ทำแบบโรงหนังสิ ม่านสีดำ ให้จินตนาการเอาเอง
นึกถึงหนังเรื่องที่ฉายสโคป ในโรงหนัง
เมื่อฉายตัวอย่างที่เป็นตัดซีนจบ จอก็จะค่อยๆ เลื่อนให้กว้างขึ้น
ตัวเลื่อนนั่นคือม่านที่ใช้ผ้าสีดำปิดไว้
ถ้าจะประหยัดฟิล์ม 35 มมเต็ม ฯฯ แต่ใช้งานได้ครึ่งเดียว น่าจะกอ็ปเป็น ฟิล์ม 16 มม เสียหมดเรื่องไปเลย จะได้ประหยัดฟิล์ม
เท่าที่จำได้ เมื่อครั้งตอนช่วงหนังโฆษณา (ที่เป็นหนังขายยานะครับ) เค้าถ่ายแบบ FLAT เพราะจะสะดวกเวลาตอนเอาไปฉายออกอากาศทางทีวี (เมื่อประมาณ พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2527 นั่นคือช่วงที่เคยดูโฆษณาจากทีวี ซึ่งตอนนั้นยังมีการถ่ายทำเป็นฟิล์มอยู่ พร้อม ๆ กับการเข้ามาของ วิดีโอ VHS สำหรับบ้าน และระบบเบต้า สำหรับงานออกอากาศ) เพราะสัดส่วนภาพมันจะดูไม่ออก แต่ถ้าฟิล์มโฆษณาที่ถ่ายแบบสโคป จะเสียรายละเอียดด้านข้างอย่างมาก แต่ถ้าปรับแบบเครื่องฉายที่สวมเลนส์ในภาพก็จะยืด ดูแล้วไม่ค่อยดีเท่าไหร่ (หมายถึงตอนออกอากาศทางทีวีนะครับ)
มาถึงช่วงปี พ.ศ. 2530 หรืออาจจะมากกว่าเล็กน้อย หนังไทยเรื่อง "กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน" ถือว่าเป็นเรื่องแรก ๆ ที่ถ่ายในระบบ FLAT แบบนี้ น่าเสียดายที่ยังไม่มีโอกาสได้ดู แต่กลับไปปรากฏอีกที เป็นหนังไทยเรตอาร์ เรื่อง "เพื่อน" ครับ ที่เริ่มเห็นขอบดำ (กรุณาอย่าคิดลึก) ปรากฏบนจอหนังเป็นครั้งแรก ๆ ตอนนั้น จุ๊ยเจริญ ฯ เอามาฉาย ต้องเอาเลนส์สโคปตัวนอกออกครับ เลนส์ FLAT อาจจะมีเข้ามาแล้ว (หรือยัง ?) ถ้ามีราคาคงแพงมาก
จนเวลาผ่านไปหลายปี น่าจะช่วงปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมาหนังไทยก็ค่อย ๆ เปลี่ยนระบบภาพมาเป็น FLAT เสียเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นระบบสโคป ยังพอให้เห็นอยู่บ้าง (ล่าสุดก็เรื่อง โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต) ส่วนหนังฝรั่งกับหนังจีน เอาแน่นอนไม่ได้ครับ บางทีก็ FLAT บางทีก็สโคป
นอกจากนี้อุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการตัดต่อ ในการ Transfer ภาพจากฟิล์มลงสู่วิดีโอ เทป เบต้าแคม (เทเลซีน) เพื่อนำไปลำดับภาพผ่านคอมพิวเตอร์ หรือไปทำ CG ก่อน แล้วค่อย Transfer ลงฟิล์มเนกาตีฟ รวมทั้งเครื่องพิมพ์ฟิล์มที่สามารถปรับรูปแบบของภาพได้ทั้ง 2 ระบบ คือ FLAT และสโคป ก็สามารถทำได้ตามที่เจ้าของหนังต้องการครับ
อย่างว่าแหละครับ เดี๋ยวนี้คนที่ดูหนังกลางแปลงที่อาจจะเคยชินกับการดูหนังแบบสโคปมานาน พอมีหนังแบบ FLAT ออกมา ก็ต้องมีเสียงบ่นจากผู้ชม ซึ่งอาจจะไม่คุ้นเคย ยิ่งถ้าคืนไหนฉาย 2 เรื่อง 2 ระบบ คือ FLAT กับสโคป อย่างละเรื่อง โดยใช้เครื่องฉายเพียงเครื่องเดียว อาจจะเสียอารมณ์ก็ตอนเปลี่ยนเลนส์ แต่บางคราวก็ขี้เกียจเปลี่ยน คือฉายด้วยเลนส์ FLAT ตัวเดียว ทั้งหนัง FLAT กับ หนังสโคป ซึ่งเลนส์ FLAT กับฟิล์มระบบสโคป ภาพที่ออกมา ทั้งยืด ทั้งล้นครับ
ผมว่าเขาเอาไว้รองรับพวกทีวี lcd , plasma มากกว่าเพราะภาพที่ออกมาจะพอดีจอเลย คือ 16:9 หรือ 1.75:1 นั่นเอง ผมสังเกตุจากด้านหลังของแผ่น dvd เขาจะเขียนบอก อัดตราส่วนบอกไว้ด้วย หรือง่ายๆ ลองเอาฟิล์มไปส่องเทียบหน้าจอดูพอดีเลย และระบบทีวีในอนาคตจะเป็น 16:9 หมดสังเกตุจากตลาดขายทีวีดูเขาจะเน้นทีวี lcd , plasma เพราะอุปกรณ์ใหม่ๆจะเป็น 16:9 หมดที่ทำงานผมสั่งรถ hd มาแล้ว 1คันแต่สัญญาณ out put มีให้เลือกเป็นสองระบบ คือ 16:9 และ 4:3 และก็ทุกวันนี้สัญญาณที่มาจากต่างประเทศเวลาถ่ายทอดสดก็เป็น 16:9 แล้วเรามาแปลงเป็น 4:3 อีกทีครับ ( centercut ) ภาพด้านข้างบนล่างจะหายไป...
