เห็นเจ้าของสายหนังเค้าบอกว่า ถ้าโดนจับในลักษณะแบบนี้ โดนหลายข้อหาครับ เห็นว่าโดนปรับเป็น 1,000,000 เลยครับ หนักกว่าวิ่งหนังฉายข้ามเขตอีกหรือฉายหนังผีอีก หลายเท่าตัว
ต้นทุนน้อย จริงๆ ครับ ถ้าหนังใหม่แผ่นซูมตลาดนัด 5 เรื่อง 80 บาท หรือ DVD 9 master แท้ก็ไม่เกิน 300 บาท รับงานได้ถึง 8000 บาท, ถ้าต้นทุนน้อยแบบนี้ ปราบไม่ไหวหรอกครับ เพราะจะเกิดหน่วยแบบนี้อีกมากมาย (ความเห็นส่วนตัวนะครับ) เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ต้องทำงานหนักในการเฝ้าระวัง
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า คดีที่เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณี ต้องมีผู้ร้องทุกข์ก่อนนะครับ ทางเจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการได้
เคยมีสมาชิกเว็บรายหนึ่งมาเล่าให้ฟัง ก็เจอในกรณีเดียวกันนี้ แต่ทางสายหนังซึ่งมีออฟฟิศสาขาอยู่ที่นั่น ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะหวั่นอิทธิพลมืด ก็เลยต้องปล่อยเลยตามเลย คนทำหนังกลางแปลงก็ต้องรับกรรมต่อไป
ในส่วนของกระทู้นี้ ผมขอปักหมุดไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่สมาชิกโดยไม่ต้องลบกระทู้ (ตอนแรกกะจะย้ายไปห้อง "โฮม เธียเตอร์" ด้วยซ้ำไป แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นหนังใหม่ ก็เลยคงไว้ตามเดิมครับ)
และถ้ากรณีแบบนี้ละครับ มีการทำสัญญาว่าจ้างระหว่างผู้จ้างและผู้รับจ้างว่า ให้เช่าจอ เครื่องเสียงลำโพง Projector และเครื่องเล่น วีดีทัศน์ แต่ไม่เกี่ยวกับ หนังเป็นของคนจ้าง อย่างนี้จะเข้าข่ายไหมครับ (ผมไม่มี Projector นะครับเดี๋ยวจะสงสัยว่าทำไมมีคำถามเยอะ) ถามเพราะสงสัยว่า ผู้ประกอบการเขาเลี่ยงบาลีแบบนี้ได้ไหมครับ คือให้เช่าอุปกรณ์นั่นเอง
@ ReD ผมว่า "ไม่มีภาพยนตร์ในรูปแบบฟิล์มให้หนังกลางแปลงฉายอีกเลย" นี่น่ากลัวกว่าครับ
เพราะผู้ประกอบการเค้าทราบดีกว่าพวกเราๆ ท่านๆ อยู่แล้ว และมีหัวเพื่อการค้าอยู่แล้วด้วย เค้าจึงมุ่งไปที่โรงภาพยนตร์มากกว่าไงครับ บางคนก็รู้แบบงูๆ ปลาๆ พอให้ข้อมูลที่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องการให้สมาชิกได้เกิดการตื่นตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ ก็มีเสียงนกเสียงกาแทรกเข้ามา แต่ก็ไม่ท้อครับ เพราะเรื่องเหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะต้องรู้ และต้องหมั่นติดตามครับ
เมื่อปรากฏภาพยนตร์บนจอ หรือเตรียมจะฉายภาพยนตร์โดยมีหลักฐาน (ซึ่งเจ้าทุกข์ทำหลักฐาน หรือรู้ล่วงหน้า) ถือว่าการกระทำผิดนั้นสมบูรณ์แล้วครับ
ตามที่คุณ Wat กล่าวมา พวกที่รับฉายโปรเจคเตอร์บางราย ก็ใช้วิธีนี้ทั้งนั้นแหละครับ (บางคนก็ไม่อยากเสี่ยง) เพราะเป็นการเจรจาตกลงกันเองที่นอกเหนือไปจากการใช้งานตามปกติ จะจ่ายเพิ่มหรือคำนวณรวมไปแล้วเสร็จในคราวเดียวก็แล้วแต่ ผมจึงใช้คำว่า "วัดดวง" ครับ ถ้าไม่มีการร้องทุกข์ก็รอดตัวไป
ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับสถานที่ตั้ง (ห้ามใช้เป็นบรรทัดฐาน เพราะแต่ละแห่งความเข้มงวดไม่เหมือนกัน บางที่ก็เข้มงวด บางที่ก็ปล่อยปละละเลย)
