ความเห็น |
ไม่ฝอยมากละครับ....ผมขออนุญาตนำเอาบทวิจารณ์ภาพยนตร์จากเรื่องข้างต้นตามหัวข้อของกระทู้....อันเป็นบทวิจารณ์ของคุณ ประวิทย์ แต่งอักษร ที่ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ สตาร์พิคส์ เมื่อเดือน พฤษภาคม 2004 มานำเสนอ ให้ได้อ่านบทความของนักวิจารณ์ระดับครู..ที่ได้ทั้งอรรถรสและความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ไปด้วยพร้อมๆกันเลย.
ปี ค.ศ. 1977 หรือ พ.ศ. 2520
ถือเป็นปีเริ่มต้นที่หน่วยงานสรรพากรของบ้านเราประกาศขึ้นภาษีนำเข้าฟิล์ม
ภาพยนตร์จากเดิมที่เคยเก็บเมตรละ 2.20 บาท บวกกับภาษีการค้า
กลายเป็นเก็บรวมทุกภาษีในอัตราเมตรละ 30 บาท ผลลัพธ์ก็คือ
บรรดาตัวแทนของบริษัทหนังจากฮอลลีวู้ดยอมรับกติกานี้ไม่ได้
และประท้วงด้วยการไม่ส่งหนังเข้ามาฉายในเมืองไทย
เหตุการณ์นี้ยืดเยื้อยาวนานกว่าสี่ปี กระทั่งในตอนท้าย
บริษัทหนังจากฮอลลีวู้ดก็ต้องจำนนด้วยเงื่อนไข
และยอมส่งหนังกลับมาอีกครั้งในช่วงกลางปี ค.ศ. 1981 หรือ พ.ศ. 2524
พร้อมกับหนัง ?เก็บตก?
นับสิบเรื่องที่ผู้ชมในบ้านเราไม่ได้ดูในช่วงเวลาที่มันได้รับความนิยม อาทิ
The Champ(1979), Star Wars(1977), The Spy Who Loved Me(1977), Smokey
and The Bandit(1977), Kramer VS. Kramer(1979), The Black Hole(1979)
กล่าวได้ว่า-ในบรรดาหนังฮอลลีวู้ดที่ออกฉายในช่วงเมืองไทยตั้งกำแพงภาษี
มีหนังเพลงสองเรื่องที่ประสพความสำเร็จทางด้านรายได้ในอเมริกาอย่างครึกโครม
และกระแสความคลั่งไคล้-ก็แผ่ขยายมาถึงเมืองไทยผ่านทางซาวด์แทร็คของภาพยนตร์
และข้อมูลจากหนังสือหนัง(โดยเฉพาะสตาร์พิคส์)
คงไม่ใช่การกล่าวที่เกินเลยนัก-ถ้าหากจะบอกว่า Saturday Night
Fever(1977) กับ Grease (1978)
เป็นหนังสองเรื่องที่นักดูหนังบ้านเราตั้งตารอคอยมากที่สุด
แต่กว่าที่มันจะเดินทางมาถึงโรงฉายในเมืองไทย-ก็เรียกได้ว่าตลาดเกือบวาย
ในกรณีของ Grease ช่วงเวลาล้าหลังไปประมาณสามปี ส่วน Saturday Night Fever
นานถึงหกปี
เข้าใจว่าด้วยเหตุผลด้านกาลเวลาที่ทำให้หนังไม่ได้ประสพความสำเร็จทางราย
ได้ในบ้านเรา
ส่วนหนึ่งเพราะผู้ชมไม่น้อยได้ดูหนังสองเรื่องนี้ไปก่อนแล้วจากวิดีโอซึ่ง
กำลังเป็นสื่อที่ร้อนแรง
แต่ถ้ามองในบริบทที่เชื่อมโยงกับหน้าประวัติศาสตร์
