ความเห็น |
จขกท. คงสงสัยว่าทำไมฟิล์มหนังเรื่องนี้ จึงมี 2 แบบ คือ “ตัดซีน” กับ “สโคป”
ก่อนอื่นเลย ต้องตอบก่อนว่า ต้นฉบับตอนถ่ายทำ ถ่ายเป็น “ตัดซีน” FLAT 1.85 ครับ
ทีนี้เวลาทำก็อบปี้ออกฉาย ก็สั่งพิมพ์ทั้ง 2 แบบ คือแบบ “ตัดซีน” กับแบบ “สโคป” แต่จำนวนก็อบปี้ในเวอร์ชั่นสโคปจะมากกว่าหน่อย เพราะส่วนใหญ่จะส่งไปต่างจังหวัดผ่านสายหนังอยู่แล้ว อาจจะติดก็อบปี้ที่เป็นตัดซีนไปด้วย 1 - 2 ก็อบปี้
การพิมพ์ฟิล์มจากต้นฉบับที่เป็นตัดซีนให้เป็นสโคป จะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. ยืดภาพ ทำให้เสียรายละเอียดทั้ง 4 ด้าน นั่นคือ บน, ล่าง, ซ้าย, ขวา ออกไป (หนังฮ่องกงเก่าๆ ปลายยุค 80 และ 90 ต้นฉบับเป็นตัดซีน ก็อบปี้ที่ฉายในบ้านเรา จึงต้องพิมพ์ในลักษณะแบบนี้ทั้งหมดครับ)
2. ยืดภาพ แต่เหลือขอบเฉพาะด้านซ้าย-ขวาไว้ มันก็เลยมีขอบดำด้านซ้าย-ขวาดั่งที่ปรากฏนั่นแหละครับ ตอนฉายในโรงก็เลื่อนม่านเข้ามา
หนังไทยบางเรื่องที่เข้าฉายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ก็มีในรูปแบบ “ตัดซีน” FLAT 1.85 (ที่นึกได้เลยก็คือ เรื่อง “เพื่อน” ซึ่งเป็นหนังอาร์) หรือไม่ก็ถ่ายในสัดส่วน 4 : 3 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ถ่ายทำโฆษณา (แม้ตอนฉายจะใส่เลนส์ตัดซีน มันก็ครอปภาพบน-ล่างออกไป) ในกรุงเทพฯ อาจจะมีก็อบปี้ FLAT เพียงไม่กี่ก็อบปี้ ส่วนก็อบปี้ที่ออกต่างจังหวัดจะพิมพ์แบบสโคปครับ
ที่เคยมีสมาชิกประกาศขายฟิล์ม ซึ่งหนังเรื่องนั้นถ่ายแบบ 4 : 3 มี “วิถีคนกล้า” เรื่องหนึ่งล่ะ แล้วก็ “ฉลุยหิน” (ทั้งสองเรื่อง มีก็อบปี้สโคปด้วย)
ตอนฉายที่โรงแรมแม่น้ำ มีเรื่องหนึ่งคือ “หลวงตา 3 ตอนสีกาข้างวัด” ก็อบปี้ที่เช่ามาฉายในงานก็เป็นแบบ 4 : 3 ครับ (ตอนดูครั้งแรกเป็นแบบสโคป)
หนังไทยที่เข้าฉายช่วงฟองสบู่แตก จนถึงปี พ.ศ. 2543 ก็ทำออกมา 2 ระบบภาพครับ
หนังเรื่องเสือโจรพันธุ์เสือ ถ้าเบื่อแล้วอยากขายบอกผมคนแรกนะครับ ชอบหนังเรื่องนี้ตีแผ่สังคมคนไทยเมื่อก่อนได้ดี