AROUND THE WORLD IN 80 DAY เสนอโดยพีเพิลซีน
80 วันรอบโลก อมตะคลาสสิก บทประพันธ์ JULES VERNE
กำกับการแสดงโดย OTTO PREMINGER
อํานวยการสร้างโดย MICHAEL TODD
นายไมเคิล ท็อดถ์ ได้ทําหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานต่อพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9 เพื่อถ่ายทําฉากพระราชพิธี สําคัญ ในประเทศไทย
ให้นายไมเคิล ท็อดถ์ ได้ถ่ายทําตอนสําคัญใน AROUND THE WORLD พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานราชาอนุญาตให้
นายไมเคิล ท็อดถ์ ได้ถ่ายทําตอนสําคัญใน AROUND THE WORLD
IN 80 DAYฉากเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ คือฉากพยุหยาตราชลมารคเป็นประเพณีโบราณของไทย เรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์มีความยาว 159 ฟุต
70 ฝีพาย พระราชอาสน์ทําด้วยทองคํา ภาพในหนังฉากนี้ 15 นาที
วันนี้ย้อนรอยประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ยิ่งใหญ่มโหฬารตระการตาสร้างโดยบริษัท WARNER BROSที่ทุ่มทุนในการสร้างสูงและทีมงานต้องยกกองไปถ่ายทำเกือบทั่วโลกหลายประเทศ มีฉากสำคัญในประเทศไทยด้วย ถ่ายทำได้ยอดเยี่ยมจะเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาของไทยและภาพวัดอรุณราชวาราม และฉากสำคัญที่ถ่ายทำในภาพยนตร์เรื่องนี้คือฉากเห่ขบวนเรือพยุหายาตราชลมารคอันยิ่งใหญ่ของไทยเป็นครั้งแรกบนแผ่นฟิล์มสู่สายตาคนดูหลายสิบล้านคนมากมาย ทั่วทุกมุมโลกได้เห็นกับตาความยิ่งใหญ่ของศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยมาแต่โบราณเมื่อหนัง 80 รอบโลกออกฉาย เมื่อต้นปี 2500
ภาพยนตร์ 80 วันรอบโลกได้รับรางวัล OSCAR หลายสาขาในปี 1956
วิวัย จิตต์แจ้งเขียนเล่าเรื่องหนังเก่าที่มีคุณค่า ถึงตอนนี้ต้องติดตามกันเลยครับ สืบเนื่องจากปลายศตวรรษที่ 19ตรงค.ศ. 1873 มีนักเขียนนักประพันธ์ท่านหนึ่งเกิดที่ประเทศฝรั่งเศสมีความเป็นอัจฉริยะในการเขียนบทประพันธุ์ออกแนวหลักวิทยาศาสตร์ ท่านมีชื่อว่า จูลส์ เวิร์น (Jules Vern
)
ได้ประพันธ์ไว้หลายเรื่องเป็นนวนิยายขายดีดังไปทั่วโลกหนึ่งนั้นคือเรื่องAround The World In 80 Dayเขามีจินตนาการกว้างไกลเมื่อนานมาแล้วมีความคิดสร้างสรรค์ ได้รับรางวัลมากมาย จนทั่วโลกยกย่องให้ท่านเป็นสุดยอดที่เป็นนักเขียนที่มีอิทธิพลต่อแนวนิยายวิทยาศาสตร์ขององค์การวิทยาศาสตร์โลกมาจนถึงทุกวันนี้ 2017
ปัจจุบันหนังสือได้ถูกแปลไปทั่วโลกทุกภาษา จนห้าสิบปีที่แล้ววงการHollywood ได้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ ระบบ35มม.เสียงรอบทิศช่วงหลังทำเป็นระบบ70มมออกมาด้วย โดยได้ดาราดังเจ้าบทบาทชาวอังกฤษมาแสดงชื่อ David Niven รับบทพระเอกที่ชื่อ