ต้องบอกว่าไม่มีหนังเพลงในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970
สองเรื่องไหนที่โด่งดังเท่านี้อีกแล้ว
ตัวเลขรายได้ในตำแหน่งหนังทำเงินสูงสุดสิบอันดับแรกของทศวรรษ-เป็นเครื่อง
ยืนยันสถานภาพนี้ได้เป็นอย่างดี
อันที่จริงแล้ว ไม่ค่อยถูกต้องนักกับการเรียก Saturday Night Fever
ว่าเป็นหนังเพลง เหตุผลก็เพราะมันไม่ได้เดินเรื่องด้วยเพลงเป็นหัวใจ
และถึงแม้เพลงจะแทรกเข้ามาเป็นระยะ
แต่มันก็ไม่ได้ถูกใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการสนับสนุนเนื้อหาอย่างพอเพียง
แต่มองในอีกมุมหนึ่ง
มันก็อาจจะพออนุโลมเรียกได้-ในฐานะที่มีฉากเต้นรำมาเกี่ยวข้อง
และถือเป็นส่วนที่สำคัญไม่น้อยกับโครงเรื่อง
ไม่ว่าใครจะจัดประเภทของ Saturday Night Fever อย่างไร
สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดก็คือ
ความสำเร็จของหนังเรื่องนี้มาจากกระแสตื่นตัวของดนตรีสำหรับการเต้นรำที่
เรียกดีสโก้-ที่เน้นการให้จังหวะคึกคักสนุกสนาน
และไม่น้อยกว่าสี่ถึงห้าฉากของหนังก็อุทิศให้กับการโชว์ลีลาพลิ้วไหวที่ทั้ง
งดงามและน่าตื่นตา
ในชีวิตประจำวัน โทนี่ มาเนโร่(จอห์น
ทราโวลต้ากับบทนำบนจอเงินเต็มตัวครั้งแรก)อาจจะเป็นแค่พนักงานในร้านขายสี
และอุปกรณ์ก่อสร้างที่ไม่มีอนาคต
แต่บนฟลอร์เต้นรำในดิสโก้เทคท้องถิ่นที่ชื่อ 2001 Odyssey
เขาคือเทพบุตรเท้าไฟที่ไม่มีใครสงสัยในทักษะการเต้นรำอันยอดเยี่ยม
แต่ว่าไปแล้ว ไม่ใช่ลำพังโทนี่ มาเนโร่เท่านั้น แต่รวมถึงตัวจอห์น
ทราโวลต้าด้วยที่ความสามารถในฐานะนักเต้นของเขาอยู่ในขั้นน่าทึ่ง
ไม่จำเป็นต้องใช้นักแสดงแทน หรือเทคนิคตัดต่อมาช่วย ประการสำคัญ
แทบทุกการเคลื่อนไหวของเขา-ดึงดูดสายตาของผู้ชม และให้ความรู้สึกเพลิดเพลิน
อย่างไรก็ตาม
หนึ่งในฉากที่คนดูหนังเรื่องนี้จะไม่มีวันลืม-กลับไม่ใช่ฉากเต้นรำบนฟลอร์
แต่ได้แก่ฉากเปิดตัวโทนี่ตอนต้นเรื่องที่เขาเพียงแค่?เดิน?อยู่บนฟุตบาธริม
ถนนเท่านั้น เสียงเพลง Stayin? Alive ของวงเดอะ
บีจีส์อาจมีบทบาทในการกำหนดท่วงทำนองที่กระฉับกระเฉง
ทว่าผู้ชมคงยอมรับโดยปราศจากข้อกังขาว่า
ไม่มีใครเดินได้ยียวนรวมทั้งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนกับจอห์น
ทราโวลต้าอีกแล้ว
แต่ Saturday Night Fever
ก็ไม่ได้เป็นแค่หนังที่บรรจุไว้ด้วยเสียงเพลงและฉากเต้นรำที่เรียงต่อกัน
