ความเห็น |
เริ่ม ที่ผลิตภัณฑ์ของ “โกดัก” ก่อนครับ
โชคดี ที่ยังมีฟิล์มเซลลูลอยด์ เนื้อธรรมดา สีสวยสด แต่มีความเสียหายจากอาการโรคน้ำส้มสายชู (Vinegar Syndrome) เลยนำมาฝาก
ภาพบน จากตัวอย่างเรื่อง เพราะฉะนั้น นั่นนะซี ที่ คุณป๊อบ ธวัชชัย มอบให้มา จากเดิมยาวร่วมๆ 2 นาที (เพราะถูกเล็มไปก่อนหน้า) มาถึงมือผม ก็ต้องเล็มออกไปอีก จนเหลือไม่เกินนาที ช่วงท้ายๆ ก็เลยมีอาการไปบ้างแล้ว
ภาพล่าง จากตัวอย่างเรื่อง 101 ดัลเมเชี่ยน เวอร์ชั่นเสียงไทย โมโน (น่าจะเป็นทีมเสียงเอก) มาจากบริการหนังกลางแปลงแถวบ้าน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง นี่ก็โดนเล็มไปก่อนหน้า จนเหลือไม่ถึงนาที ก็เลยขอเค้ามา เจ้าของหน่วยก็เล่าให้ฟัง หลังจากที่ได้ตัวอย่างมา ฉายแล้วขาด...ฉายแล้วขาดไปเรื่อยๆ ก็ไม่ได้เฉลียวใจอะไร จนสุดท้ายเลยเหลืออยู่เท่านี้
หนัง เรื่องนี้เข้าฉายปี พ.ศ. 2539 ดังนั้น ฟันธงได้เลยว่า ฟิล์มเนื้อธรรมดาของโกดักยังคงมีให้ใช้จนถึงสต๊อกสุดท้าย (ก่อนถึงวันหมดอายุ) ในปี พ.ศ. 2540 (จริงๆ ทางโกดักก็นำฟิล์มโพลีเอสเตอร์เข้ามาใช้แล้วล่ะ แต่ต้องระบายสต๊อกเก่าออกไปก่อน)
![]() | |
![]() |
![]() | |
มาถึง ยุคฟิล์มโพลีเอสเตอร์ หรือฟิล์มทอง ก็มีผลิตออกมาหลายรุ่น สังเกตที่ขอบฟิล์มจะมีคำว่า Eastman (อีสต์แมน) ชุดนี้จะเป็นแบบเต็มระบบ คือ เนกาตีฟ / โพสิตีฟเป็นโกดัก
ภาพบน จากโฆษณารณรงค์ของ สำนักเทศกิจ กทม. มี 2 ชุด ได้มาเมื่อปีที่แล้วนี่เอง
ภาพล่าง จากโฆษณากางเกงยีนส์ แรงเลอร์ ได้มาจากป๋าถาวร
![]() | |
ภาพบน จากตัวอย่างเรื่อง Mighty Joe Young เวอร์ชั่นสโคปที่โบลว์จากแบบ FLAT
ภาพล่าง จากโฆษณาเถ้าแก่น้อย ได้มาจากสมาชิกเช่นกัน แต่ฟิล์มโกดักจะเป็นรุ่นที่ใช้ในตอนนี้ (และเป็นรุ่นท้ายๆ)
มาต่อ กันด้วยผลิตภัณฑ์ของ “ฟูจิ” ก่อนครับ
เริ่ม ต้นด้วยฟิล์มเซลลูลอยด์ เนื้อธรรมดา สีสวยสด ที่มีเพียงม้วนเดียว แต่เสียหายด้วยอาการโรคน้ำส้มสายชู (Vinegar Syndrome) เกือบทั้งหมด โชคดีที่เอาไปเทเลซีนไว้เสียก่อน
![]() | |
มาถึง ยุคฟิล์มโพลีเอสเตอร์ หรือฟิล์มทอง ก็มีผลิตออกมาหลายรุ่นเช่นกัน สังเกตที่ขอบฟิล์มจะมีคำว่า Fuji หรือ Fujicolor ชุดนี้จะเป็นแบบเต็มระบบ คือ เนกาตีฟ / โพสิตีฟเป็นฟูจิ
