Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
โรงหนังเมื่อครั้งอดีต เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-มือปืนนิ้วทอง...19191.. 28/11/2557 12:33
-โรงหนังผมเมื่อ 40 ปีที่แล้ว29831.. 4/11/2557 22:54
-The Last Carbon Arc Projectionist in Chicago14680ยังไม่มีคนตอบ
-โรงหนังศิริพนมรามา27613.. 19/10/2557 19:37
-ปิดฉากโรงภาพยนตร์ ศิริพนมรามา อ.พนมสารคาม36648.. 16/10/2557 23:16
-โรงหนังเฉลิมธานี17950ยังไม่มีคนตอบ
-มหกรรมเครื่องฉายหนังในอดีต20850ยังไม่มีคนตอบ
-ข้าวโพดหน้าโรงหนังสมัยก่อนโน้น...22030ยังไม่มีคนตอบ
-โปรแกรมหนังทางหน้าหนังสือพิมพ์ 24861.. 30/7/2557 22:20
-ช่างเขียนรูปติดโรงหนัง21960ยังไม่มีคนตอบ
-โรงหนัง เฉลิมไทย32851.. 23/7/2557 10:33
-โรงหนังที่นครพนม เมื่อประมาณกว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมา ในยุคที่ฝรั่งมาอยู่อีสานมากที่สุดโดยเฉพาะโคราช,อุดรฯและนครพนม ...ตอนนั้นผมคงอายุ๕-๖ขวบ ไม่ทราบครับว่าอยู่ตรงใหนในปัจจุบัน.29331.. 20/7/2557 13:57
-โรงหนังตะพานหินราม่า...20130ยังไม่มีคนตอบ
-โรงหนังเฉลิมรัตน์ อุดรธานี...26000ยังไม่มีคนตอบ
-โรงภาพยนตร์ เทพบันเทิง ตลาดท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย76398.. 26/5/2557 1:56
-เสน่ห์วันวาน ตอน ศาลาเฉลิมกรุง18591.. 1/5/2557 0:17
เลือกหน้า
[<<] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 248