เท่านั้น แต่ความหมายที่แทรกอยู่ตลอดเรื่อง-ค่อนข้างจริงจังไม่น้อย
นั่นคือชีวิตที่ไม่อาจหยุดนิ่งอยู่กับที่
และต้องพยายามก้าวไปข้างหน้าเพื่อเติบโตขึ้น
จากที่หนังให้เห็นในตอนต้น
โทนี่ไม่ได้มีอนาคตยาวไกลไปกว่าของพ่อซึ่งเพิ่งจะถูกให้ออกจากงาน
ความคิดเรื่องการเรียนหนังสือสูงๆไม่มีอยู่ในหัว
ขณะเดียวกัน-ก็ไม่รู้ว่าตัวเองควรเอาพรสวรรค์ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ทางไหน
เพราะนอกจากครอบครัวไม่ให้การสนับสนุนแล้ว
โทนี่เชื่อลึกๆว่าเขาเป็นลูกไม่รักดีเมื่อเทียบกับพี่ชายของเขาที่เป็นบวช
เป็นบาทหลวง
วันเวลาของโทนี่กับเพื่อนร่วมแก๊งอีกสี่คนหมดไปอย่างไร้แก่นสาร
ช่วงเวลาที่ดูเหมือนมีความหมายกับพวกเขาก็คือคืนวันเสาร์ที่ส่วนใหญ่เพิ่ง
ได้รับค่าแรงประจำสัปดาห์
แหล่งมั่วสุมได้แก่คลับข้างถนนที่หนุ่มๆแสวงหาการปลดปล่อยอย่างเต็มที่และ
ไม่ต้องคิดอะไรมาก-ทั้งบนฟลอร์เต้นรำ, เซ็กซ์ที่เบาะหลังรถ
และความรุนแรงกับแก๊งวัยรุ่นผิวสี
จุดเปลี่ยนในชีวิตของโทนี่ผ่านเข้ามาโดยชายหนุ่มไม่ทันรู้ตัว
เริ่มต้นจากแฟรงค์ จูเนียร์หรือคุณพ่อแฟรงค์
พี่ชายของโทนี่-ตัดสินใจลาออกจากสมณเพศ
ซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความอับอายขายหน้าอย่างใหญ่หลวงให้กับพ่อแม่
เหตุผลไม่ได้ซับซ้อน แฟรงค์ค้นพบว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ตัวเขาต้องการ
และเขาไม่อาจทนแบกรับความคาดหวังจากพ่อแม่ได้อีกต่อไป
การได้พบกับสเตฟานี่(คาเรน ลินน์ กอร์นี่ย์)
สาวสวยบนฟลอร์เต้นรำ-เป็นอีกตัวแปรหนึ่ง เว้นจากแม่กับน้องสาวของเขาแล้ว
เธอไม่เหมือนกับผู้หญิงคนอื่นในชีวิตของโทนี่ที่เขามองเห็นเป็นแค่วัตถุทาง
เพศ เธอเหนือกว่าเขาในทุกด้าน หรืออย่างน้อย
สเตฟานี่ก็ทำให้โทนี่คิดอย่างนั้น
หญิงสาวบอกเล่าแผนการส่วนตัวให้รับรู้ว่า
เธอกำลังย้ายจากย่านเสื่อมโทรมอย่างบรู้คลินไปอยู่ฟากแมนแฮตตั้น
และเริ่มต้นชีวิตในแบบที่เธอเป็นคนเลือก
ผิดกันอย่างสิ้นเชิงกับโทนี่ที่หญิงสาว?อ่าน?ได้อย่างทะลุปรุโปร่งว่าคงยัง
ไม่พ้นอ้อมอกพ่อแม่ เที่ยวกับเพื่อนกลุ่มที่ไม่มีอนาคต
และใช้ชีวิตอย่างไร้จุดหมายในคลับกระจอกอย่าง 2001 Odyssey
บทสรุปที่ฟังดูแสบสันต์ของสเตฟานี่ต่อชายหนุ่ม-ก็คือ ?ชีวิตของนายมันซ้ำซาก
และคงจะไปไหนไม่รอด?