ภาพบน จากโฆษณา เครื่องดื่มมัสแตง เวอร์ชั่นสโคปที่โบลว์จากแบบ FLAT ได้มาจากสมาชิก
ภาพล่าง จากตัวอย่างเรื่อง THE PATRIOT ฝ่ายุทธการขุมไวรัสมฤตยู ได้มาเมื่อ 2 เดือนก่อน (ก่อนหน้านั้นเคยได้เวอร์ชั่นเสียงไทย ภาพสโคป แต่สีไม่สดเหมือนเวอร์ชั่นซับไทย ทั้งๆ ที่ใช้ฟิล์มฟูจิ แต่เป็นคนละรุ่น)
นอก จากนี้ยังมีฟิล์มฟูจิ รุ่นหนึ่งที่เกิดปัญหาการเสื่อมสภาพ จนทำให้เกิดเป็นจุดสีแดงในภาพและขยายวงออกไป
ภาพจากฟิล์มทั้งสอง เดาไม่ยาก ว่าเป็นเรื่องอะไร
![]() | |
![]() |
ก่อน ที่จะไปที่ยี่ห้อสุดท้าย มาดูฟิล์มที่เว็บมาสเตอร์เรียกว่า “ลูกผสม” ครับ
ที่ เรียก “ลูกผสม” ก็เพราะว่าเครื่องพิมพ์ฟิล์มรุ่นเก่า ก็คล้ายๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร ดังนั้นในขั้นตอนการพิมพ์ มันก็เลยติดขอบฟิล์มซึ่งเป็นอีกยี่ห้อหนึ่ง (รวมทั้งรุ่นที่ผลิต) จากเนกาตีฟต้นฉบับติดลงไปด้วย
แล้วจะ รู้ได้อย่างไร คำตอบก็คือ ช่างสังเกต
1. จากฟิล์มยี่ห้อเดียวกันก่อนหน้าที่เคยมี
2. จากหัวหนัง (5, 4, 3) และท้ายหนัง ซึ่งต้องเป็นเรื่องเดียวกันด้วยนะ
ถ้า ไม่มีทั้ง 2 ข้อ ก็ดูยากหน่อย
เริ่ม ต้นด้วยฟิล์มเซลลูลอยด์ เนื้อธรรมดา จากตัวอย่างเรื่อง “อาลีก๊ะก๊ะ” สภาพยังดี สีสวย สังเกตที่ลูกศรชี้ มีคำว่า Eastman อยู่ และขอบฟิล์มสีฟ้าด้านหนึ่ง น้ำเงินเข้มด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นฟิล์มฟูจิครับ
![]() | |
ฟิล์ม โพลีเอสเตอร์ 2 เรื่องนี้ก็เช่นกัน มี Code ของฟิล์มฟูจิ และโกดัก อาจจะอยู่คนละด้านของขอบฟิล์ม หรือด้านเดียวกัน
ภาพบน จากตัวอย่างเรื่อง ผ่าแปดองศาแตก คุณป๊อบ ธวัชชัย มอบให้มา
ภาพล่าง จากตัวหนังเรื่อง ไซอิ๋ว หงอคง ถล่มนาจา หนังเก่าที่นำกลับมาฉายใหม่ และเปลี่ยนผู้จัดจำหน่ายด้วย อันนี้เป็นฟิล์มของบริการหนังกลางแปลงที่สนิทกัน จริงๆ แล้วเว็บมาสเตอร์ก็มีตัวอย่างเรื่องนี้ ซึ่งคุณป๊อบ ธวัชชัย มอบให้เช่นกัน (ตอนท้ายหายไปหลายวินาทีอยู่ แต่ไม่เป็นไรครับ)
![]() | |
![]() |
