัยก่อน...หนังดีจริง ๆ ถึงได้เข้าไปฉายใน

ศาลาเฉลิมกรุง     ศาลาเฉลิมไทย     โคลีเซียม

 

"ในชีวิต ประทับใจ โรงหนังศาลาเฉลิมไทย  เพราะบรรยากาศในวันเปิดตัวหนังเรื่อง  ดรรชนีไฉไล

ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เราเล่น 

วันนั้นตื่นเต้นมาก เนื่องจากไม่ใช่เรื่องง่ายที่ดารารุ่นใหม่อย่างเราจะเล่นประกบดารารุ่นใหญ่

พิธีวันนั้นอลังการและเป็นเกียรติอย่างมากต่อชีวิตนักแสดง"    รัชนู  เล่าถึงความประทับใจ

 

รัชนู  กล่าวถึงการปิดตัวของโรงหนัง "สแตนด์อะโลน"  ว่า

รู้สึกเสียดายเพราะบางตึกเป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์งดงามน่าเก็บรักษาเอาไว้

ซึ่งอนาคต...โรงหนังพวกนี้จะอยู่รอดหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการที่ต้องดูแลความสะอาด

และความปลอดภัยของคนดู...โดยเฉพาะผู้หญิง

 

 

/  ส่วน  พอเจตน์ แก่นเพชร ...

 

 

 




(ID:28251)

 

 

ส่วน  พอเจตน์ แก่นเพชร   พระเอกรุ่นใหญ่  เจ้าของมาดชายกลางผู้พิชิตใจ  "พจมาน สว่างวงศ์"

ในภาพยนตร์อมตะ  "บ้านทรายทอง"    เมื่อปี พ.ศ. 2522 - 2523     กล่าวว่า

ทุกวันนี้ยังเสียดายโรงหนังหลายแห่งปิดตัวลง  เพราะคนที่ชอยดูหนังนาน ๆ หลายเรื่องแบบตน

เริ่มหาโรงหนังดูยากขึ้น  เพราะนั่งไปก็สามารถหลับพักผ่อนได้เนื่องจากฉายวันทั้งวัน

 

โปสเตอร์หนังที่ใช้วาดเป็นอีกส่วนสำคัญที่มีเสน่ห์และดึงดูดให้คนมาดูหนังมากขึ้น

เปี๊ยก โปสเตอร์     จัดได้ว่าเป็นมือทองทางด้านนี้โดยตรง

เพราะเมื่อวาดโปสเตอร์หนังให้เรื่องใดก็จะดังเป็นพลุแตก

ขณะเดียวกัน อยากให้คนรุ่นใหม่หันมาดูโรงหนัง "สแตนด์อะโลน" 

เพื่อศึกษาอดีตที่ผ่านมาจะได้เกิดความรู้ในการพัฒนาชาติต่อไป

และอยากขอให้ภาครัฐหันมาสนใจอนุรักษ์โรงหนังเหล่านี้  เพราะนี่คือ...

ศิลปวัฒนธรรมของชาติ     เช่นกัน

 

ฉะนั้น ในวันที่ลมหายใจโรงหนัง "สแตนด์อะโลน"  รวยริน  ยังคงมีร่องรอยอดีตตกค้างรอให้คนรุ่นต่อไปมาชม

ซึ่งยังไม่รู้ว่า  "บทละครแห่งชีวิต"   จะต่อลมหายใจได้นานแค่ไหน.

 

 

 

( คัดลอกมาคำต่อคำโดย...ชลิดา นภาพิพัฒน์)

 




(ID:28260)

 

ชื่อกระทู้  ทำไมถึงโดนตัดออก ?

มันผิดข้อหาไหน ?

 




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 3

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 113098245 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Pedronet , Vikitxm , 42ot , Vilianapwx , Glenntiktub , Ambroseatut , Irinarv , MichaelaWah , Vikiavd , Vilianauii ,