ถ้าหากจะมีช่วงไหนในหนังที่อธิบายสภาพชีวิตของโทนี่ในเชิงอุปมาอุปไมยได้
อย่างคมคาย
มันก็น่าจะได้แก่ฉากที่เขากับเพื่อนอีกสองคนเล่นสนุกด้วยการปีนราวสะพานบรู้
คลินที่อยู่สูงจากพื้นน้ำนับสิบเมตร
ก่อนที่พวกเขาจะแกล้งทำเป็นกระโดดลงไปเพื่อหลอกแอนเน็ทท์(ดอนน่า
เพสคาว)หญิงสาวที่หลงรักโทนี่-ให้ตกใจ
มองเผินๆ-ฉากนี้ไม่ได้สื่อสารอะไรที่สำคัญ แต่จริงๆแล้ว
สถานการณ์ชีวิตของโทนี่ก็ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างจากนี้
มันเป็นชีวิตที่หยอกล้ออยู่กับหายนะอย่างล่อแหลมและโง่เขลา
หนังถึงกับหวนมาที่สะพานแห่งนี้อีกครั้งในตอนท้าย
และให้บทเรียนล้ำค่ากับโทนี่ว่า
ถ้าหากเขาไม่ดูแลชีวิตตัวเองให้ดีและปล่อยให้มันล่องลอยไปตามยถากรรม
ผลลัพธ์ก็อาจจะลงเอยในสภาพไม่ต่างจากตัวละครคนหนึ่งที่พบจุดจบที่สะพานแห่ง
นี้
คงไม่ต้องบอกว่าสุดท้ายแล้ว โทนี่
มาเนโร่หาทางออกให้กับชีวิตที่เหมือนอยู่ในกับดักคับแคบนี้อย่างไร
เขาอาจจะยังไม่มีแผนการที่เป็นรูปธรรม
แต่อย่างน้อย-ความคิดที่จะทำอะไรสักอย่างกับชีวิตก็ถือได้ว่าเริ่มต้น
หนังจบด้วยฉากที่อบอุ่นและเปี่ยมด้วยความหวัง(พร้อมกับเพลงหวานๆ ?How Deep
is Your Love?)
จนมองไม่เห็นความจำเป็นตรงไหนที่หนังควรจะต้องสร้างภาคสองตามออกมา-ยกเว้น
เรื่องเงิน
กล่าวอีกนัยหนึ่ง Staying Alive(1983) ผลงานกำกับของซิลเวสเตอร์
สตอลโลนเป็นภาคสองที่ล้มเหลวอย่างร้ายแรงในการแสวงหาความเชื่อมโยงกับคุณค่า
ต่างๆที่สอดแทรกไว้ในภาคแรก
หลังจากความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Saturday Night Fever จอห์น
ทราโวลต้าซึ่งกลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ในช่วงเวลาเพียงข้ามคืน-ก็แสดงนำในหนัง
เพลงอีกเรื่อง แต่คราวนี้ โทนอารมณ์ของหนังแตกต่างจากกันอย่างสิ้นเชิง
Grease
เป็นหนังเพลงที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบการนำเสนอแบบโบราณกับดนตรีร็อคแอนด์โรล
และเนื้อหาก็เบาหวิวและชวนฝัน
สร้างจากละครเพลงนอกบรอดเวย์ในปี 1972
ฉากหลังเป็นเหตุการณ์ย้อนยุคในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950
ในโรงเรียนมัธยมที่ชื่อไรเดล (หรือที่ถูกต้อง
ควรเรียกว่าโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ไรเดล
เพราะตัวละครแต่ละคนดูแก่เกินกว่าจะเชื่อได้ว่ายังเรียนอยู่ในระดับมัธยม)
พล็อตของหนังถ้าหากจะสรุปในสองสามประโยค-ก็คือ ชายหนุ่มพบรักกับหญิงสาว,