มาที่ ฟิล์มโฆษณาชิ้นนี้ ก็มาจากสมาชิกแถวนี้ เมื่อนานมาแล้ว มี Code ทั้งโกดัก และฟูจิ แต่คิดว่า Release Print น่าจะเป็นโกดักมากกว่า
เอา ละ...มาถึงยี่ห้อสุดท้าย คุณภาพหลังพิมพ์ออกมาใหม่ๆ ก็พอใช้ได้ แต่หลังจากนี้ไปอีกหลายปี มันก็ออกอาการ “เฟด” ม่วงแดงเสียแล้ว จะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาด้วย หนังหลายๆ เรื่องที่พิมพ์ด้วยฟิล์มยี่ห้อนี้ก็เพราะ ราคามันถูกครับ
ยี่ห้อ ที่ว่านี้ก็คือ “อั๊กฟ่า” จากเยอรมนี และจะยิ่งสังเกตได้ง่ายขึ้นไปอีก เพราะรู้ได้เลยว่า ฟิล์มเนกาตีฟต้นฉบับของหนังเรื่องนั้นเป็นยี่ห้ออะไร
ยุค ฟิล์มเซลลูลอยด์ (เป็นตัวอย่างจากค่ายชอว์ บราเดอร์ส 3 เรื่อง แต่ไม่เอาลงอ่ะครับ) และฟิล์มโพลีเอสเตอร์รุ่นแรกที่เริ่มใช้ในบ้านเราเมื่อปี พ.ศ. 253X (อ้างอิงจากหนังเรื่อง “แม่เบี้ย” รุ่นภัสสร - ลิขิต แล้วก็หนังเรื่อง “รอยไถ” เพราะเว็บมาสเตอร์เห็นฟิล์มหนังทั้งสองเรื่องจะเป็นแบบภาพบน) จะมีคำว่า Agfa Gevaert ที่หนามเตยด้านใดด้านหนึ่ง
![]() | |
ภาพ นี้เป็นฟิล์มอั๊กฟ่า รุ่นต่อมา
ภาพบน มาจากตัวอย่างตามเรื่องนั้นเลยครับ ได้มาจากหนังกลางแปลงแถวบ้าน
ภาพ ล่าง มาจากโฆษณาปะหัวหนังเรื่อง “เสียดาย” (ภาพ 4 : 3 ไม่มีซับอังกฤษเน้อ..)
* เสียดาย ที่หลังโลโก้ “สหมงคลฟิล์ม” ระบบเสียงเป็นโมโน (เฉพาะโลโก้ เป็น “ดอลบี้ สเตอริโอ”
* เสียดายที่ใช้ฟิล์มอั๊กฟ่าทั้งเรื่อง
![]() | |
กระทั่ง เมื่อระบบเสียง ดอลบี้ SR-D เริ่มเข้ามา ฟิล์มอั๊กฟ่าก็ออกรุ่นใหม่ที่มีอักษรย่อว่า AGS ที่ขอบฟิล์มและเป็นรุ่นล่าสุดที่ใช้จนถึงปัจจุบัน
ภาพบน มาจากตัวอย่างเรื่อง ID 4 สงครามวันดับโลก ซึ่งเป็นเสียงไทย
ภาพ ล่าง จากตัวอย่างเรื่อง ศึกอวสานก็อตซิลล่า
ทั้ง สองภาพมาจาก กทม. ในคราวเดียวกัน เมื่อ 2 เดือนก่อนหน้า
โปรดระวัง บางทีอักษร AGS อาจจะถูกเนกาตีฟด้านที่มีขอบสี หรือเส้นซาวด์ระบบเสียง SDDS (โรงหนังบ้านเราปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ที่ยังมีอยู่ก็เพราะมาจากฟิล์มต้นฉบับ) พิมพ์ทับลงไปด้วย อาจจะทำให้สังเกตยากขึ้นนิดนึง ดูจากภาพบนได้เลยครับ
ปิดท้ายด้วยภาพจากฟิล์มอั๊กฟ่าที่สภาพยังดีอยู่ในช่วงแรกๆ นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากภายนอกเมื่อเห็นฟิล์มจะมีลักษณะออกแดงเรื่อๆ ก่อนที่จะเพิ่มความเข้มขึ้นเรื่อยๆ