(ID:18647) โรงหนัง เฉลิมไทย


โรงหนัง เฉลิมไทย....
ก่อสร้างในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มีความประสงค์ให้เป็นโรงละครแห่งชาติในเวลานั้น และมีรูปแบบของอาคารกลมกลืนกับอาคารอื่นที่สร้างขึ้นริมถนนราชดำเนินกลาง
เดิมเป็นอาคารว่างเปล่าแล้วเป็นโกดังเก็บผ้าของทางราชการ ต่อมาบริษัทศิลป์ไทย (ซึ่งมีนายพิสิฐ ตันสัจจา เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นด้วย) ได้ขอเช่าพื้นที่ ริเริ่มปรับปรุงต่อเติมเป็นสถานบันเทิง ออกแบบและควบคุมโดย อาจารย์ศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา สถาปนิกชั้นนำของเมืองไทย ใช้งบประมาณถึง 1 ล้านบาท 
เปิดดำเนินการเป็นสถานที่แสดงละครเวทีอาชีพ ระหว่าง พ.ศ. 2492 - 2496 ก่อนเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์
ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ทางโรงภาพยนตร์ได้จัดแสดงละครเวที พันท้ายนรสิงห์ เป็นการอำลาอาลัยการก่อนปิดตัวถาวร หลังจากนั้นได้ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ เครื่องฉาย รถขายไอศกรีม ลำโพง ตัวอักษรชื่อโรง พร้อมกับการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เหลือออกเพื่อสร้างเป็น ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเผยให้เห็นทัศนยภาพสง่างามของ โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร เบื้องหลังได้อย่างเต็มที่
ความรุ่งโรจน์และนวัตกรรม
โรงละครเวที
ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นโรงมหรสพ ซึ่งผสมผสานความสง่างามแบบโรงละครในยุโรปกับความหรูหราของศิลปะลวดลายไทยอันวิจิตร ทันสมัยยิ่งใหญ่ด้วยเวทีเลื่อนขึ้นลงได้ระบบไฮดรอลิค เพียงแห่งเดียวของเมืองไทย สามารถจุผู้ชม 1,500 ที่นั่ง (ศาลาเฉลิมนคร 800 ที่นั่ง ,ศาลาเฉลิมกรุง 600 ที่นั่ง) ตั้งแต่ยุคละครเวที หลายเรื่องของคณะอัศวินการละครเป็นตำนานที่มีชื่อเสียง เช่น พันท้ายนรสิงห์ ,นันทาเทวี ,บ้านทรายทอง ฯลฯ
โรงภาพยนตร์
เมื่อเข้าสู่ยุคปรับเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ได้ริเริ่มจัดพื้นที่ซึ่งเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมร้านข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) อย่างโรงหนังต่างประเทศ และร้านไอศกรีม (ป๊อบ "ตราเป็ด" ที่ดังมากในขณะนั้น พร้อมป้ายโลโก้ รูปหน้าโดนัลดั๊ค มองเห็นแต่ไกล)
ต้นเดือนเมษายน ปีนั้น เป็นแห่งแรกในเมืองไทยที่ฉายหนังสามมิติ ใต้อุ้งมือโจร (Man in the Dark) ตามด้วยหนังซีเนมาสโคปเรื่องแรกของโลก อภินิหารเสื้อคลุม (The Robe) เข้าฉายในวันสิ้นปี
พ.ศ. 2498 เป็นสถานที่ฉายเฉพาะกิจสำหรับหนังการ์ตูนไทยเรื่องแรก (16 มม./พากย์) เหตุมหัศจรรย์ ของ ปยุต เงากระจ่าง (ซึ่งเพิ่งขึ้นทะเบียนเป็นมรดกชาติปี พ.ศ. 2555)[5]และหนังทุนสูง (16 มม./พากย์) นเรศวรมหาราช ของอัศวินภาพยนตร์ ในช่วงต้นทศวรรษ 2500
หลังจากนั้นเป็นผู้นำความแปลกใหม่มาเสนออย่างต่อเนื่อง ได้แก่ หนังเพลงระบบทอดด์-เอโอ เสียงสเตอริโอโฟนิคสมบูรณ์แบบครั้งแรกของฮอลลีวู้ด มนต์รักทะเลใต้ (South Pacific) ,หนังการ์ตูน ระบบซูเปอร์เทคนิรามา 70 มม.เรื่องแรกของโลก เจ้าหญิงนิทรา (Sleeping Beauty) ,หนังมหากาพย์สงครามโลก 34 ดาราสากล วันผด็จศึก (The Longest Day) ,หนังซีเนราม่า 3 เครื่องฉาย พิชิตตะวันตก (How the West Was Won) ,หนังมหากาพย์ทุนมโหฬารตลอดกาล คลีโอพัตรา (Cleopatra) ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นครั้งแรกของโรงหนังเมืองไทยที่ติดตั้งลิฟท์บริการผู้ชมชั้นบนด้วย และหนังเด่นอีกหลายเรื่อง เช่น บุษบาริมทาง (My Fair Lady) ,ดร.ชิวาโก (Dr.Zhivago) รวมทั้งหนังซีเนมาสโคปเรื่องแรกของอัศวินภาพยนตร์ -ชอว์บราเดอร์ส รางวัลตุ๊กตาทอง (มรดกชาติปี พ.ศ. 2555) เรือนแพ ที่ยังกลับมาฉายซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เป็นต้น
วันมหาวิปโยค 14 ตุลา
มีบทบาทสำคัญในช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นทั้งที่หลบภัยและโรงพยาบาลของคนเจ็บจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย
ขอบคุณข้อมูลจากคุณสมชาย...


ความเห็น

[1]


(ID:178002)



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 1

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 113107745 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :MichaelaWah , AnnaFlego , bkNer , Davidhkc , Davidsjc , Glenntiktub , Ambroseatut , Vikinax , Vilianavft , Pedronet ,