ทะเลาะกัน, หวนกลับมาคืนดี, ทะเลาะกันอีกครั้ง, หวนกลับมาคืนดีอีกครั้ง
แล้วเรื่องก็ถึงเวลาต้องจบพอดี
แต่ถ้าหากจะมองให้จริงจังไปกว่านั้น Grease
สะท้อนค่านิยมบางอย่างเกี่ยวกับวัยรุ่นที่เหมือนกันทั่วโลก
ยุ่งวุ่นวายอยู่กับเรื่องของเพื่อน, ความรัก และค้นหาอัตลักษณ์ของตัวเอง
พวกเขาจะเป็นจะตายกับเรื่องเหล่านี้-โดยไม่เคยรับรู้ถึงแง่มุมอื่นๆของชีวิต
จริงที่ยุ่งยากและซับซ้อน หรืออีกนัยหนึ่ง ชีวิตที่อยู่นอกปริมณฑลนี้
มันไม่มีตัวตนอยู่ด้วยซ้ำ
แดนนี่ ซูโก้(ทราโวลต้า)พบรักกับสาวออสซี่ที่ชื่อแซนดี้(โอลิเวีย
นิวตัน-จอห์น)ในช่วงปิดเทอม
และต้องพลัดพรากจากลาโดยไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ทั้งสองจะได้พบกันอีกครั้ง
แต่จับพลัดจับผลูกลายเป็นว่าแซนดี้ซึ่งควรจะต้องกลับไปออสเตรเลีย-ดันมาโผล่
ในฐานะนักเรียนใหม่ที่ไรเดลล์
การพบกันแบบเซอร์ไพรส์ของคนทั้งสอง-ไม่ได้ลงเอยอย่างหวานชื่นเหมือนที่
ชายหาดในช่วงฤดูร้อน
แต่แดนนี่ซึ่งอยู่ต่อหน้าเพื่อนๆแก๊งทีเบิร์ดส-ต้องวางฟอร์มสุขุมเยือกเย็น
เพื่อไม่ให้เพื่อนๆเห็นด้านที่อ่อนไหว ซึ่งสำหรับวัยรุ่นที่ไม่ประสีประสา
มันหมายความอย่างเดียวกับความปวกเปียกอ่อนแอแบบผู้หญิง
แน่นอนว่าเหตุการณ์นี้สร้างความเสียอกเสียใจให้กับหญิงสาว
และเส้นทางของคนทั้งสองที่ถึงแม้จะอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน
ก็ต้องเบี่ยงเบนออกจากกันโดยปริยาย
แต่ผู้ชมคงรู้ดีว่า-มันเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น
เพราะหลังจากนี้
แดนนี่พยายามพิสูจน์ให้แซนดี้เห็นถึงความรักของเขาที่ยังคงไม่จืดจาง
และหญิงสาวซึ่งมีใจให้กับชายหนุ่มอยู่แล้ว-ก็พร้อมจะยอมรับการคืนดี
แต่เรื่องยังไม่จบแค่นั้น
เมื่อหนังบอกให้รู้ว่า-ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กหนุ่มสาวต้องมีปัญหาแน่ๆ-ถ้า
หากแยกแยะไม่ถูกระหว่างความรักกับเซ็กซ์
และเด็กหนุ่มต้องเรียนรู้ที่จะหักห้ามเรื่องเหล่านี้ก่อนเวลาอันควร
ประเด็นเรื่องเซ็กซ์ยังถูกแทรกไว้ในซับพล็อตที่เกี่ยวข้องกับความ
สัมพันธ์ระหว่างเคนนิคกี้(เจฟฟ์ คอนนาเวย์)กับริซโซ่(สตอคการ์ด
แชนนิ่งที่ดูอายุเยอะจนถึงขนาดเป็นแม่ของนักเรียนทุกคนในเรื่องได้)ที่ริ
อ่านชิงสุกก่อนห่าม และเกือบจะทำให้อนาคตพลิกผันไป
เพลงที่ริซโซ่ร้องที่ใช้ชื่อว่า ?There are Worse Things I Could Do?