Phileas Fogg บุคลิกภาพตรงกับบทประพันธุ์มากที่สุดในบทเป็นนักพนันที่เป็นเศรษฐีผู้ดีอังกฤษตรงตามเรื่องมาก และยังมีดาราดังมากมายเช่นแฟรง ซินาต้าดารารับเชิญ ส่วนผู้หญิงรับบทเด่นชื่อ Shirley Maclaineรับบท
Princess Aouda และติดตามด้วยพ่อยอดชายนายทึ่มดาราดังจากเม็กซิกันมีนามว่า Cantinflasมา รับบทเป็น Passepartout ผู้ติดตามรับใช้พระเอกเจ้านายใน80วันรอบโลกที่เดินทางตื่นเต้นทุกนาทีเป็นตัวโจ๊กที่ฮากันทั้งโรงหนังในบทบวมๆเซ่อๆซ่าๆของเขาที่สร้างความประทับใจไม่รู้ลืมในหนังเรื่องนี้ สร้างเสร็จเข้าฉายปี1956ที่สหรัฐและปีถัดมาออกฉายทั่วโลกรวมประเทศไทยด้วยครั้งแรกฉายที่โรงหนังกรุงเกษมประมาณ1959และในรอบ50กว่าปีกลับมาฉายเมืองไทยอีกหลายครั้ง หลังสุดฉายที่โรงหนังอินทรามาใหม่ในฉาย
ระบบ70มมเสียงรอบทิศประมาณเกินกว่า28ปีมาแล้ว ผู้เขียนได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ครั้งแรกตั้งแต่ตอนเด็กๆโดยคุณพ่อคุณเว้ง จิตต์แจ้งเจ้าของผู้บริหารโรงหนังคิงส์ตรังประมาณปี1965ได้สั่งหนังเรื่องAround The World In 80 Dayมาฉายที่ตรังหลายวัน และผู้เขียนได้มาดูอีกครั้งตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วที่
โรงหนังอินทรากรุงเทพหนังสนุกมาก เรื่องย่อมีดังนี้ จากฝีมือการเขียนเรื่องแบบเหนือชั้นของ จูลส์ เวิร์นบอกเล่าเรื่องราวในอดีดในสมัยการสื่อสารการคมนาคมยังไม่สะดวกรวดเร็วอย่างทุกวันนี้ ผู้ประพันธ์ได้พูดถึงตัวละครตัวพระเอกที่ชื่อ Phileas Fogg พีเลียส ฟอกก์
ผู้ดีเศรษฐีชาวอังกฤษที่เก่งฉลาดผู้มีนิสัยเจ้าระเบียบ ตรงตอเวลาคิดไวรวดเร็วเล่นไพ่เก่ง มีคนรับใช้ติดตามตัวประจำชื่อ Passepartout ฟาสปาตูคอยรับใช้ตลอด ฟีเลียส ฟอกก์ เขารับพนันกับสมาชิกสโมสรที่อังกฤษว่าเขามีความสามารถเดินทางรอบโลกได้ภายในเวลา 80วันโดยทุ่มเงินประมาณแบบทุ่ม
หมดตัวไว้พนันเป็นเงินสูงถึง 2o,ooo ปอนด์ เทียบเท่าสมัยนี้คาดว่า
ประมาณ26o,ooooปอนด์สเตอร์ลิงในปัจจุบัน และพระเอกกับคนใช้ออกเดินทางผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตต้องพบเจออุปสรรคมากมายนาๆประการแบบนึกไม่ถึง เขาทุ่มเทความสามารถพยายามรักษาเวลาควบคุมการเดินทางให้อยู่ในแผนตามกำหนดไว้เขาจดบันทึกการเดินทางทุกวันเขาชนะหรือแพ้
หัวใจระทึกแล้วตอนนี้ ติดตามกันต่อครับ ทั้งคู่เริ่มออกเดินทางเมื่อวันที่2 ตุลาคม ปี คศ. 1872 จะต้องเดินทางกลับมาลอนดอนประเทศอังกฤษภายในวันที่ 22ธันวาคม 1872แผนการเดินทางจากผู้ประพันธ์ที่มีความคิดชั้นเลิศ
ตอนเขียนเรื่องนี้มีดังนี้เริ่มต้นจาก ลอนดอน คลองสุเอชรถไฟเรือกลไฟ 7วันจากคลอลสุสุเอชไปอินเดียบอมเบย์ เรือกลไฟ 13วัน จากบอมเบย์ กัลป์กันตารถไฟ 3วัน กัลป์กันตา ฮ่องกง เรือกลไฟ 13วัน ไทยฮ่องกงไปโยโกฮามาญี่ปุ่นเรือกลไฟ 6วัน จากญี่ปุ่นไปซานฟรานซิสโก เรือกลไฟ22วัน ซานฟราน