แต่...ฟิล์ม 2 ยี่ห้อก่อนหน้า ถ้าทางแล็บล้างฟิล์มแบบ “สุกเอาเผากิน” เพื่อลดต้นทุน ก็อาจจะออกแดงเรื่อๆ ได้เช่นกัน เคยเจอฟิล์มตัวอย่างแบบนี้อยู่เหมือนกันครับ ต้องหมั่นสังเกตด้วย
ส่วน ฟิล์มที่ออกเฟดไปแล้ว ก็ต้องทำใจละครับ แก้ไขไม่ได้ (แต่ถ้าเป็นงานอนุรักษ์แบบมาตรฐานแบบที่ต่างประเทศรักษาฟิล์มหนังเก่า เพื่อทำสำเนาเป็นฟิล์ม และลงแผ่นวิดีทัศน์ ที่ไม่ใช่ หภ. บ้านเราทำกันแบบตอนนี้ สามารถแก้ไขได้ ก็ขอไม่กล่าวถึงนะครับ)
แต่ ถ้าเบื่อ ไม่อยากเก็บ ประกาศขายแล้วไม่มีผู้ใดสนใจ ยินดีรับบริจาค เพื่อเป็นวิทยาทานเป็นความรู้ให้กับสมาชิกคนอื่นๆ รวมไปถึงน้องๆ ที่เรียนภาพยนตร์ตามมหาวิทยาลัย (มีมาเป็นระยะๆ แล้วครับ) ที่สำคัญให้เครดิตกับเจ้าของฟิล์มเดิมทุกท่านครับ
ก่อนจบกระทู้นี้ ขอนำเสนอภาพจากภาพยนตร์ฝรั่งเรื่อง Basic Instinct เจ็บธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ซึ่งเป็นฟิล์มที่เว็บมาสเตอร์ซื้อมาเองจากบริการหนังกลางแปลงในตัวจังหวัดในราคา 500 บาทเท่านั้น ทั้งฟิล์ม ทั้งรีล และกระเป๋าหนังสีน้ำตาลเดิมๆ ความยาว 6 ม้วนเต็ม (ม้วนที่ 5 โดนน้ำในช่วง 10 นาทีแรก) มีครบตั้งแต่ Countdown Leader 5,4, 3 (แหว่งๆ ออกไป) และช่วงท้ายหนังของทุกม้วน จากแล็บสยามพัฒนาฟิล์ม เริ่มต้นตั้งแต่โลโก้ค่ายหนัง “สหมงคลฟิล์ม” ไปจนจบเรื่อง สมัยนั้นคงขี้เกียจพิมพ์ในส่วน End Credit ก็เลยขึ้นคำว่า The End ง่ายดี
คงไม่ต้องถามว่าใครพากย์เสียงไทย เรื่องราวเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ กระแสของหนังเรื่องนี้ ฮือฮามาก ก็เลยหยิบเอาม้วนที่ 2 ของหนังเรื่องนี้มาให้ชม สังเกตให้ดีนะครับทำไมมีสีสรรที่แตกต่างกันเมื่อนำมาสะท้อนกับแสง (เป็นฟิล์มทองนะครับ)
![]() | |
เมื่อกรอออกมา ก็พบว่าเป็นฟิล์มอั๊กฟ่าครับ เฟดแดงเรียบร้อย และแล้วก็มาถึงช็อตหนึ่งในหนังที่ดูกล่าวถึงมากเป็นพิเศษ
ในที่สุดก็เจอรอยต่อฟิล์มครับ แต่ฟิล์มอีกท่อนหนึ่งเป็นของฟูจิ สียังสวยสดอยู่เลย ความยาวประมาณคร่าวๆ น่าจะไม่กี่วินาที
![]() | |
![]() |