ถือเป็นเพลงเดียวของหนังทั้งเรื่องที่ให้ความรู้สึกขื่นขมจริงๆ
มันไม่ได้พรรณนาถึงเรื่องของความรักที่ไม่สมหวังเหมือนกับเพลงรักเศร้าสร้อย
ทั้งหลาย แต่ถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครที่มองเห็นความน่าสมเพชของตัวเอง
น่าเสียดายที่หนังหาทางออกให้กับเรื่องของริซโซ่อย่างฉาบฉวยและขอไปที
จนทำให้หนังซึ่งเนื้อหาบางเบาอยู่แล้ว
ไม่หลงเหลืออะไรที่พอจะยึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยวเป็นแก่นหรือสาระ
แต่มองในอีกมุมหนึ่ง ใครบ้างที่ดูหนังเรื่อง Grease
เพื่อค้นหาทางออกของชีวิต
นี่คือหนังที่สร้างด้วยจุดประสงค์เพื่อความครื้นเครงหรรษาของผู้ชม
มันไม่ได้แค่พาเราหนีไปจากโลกของความเป็นจริงไปสู่โลกเพ้อฝันที่ไกลโพ้นทั้ง
ในแง่ของเวลาและสถานที่เท่านั้น
หากยังทำทุกหนทางให้เราดื่มด่ำเคลิบเคลิ้มกับการดำรงอยู่ในโลกใบนั้น
แท็คติกมาตรฐานที่ใช้ได้ผลเสมอสำหรับหนังเพลง-ก็คือเพลงหลากหลายที่ผสม
กลมกลืนในทางอารมณ์อย่างสวยงามลงตัว อาทิ ?Summer Nights?
ที่บอกเล่าเรื่องชวนฝันในคืนฤดูร้อน, ?Hopelessly Devoted to You?
ที่หญิงสาวระบายความเศร้าสร้อยอันเนื่องจากความรักที่ถูกเพิกเฉย, ?Sandy?
ที่ชายหนุ่มคร่ำครวญถึงหญิงสาวที่เพิ่งจะทอดทิ้งเขาไป(ทั้งๆที่ก็นับว่าเป็น
เรื่องสมควร), ?Beauty School Dropout?
ที่เทพบุตรจากฟากฟ้า(รับบทโดยนักร้องรุ่นเดอะ แฟรงค์กี้
อะวาล่อน)เตือนสติหญิงสาวให้นึกถึงความสำคัญของการเรียน, ?Look at Me, I?m
Sandra Dee? ที่ริซโซ่
หัวหน้าแก๊งพิงค์เลดี้ส์ร้องเพื่อล้อเลียนความเป็นหญิงสาวบริสุทธิ์สดใสของ
แซนดี้ และ ?You?re the One that I Want?
ที่ชื่อเพลงก็บอกเนื้อหาในตัวมันเองครอบคลุมอยู่แล้ว
แต่ในขณะที่เพลงล้วนแล้วไพเราะ ฉากเต้นรำของหนังกลับไม่สามารถเทียบเคียง
หนังอาจจะมีช่วงประกวดการเต้นรำเหมือนกับใน Saturday Night Fever
ที่เปิดโอกาสให้จอห์น ทราโวลต้าได้วาดลวดลายของนักเต้นเท้าไฟ
แต่ฉากเหล่านั้นผ่านไปแล้วก็ผ่านเลย ไม่มีอะไรหลงเหลือให้จดจำ
แม้กระทั่งในช่วงท้ายสุดของเรื่องที่โอลิเวีย
นิวตัน-จอห์นพยายามจะแปลงโฉมตัวเองเป็นสาวเซ็กซี่
แต่งานออกแบบท่าเต้นกลับไม่ได้สนับสนุนความเร่าร้อนของฉากนี้เท่าไหร่นัก
ไม่ว่าจะอย่างไร ทั้ง Saturday Night Fever และ Grease
ผ่านการเฉลิมฉลองวาระครบรอบยี่สิบปีของตัวเองไปเมื่อหลายปีที่แล้ว