และไปนิวยอร์ค 7วัน จากนิวยอร์คไปลอนดอน เรือกลไฟ 9 วันในบางช่วงใช้บอลลูนเดินทาง เดิมพันครั้งนี้ถ้าแพ้หมดตัวถูกยึดหมด เรียกว่าแพ้ไม่ได้เด็ดขาด มีกติกาว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ได้ 80วัน โดยไม่มีข้อจำกัดว่าจะใช้พาหนะใดก็ได้ ไม่ว่าบอลลูน รถไฟ เรือกลไฟ ช้างม้าหรืออื่นๆที่เดินทางได้ สมัยนั้นยังไม่มีรถยนต์และเครื่องบิน ขณะออกเดินทางแผนกำหนดไว้ผิดหมดเพราะปัสปาตูมีส่วนเป็นเหตุในบทเขียนไม่มี ผู้กำกับใส่เพิ่มทำให้หนังดูสนุก
ขึ้นมาก ผู้ประพันธ์เขียนแผงไว้บอกว่าตอนไปถึงประเทศอินเดีย มีพิธีแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือบูชายันต์หญิงอินเดียที่สามีตาย จะถูกนำมาเผาทั้งเป็นให้ตายตามไปด้วย ฉากนี้ในหนังตื่นเต้น พระเอกกับคนใช้เจ้า ปาสปาตูแอบเข้าไปช่วยนาง Aoudaสาวชาวอินเดียหนีออกมาได้จากการเผาทั้งเป็นโดยหนีขึ้นช้างไปรอดได้ส่าเสร็จแบบหวุดหวิด
เขาเดินทางส่วนใหญ่โดยซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าซื้อใช้บอลลูนลอยไปเพื่อทำเวลาฉากให้เร็วซื้อเรือทั้งลำ ที่สนุกบางตอนคือเจ้าปัสปาตูอาสาสู้กับวัวกระทิงที่สเปนพี่แก่ออกลีลา เรียกเสียงเฮกันสนุกสนาน มีตอนพลัดหลงกันที่ประเทศญี่ปุ่นและตอนแสดงในโรงละครญี่ปุ่น ตอนผจญภัยในอเมริกาบนรถไฟต้องต่อสู้กับอินเดียแดงชุดใหญ่ยิงกันสนั่น หนัง 80 วันรอบโลก ตอนเดินทาง
ด้วยเรือกลไฟต้องซื้อเรือทั้งลำเพื่อเดินทางน้ำมันหมดต้องงัดเรือทั้งลำเผาทำเป็นเชื้อเพลิงเดินทางทำเวลาตลอดโดยไม่มีการพักเลยต้อนลอยอยู่บนบอลลูนคนดูเพลินมีความสุขเพลงประกอบก็ไพเราะมากฉากเด่นตอนี้คือตอนลอยเฉียดยอดเขาน้ำแข็งปัสปาตูเอามือจับหิมะมาแช่แชมเปนตอนเดินทาง
พอกลับมาถึงอังกฤษ พีเลียสนับได้ 81วัน เขาเสียใจมากต้องหมดสิ้นเนื้อประดาตัวแน่แท้ เขาแพ้พนัน คนดูทั้งโรงหนังเงียบกันหมดเพราะลุ้นกันมาตลอดเรื่องแล้วเจออะไรมาสารพัด เหมือนปาฏิหารเกิดขึ้น
พอดีมีหนังสือพิมพ์มาขาย เมื่อพีเลียส ฟอกก์เปิดอ่านตกใจในหนังสือเป็นวันที่22ธค 1872ครบ 80วันพอดีไม่เกิน คนดูได้เฮคราวนี้กันใหญ่เขาชนะพนันเขาวิ่งไปในสโมสรเหลือ5นาทีสุดท้ายเส้นยาแดงผ่าแปด พีเลียสชนะการเดิมพัน ผู้ประพันธ์เข้าใจหลักวิทยาศาสตร์เพราะโลกกลมเวลาในประเทศไม่เท่ากันเมื่อกลับมาถึงตรง มาถึงอังกฤษ ก่อนกำหนดถึงก่อน 23ชั่วโมงกับ 55นาที
นับจากเส้นแบ่งเวลาสากล Around The World In 80 dayหนังได้รับรางวัลออสการ์ 5รางวัลเช่น ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บรรเลงโดยวง Orchestra Composed by Victor Youngดารานําเดวิด นิเวน และนายแตนติสพลัส Continfias ดาราแม็กซิกันถูกเลือกให้มาแสดงเรื่องนี้พี่แก่ไม่ธรรมดาเรียกเสียงหัวเราะเฮตลอด เขาเต้นรําเก่งด้วยจึงถูกคัดเลือกมาแสดง
ส่วนในแผ่นเสียงขับร้องโดย Nat King Cole พบกับกันใหม่กับ วิวัย จิตต์แจ้ง ตอนหน้าครับอย่าพลาด
ความเห็น |