* ถ้ามีคนพลุกพล่าน การเดินทางไปมาสะดวก มีเคสแบบนี้อยู่เนืองๆ โอกาส 50 / 50 (ถูกจับขึ้นมาก็เหมือนถูกหวยละครับ)
* ถ้ามีคนพลุกพล่าน การเดินทางไปมาสะดวก แต่ไม่เคยมีกรณีดังกล่าวเลย หรือเข้าไปฉายในสถานที่เฉพาะ (บอกตรงนี้ไม่ได้ครับ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน เพราะมีต้นแบบเกิดขึ้นแล้ว โดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย) โอกาสรอดก็พอมีอยู่
* ถ้าสถานที่นั้นอยู่ห่างไกลเอามากๆ จะเดินทางสะดวกหรือไม่ โอกาสรอดสูงครับ
กรณีรับงานก็สมควรนะครับ แต่กฏหมายก็ยังมีข้อยกเว้น กรณี ทำเพื่อศึกษาค้นคว้าวิจารณ์วิจัยไม่มีผลกำไรเป็นเงินเป็นทอง
การฉายหนังแผ่น vcd หรือ dvd กลางแปลงเพื่อการค้าไม่สามารถกระทำได้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์บริษัทจัดจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เพราะว่าบริษัทจัดจำหน่ายได้ให้ลิขสิทธิ์ผู้ซื้อไว้ชมภายในที่พักอาศัยเท่านั้น ไม่ได้ให้ลิขสิทธิ์ในตัวสินค้า (แผ่น vcd หรือ dvd) นำมาฉายกลางแปลงเพื่อการค้า หากต้องการฉายกลางแปลงเพื่อการค้าต้องขออนุญาตจากบริษัทจัดจำหน่าย แต่ก็มีข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา 32 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2527 การกระทำอย่างไรอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัว
หรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลขนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของ
ศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณา ดงกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการ
สอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบัน
ศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
กรณีเพื่อการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย ฯลฯ ถ้าอ่านดูๆ เหมือนจะหลีกเลี่ยงได้ง่าย แต่ความจริงมันไม่ง่ายนะครับ
ที่ว่าไม่ง่ายนั่นคือ ต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าเราได้กระทำอย่างเช่นนั้นจริงๆ และต้องดูองค์ประกอบโดยรวมด้วย
รายละเอียดจริงๆ มันเยอะแยะตาแป๊ะไก่ และไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ นะครับ ส่วนคำว่า "เพื่อการค้ากำไร" ในทางปฏิบัติจริงๆ ก็ต้องมีบ้างแหละครับ ของแบบนี้ห้ามกันไม่ได้
ขอบคุณ คุณอนุกูลที่ช่วยชี้แจงให้ได้รับทราบถึงข้อกฏหมาย ผมเองก็สู้แทบไม่ไหวเยอะเหลือเกิน ท่านที่มีเครื่องสามารถฉายได้ในเคหะสถาน โดยที่ไม่ได้เผยแพร่เพื่อการค้า ตอนนี้ผมเร่หนังปัญญาเรณู 2 แข่งกับแผ่นผีเห็นที่ไหนแจ้งความร้องทุกข์แล้วพาตำรวจจับทันที่ได้มาหลายสิบเจ้าแล้ว ส่วนมากมีแต่ลูกน้องเจ้าของจริงเผ่นหนีหมด
โซนภาคเหนือตอนล่างก็ไม่ต่างกันครับ เฮียเบิ้ม
ผมเองก็เพิ่งจะดูในภาคแรกมา ในคืนนั้นเหมือนกัน (หนังกลางแปลง งานวัดใกล้บ้าน เริ่ม 17 - 21 ก.พ.) พอฉายจบมีเสียงจะให้ดูภาคสองต่อ ซึ่งโซนภาคกลางต้องรอช่วงที่ใกล้จะออกแผ่นแล้วจึงจะปล่อยให้เช่า (จริงๆ แล้วก็ทราบว่า ก็ปล่อยให้เช่าได้แล้ว แต่แพงครับ)
โชคดีของคนอีสานที่ยังมี "หนังเร่" อยู่
![]() | |