มันเป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนถึงการดำรงอยู่อย่างมีความหมาย
ในการระลึกถึง
ของคนดู คุณค่าในทางศิลปะของหนังทั้งสองเรื่องอาจไม่ได้สูงส่งอะไร
แต่อย่างน้อยที่สุด เมื่อเกือบสามสิบปีที่แล้ว
มันเป็นหนังที่ครองหัวใจของคนหนุ่มสาว
และพวกเขาก็ชื่นชอบมันโดยไม่จำเป็นต้องค้นหาเหตุผลที่ลึกลับซับซ้อนมาอธิบาย
เพียงแค่ความรู้สึกว่าตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งของหนัง
และหนังก็สามารถตอบสนองความพึงพอใจทางด้านอารมณ์ได้สมบูรณ์
เท่านี้ก็นับว่าพอแล้วสำหรับการที่ Saturday Night Fever และ Grease
จะอยู่ในความประทับใจของใครต่อใครอย่างไม่รู้ลืม
ก่อนจะถึงบรรทัดสุดท้าย...มีของแถมพิเศษสำหรับท่านที่ติดตามมาอ่านจนจบ...เป็นโปสเตอร์ของหนังเรื่องนี้สองเวอร์ชั่นสองแบบ....แจกฟรีๆไม่คิดมูลค่าใดๆ..วิธีการก็ง่ายๆครับ..แค่คลิ๊กขวาที่รูปโปสเตอร์ที่จะโหลด ตรงคำว่า save picture as กำหนด folder ที่จะ save แล้วกด o.k เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ.
ข้อมูลภาพยนตร์
SATURDAY NIGHT FEVER(1977)
กำกับ-จอห์น แบดแฮม/อำนวยการสร้าง-เควิน แม็คคอร์มิค, โรเบิร์ต
สติกวู้ด/บทภาพยนตร์-นอร์แมน เว็กซ์เลอร์/กำกับภาพ-ราล์ฟ
ดี.โบด/ออกแบบงานสร้าง-ชาร์ลส เบลี่ย์/ลำดับภาพ-เดวิด
รอว์ลินส์/ดนตรี-เดวิด ไชร์/ออกแบบท่าเต้น-เลสเตอร์ วิลสัน/ผู้แสดง-จอห์น
ทราโวลต้า, คาเรน ลินน์ กอร์นี่ย์, ดอนน่า เพสคาว, แบร์รี่ มิลเลอร์, พอล
เพพ/สี/ความยาว 119 นาที
GREASE(1978)
กำกับ-แรนดัล ไคลเซอร์/อำนวยการสร้าง-โรเบิร์ต สติกวู้ด, อัลแลน
คาร์ร/บทภาพยนตร์-บรอนเต้ วู้ดดาร์ด, อัลแลน คาร์ จากละครเพลงโดยจิม
เจค็อบส์และวอร์เรน เคซี่ย์/กำกับภาพ-บิลล์ บัทเลอร์/ออกแบบงานสร้าง-ฟิล
เจฟเฟอรี่ส์/ดนตรี-บิลล์ โอคส์/ลำดับภาพ-จอห์น
เอฟ.เบอร์เน็ทท์/ผู้แสดง-จอห์น ทราโวลต้า, โอลิเวีย นิวตัน-จอห์น, เจฟฟ์
คอนนาเวย์, สตอคการ์ด แชนนิ่ง, ดิดี้ คอนน์, อีฟ อาร์เดน, แฟรงค์กี้
อะวาล่อน, ซิด ซีซาร์/สี/110 นาที
ชอบสุดๆ เลยครับท่านอาจารย์ ... โดยเฉพาะเรื่อง กรีส กับฉากร้องเพลง Summer Nights
เดี๋ยวพรุ่งนี้จะอ่านแบบละเอียดอีกรอบนะครับ คืนนี้ง่วงซะแล้วครับ 55
ลองอีกซักที
เย้ ได้แล้ว ... ขอบคุณท่าน ดร.ปวีณอย่างสูงครับ
และขอขอบคุณสำหรับ การให้ศีลให้พร จากท่านอาจารย์ JTR เมื่อตะกี้ด้วยครับ อิอิ
http://www.youtube.com/watch?v=RoWvz9fkzpw