ตอนนี้สบายใจได้ หนังไทยเริ่มมีการถ่ายสโคปแล้ว เพราะมี บริษัท จอกว้างฟิล์ม ของค่าย จีทีเอช
เช่น สี่แพร่ง บอดี้ศพ#19 และ โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต
แต่ที่หนัง GTH มีฟิล์มที่ฉายด้วยเลนส์สโคปได้นั้น ค่ายหนังเค้าเอาใจโรงหนังต่างจังหวัด และหนังกลางแปลงครับ เพราะรู้ว่าชอบฉายแบบนี้ ถึงจะเสียความคมชัดลงไปบ้างแต่ก็เสียไปเกือบ 20 % นะ ก็แค่สั่งแลปให้พิมพ์ก๊อปปี้ รีลีสแบบ โบลวอัพ ขยายจากไวด์ 1.85:1 ในฟิล์มต้นฉบับ ขึ้นมาเป็นแบบบีบภาพให้เต็มเฟรม 4:3 ตอนฉายจึงต้องเอาเลนส์ขยายสโคปมาขั้น ซึ่งมันจะลดทอนความคมชัดลงไปอีก แต่คนฉายดูเท่ 555555 กำ... ผมว่าเอาฟิล์ม 1.85:1 ไปฉายจะคมชัดกว่านะ แค่เปลี่ยนเลนส์นิดหน่อย ตอนเด็กๆผมยังชอบดูหนังฝรั่ง หรือหนังฮ่องกงที่ไม่ต้องใช้เลนส์สโคปฉาย เพราะภาพมันคมชัดกว่าเห็นๆ เรื่องแรกที่ไม่ต้องใช้เลนส์สโคป รู้สึกจะเป็นเรื่อง หย่าเพราะมีชู้นะ เท่าที่ดูจากกลางแปลงมา ( 1.85:1 หรือที่ในเวบนี้เรียกกันว่า ตัดซีน)
อยากรู้ว่าอันไหนกว้างกว่าครับ ระหว่าง 2.40 : 1 กับ 2.35:1
จะได้ดูดีวีดีให้ถูก
สรุปแล้ว ผู้สร้าง มองหนังกลางแปลงเป็นลูกเมียน้อยใช่เปล่าครับ จึงให้ความสำคัญกับการที่จะนำไปฉายในโรง และผลิตเป็นดีวีดีออกขาย ถ้าเป็นเช่นนี้ก็น่าเสียดายนะครับ
เรื่องเลนส์นี่ผมว่าสำคัญมากครับโดยเฉพาะเลนส์ที่เรียกกันว่าเลนส์ใน ถ้า Focus แล้วไม่เห็นเกรนหรือมีอาการแสงแฟร์(อาการฟุ้งของแสงส่วนเกิน)รอบๆจอเป็นบริเวณกว้างก็แสดงว่าเลนส์หมดคุณภาพแล้วครับ สมาชิกที่เล่นกล้องน่าจะรู้เรื่องนี้ดี ดังนั้นเลนส์จึงมีหลายเกรดหลายราคาครับ
ถ้าได้เลนส์ดีแล้วภาพไม่นิ่งอันนี้ก็ถือว่าเป็นเวรกรรมของคนที่ชอบจับผิดภาพครับเพราะมันคงน่ารำคาญน่าดู หัวเครื่องฉายที่เหมาะกับการฉายหนังประเภทฟิล์ม 1.85:1 น่าจะเป็นหัวนอกหรือหัวที่มีหนามเตยอยู่ใต้ประตูครับประเภทจีนแดง, รัสเซีย, ซินเกียว,... รวมทั้งตระกูลหัวโรงทั้งหลาย หัวที่ไม่น่าเอามาฉายมากที่สุดน่าจะเป็น Yamakiwa, Tokiwa ทั้งของในและนอก โดยเฉพาะเมื่อฟิล์มโดนน้ำมันมาเนี่ยเต้นน่ารำคาญหัวใจซะจริงๆ อัดประตู้แล้วก็ยังเอวไม่ค่อยจะอยู่ แต่ถ้าเป็นฟิล์มใหม่ไม่มีน้ำมันอันนี้ส่วนใหญ่จะเดินได้ปกติครับ
ฟิล์มสโคปที่จอแคบคือฟิล์มแบบอะไรครับ
แบบหนังเรื่อง น้ำเต้าหู้กับครูระเบียบ