Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
หนังฝรั่งในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-5 สุดยอดหนังเกี่ยวกับชีวิตคนคุกในทรรศนะของข้าพเจ้า 45356.. 24/5/2560 19:09
-KІNG KΟNG (2017) Clips + Trailers ULTRA HD 4K15802.. 22/5/2560 18:46
-FILM REMAINING: เดอะ สเมิร์ฟ The Smurfs (พ.ศ. 2554)182113.. 15/5/2560 15:03
-Midnight Cowboy ( 1969 )42685.. 11/5/2560 18:39
-Taking Woodstock43384.. 30/4/2560 17:36
-the killing fields (1984) ทุ่งสังหาร...51175.. 25/4/2560 12:27
-Papillon ( 1973 )39723.. 24/4/2560 10:33
-Cool Hand Luke ( 1967 ) 40792.. 12/4/2560 17:28
-A Farewell to Arms ( 1957 )40722.. 7/4/2560 13:58
-Lust for Life ( 1956 )43141.. 5/4/2560 14:19
-City of Life and Death นานกิง โศกนาฏกรรมสงครามมนุษย์53951.. 30/3/2560 14:19
-Hotel Rwanda ( 2004 ) รวันดา ความหวังไม่สิ้นสูญ...44702.. 27/3/2560 14:09
-สาวน้อยมหัศจรรย์ (Wonder Woman) ฉบับภาพยนตร์มี เกล การ์ดอต อดีตนางงามอิสราเอลรับบทนำ.วางโปรแกรมฉายโรงในไทย.แล้ว.52996.. 13/3/2560 0:45
-เบื้องหลังการถ่ายทำ Fast Farious เร็วทะลุนรก.ภาคที่8.หนังแอ๊คชั้นภาคต่อที่มีกำหนดลงโรงฉายในไทย เดือนเมษายน.2560ปีหน้านี้.33217.. 11/3/2560 19:09
-Rogue One : A Star Wars Storyสตาร์วอส์ภาคแยกว่าด้วยปฏิบัตืการ์ทำลายล้างเดธสตาร์ของฝ่ายต่อต้านปฐมภาคี.408710.. 8/3/2560 21:26
- รวมพันธุ์นักสู้พิทักษ์จักรวาลภาค.2.(Guardians of the Galaxy.2)เตรียมวางโปรแกรมเข้าฉายโรงในไทย.วันที่ 27 เมษายน 2560 .นี้.14611.. 3/3/2560 1:49
เลือกหน้า
[<<] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [>>]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 790

(ID:23578) the killing fields (1984) ทุ่งสังหาร...


ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณ ทีป กิติยา กิติยา...
The Killing Field โศรกนาฎกรรมในยุคที่พระเจ้าหลับใหล 
วันนี้ข้าพเจ้าขอนำเสนอภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านของเรา นั่นคือ กัมพูชา ในยุคสมัยเมื่อราวปี 2516 จนถึงปี 2524 ซึ่งเป็นห้วงเวลาแห่งความสับสน สงครามและความตายที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ที่ของประเทศนี้ โดยที่คนทั้งโลกแทบจะไม่เคยรับรู้เลยว่าเรื่องราวแห่งความโหดร้ายนี้ กำลังเกิดขึ้นในดินแดนที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย กว่าที่เรื่องราวความทารุณโหดร้ายของการล้างผลาญพลเมืองชนชาติเดียวกัน โดยกลุ่มผู้ปกครองชนชาติเดียวกันที่นำโดย พลพต และ เขียว สัมพันธ์ จะถูกเล่าขานและเผยแพร่ออกไปสู่สังคมโลกจากปากคำของผู้รอดชีวิต ประชาชนของประเทศนี้นับล้านคนก็ได้สังเวยชีวิตไปแล้ว ข้าพเจ้าขอนำเสนอภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงของนักข่าวคนหนึ่ง ที่ได้เห็นและอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วยตัวเอง ผ่านชีวิตที่ลำเค็บในคอมมูนนรกเป็นเวลากว่า 4 ปี จนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดกว่าที่จะหลบหนีออกมาได้ เขาได้ถ่ายทอดความโหดร้ายภายในประเทศของเขาออกสู่สายตาชาวโลกจากประสบการณ์ของตนเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้คือ The Killing Field ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ในช่วงนั้นออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน และทรงพลัง ด้วยฝีมือการกำกับของ โรแลนด์ จอฟเฟ ภายใต้การอำนวยการสร้างของ เดวิด พัทนั่ม ผู้ซึ่งมีผลงานภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมมาแล้วหลายเรื่องด้วยกัน ที่เด่นชัดที่สุดคือ Chariot of Fire ในหนังเรื่องนี้ The Killing Field เขาได้ ผกก ภาพฝีมือดีคือ คริส แมงเกส มาร่วมงานด้วย 
The Killing Fields สร้างจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงของนักข่าวและล่ามชาวกัมพูชา นามว่า ดิธ ปราน ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่เขมรแดงภายใต้การนำของ พลพต และ เขียว สัมพันธ์ ครองอำนาจ ด้วยการต้องการสร้างระบอบคอมมิวนิสต์สุดขั้ว นั่นคือชาวกัมพูชาที่อยู่ในเมืองจะต้องถูกต้อนออกไปยังพื้นที่ชนบท เพื่อทำการเกษตรสร้างผลผลิตให้กับอังกอร์ ซึ่งเป็นคำเรียกขานรัฐบาลที่ทำการปกครองประเทศในยุคนั้น ความยากลำบากจากการใช้แรงงานหนัก ความอดอยาก รวมถึงการมุ่งกวาดล้างกลุ่มอำนาจเก่าที่ถูกมองว่าเป็นตัวขัดขวางการปฎิวัติ ทำให้เกิดการเข่นฆ่าชาวกัมพูชามากมายนับแสนคน ผู้คนกว่าสองล้านคนเสียชีวิตไปในห้วงเวลาเพียงไม่กี่ปี ดิธ ปรานได้ผ่านเรื่องราวเลวร้ายในยุคนั้น จนกระทั่งสามารถหลบหนีออกจากกัมพูชา ผ่านทางประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เขาพบและประสบมาในห้วงเวลาทุรยุคนั้น หนังเรื่องนี้ใช้สถนที่ถ่ายทำในประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดเรืองราวของโศรกนาฎกรรมในครั้งนั้นออกมา ด้วยการเดินเรื่องที่เรียบง่าย การใช้ภาพระยะไกลโดยถ่ายแบบไม่มีการตัดต่อในหลาย ๆ ฉาก ด้วยการนำเสนอภาพผ่านสายตาผู้ชมประหนึ่งว่ากำลังเป็นผู้สังเกตการณ์ความเป็นไปต่าง ๆ ที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์ โดยใช้ดารานำแสดงที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก โดยเฉพาะบทสำคัญคือ ดิธ ปราน นั้น นำแสดงโดย นายแพทย์เฮง เอส งอร์ ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในการแสดงหนังมาก่อนเลย เรื่องราวของ The Killing Fields บอกเล่าเรื่องราวของนักข่าวนิวยอร์คไทม์ ชาวอเมริกันที่ชื่อ ซึดนีย์ ซานเบริก และล่ามชาวกัมพูชาที่ชื่อว่า ดิธ ปราน ทั้งคู่ทำข่าวสงครามกลางเมืองในกัมพูชา ที่มีรัฐบาลภายใต้การนำของนายพลลอนนอล ที่มีอเมริกาสนับสนุน ทำสงครามอยู่กับกลุ่มกองกำลังเขมรแดง ภายใต้การนำของ พอลพต และ เขียว สัมพันธ์ ในเหตุการณ์ช่วงที่กองกำลังเขมรแดงเริ่มรุกคืบล้อมกรุงพนมเปญเอาไว้แล้ว ซีดนีย์ต้องการทำข่าวครั้งนี้อย่างไกล้ชิดที่สุด เขาและปรานเดินทางเข้าไปยังจุดกึ่งกลางแห่งความขัดแย้งในสงครามกลางเมืองครั้งนั้น ด้วยความต้องการที่จะถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ๆ มิใช่การสร้างข่าวของฝ่ายอเมริกาผู้ฉ้อฉล จนเมื่อสถานะการณ์เริ่มวิกฤติ กองกำลังเขมรแดงเริ่มรุกคืบไกล้จะยึดกรุงพนมเปญไว้ได้อย่างสิ้นเชิง ซีดนีย์ ตัดสินใจส่งปรานและครอบครัวไปอยุ่อเมริกาเพื่อความปลอดภัย แต่ ปราน เลือกที่จะยังไม่ไปพร้อมครอบครัว เขาเลือกที่จะอยุ่ช่วยซีดนีย์ทำข่าวการยึดกรุงพนมเปญโดยฝ่ายเขมรแดง อย่างไกล้ชิดจนวินาทีสุดท้าย ภาพของความตายเริ่มคืบคลานเข้าไกล้กรุงพนมเปญ สถานทูตอเมริกาตัดสินใจปิดตัวลง และเริ่มอพยพประชาชนชาวอเมริกันออกไป ซีดนีย์และปราน ยังคงปักหลักอยู่ทำข่าว จนเมื่อถึงวันที่กองกำลังเขมรแดงเข้ายึดกรุงพนมเปญ การเฉลิมฉลองของประชาชนเพื่อต้อนรับกลุ่มเขมรแดง ความดีใจที่สงครามยุติลงแล้ว แต่ไม่มีใครรู้เลยว่า นั่นคือจุดเริ่มต้นแห่งการฆ่าล้างผลาญอย่างบ้าคลั่งที่จะตามมาอีกในไม่ช้า ทั้งซีดนีย์และปราน ตลอดจนนักข่าวชาวตะวันตก และชาวกัมพูชาที่ต้องการหนีจากความโหดร้ายในครั้งนี้ ต่างพากันอพยพเข้าไปอยุ่ในสถานทูตฝรั่งเศส ฝ่ายเขมรแดงสั่งให้ชาวต่างประเทศทุกคนเดินทางออกจากกัมพูชา และให้ส่งตัวชาวกัมพูชาทุกคนที่หลบภัยอยุ่ในสถานทูตออกมา 
ภาพของความโกลาหลในวันที่เขมรแดงเริ่มทำการกวาดล้างผู้คนที่เชื่อว่าเคยอยุ่ในกลุ่มอำนาจรัฐเก่า ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยการถ่ายภาพในแบบยาวต่อเนื่องโดยไม่มีการตัดต่อ ไม่มีบทพูด มีเพียงภาพและเสียงแห่งความวุ่นวาย ความหวาดกลัวของผู้คนที่ถูกต้อนให้เดินไปตามท้องถนน โดยใช้เพียงดนตรีที่มีท่วงทำนองหดหู่ เศร้าสร้อย เพื่อเน้นอารมณ์ของหนัง คริส แมงเกส ผกก ภาพ เลือกใช้การถ่ายภาพในลักษณะนี้เกือบตลอดในช่วงกลางของหนัง เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ภาพที่ปรากฏออกมาจึงดูเหมือนการมองเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริง ผ่านสายตาของคนดูที่เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์เท่านั้น ฉากที่ทหารเขมรแดงเข้ามาในสถานทูตเพื่อนำตัวอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มรัฐบาลเก่า ที่ถูกตั้งข้อหาว่า ทรราชย์ เพื่อออกไปลงโทษนั้น เป็นฉากบีบคั้นอารมณ์ยิ่ง ด้วยการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องยาวนาน โดยมีสายฝนที่สาดซัดเป็นฉากหลัง มีเพียงเสียง ดนตรีประกอบที่มีจังหวะซ้ำ ๆ วนไปมา ให้ความรู้สึกกดดัน สร้างความรู้สึกหวาดกลัว วิธีการเล่าเรื่องเช่นนี้ถูกนำมาใช้อีกหลายครั้ง จนถึงตอนที่ ดิธ ปราน ต้องออกไปจากสถานทูต เดินทางไปสู่เส้นแบ่งระหว่างความเป็น ตาย ที่เปราะบางยิ่ง 
ด้วยการเดินเรื่องและสร้างภาพในลักษณะนี้ทำให้หนังดูเป็นจริงเป็นจังมากยิ่งขึ้น ด้วยมุมกล้องการถ่ายทำในแบบแช่กล้อง โดยเป็นภาพระยะไกล ไม่มีการเล่นมุมกล้องที่สวยงาม ใช้เพียงแสงจากธรรมชาติ ทำให้หลายฉากหลายตอนของหนังดึงคนดูให้มีส่วนร่วมอย่างไกล้ชิด ภาพภายในคอมมูนที่ทุกคนต้องทำงาน ก้มหน้า ภายใต้การสังเกตอย่างไกล้ชิดของ อังการ์ อำนาจรัฐสูงสุดที่ชี้เป็นตายให้กับทุกคนได้ ดิธ ปราน ต้องปกปิดทุกสิ่งที่เขาเคยรู้ เคยเป็น หากหวังจะมีชีวิตรอดออกไปจากดินแดนแห่งนี้ ภาพการทารุณกรรม การฆ่าอย่างไร้ปราณีสำหรับทุกคนที่ อังการ์ เห็นว่าจะเป็นภัยต่อการปฎิวัติสังคมใหม่แห่งกัมพูชา แม้ว่าในหนังจะไม่ได้แสดงภาพเหล่านี้ออกมาอย่างโจ่งแจ้ง แต่คนดูจะรับรู้ได้ด้วยภาพของเหยื่อแต่ละคนที่ค่อย ๆ ถูกนำตัวออกไป เพื่อไปสู่ทุ่งสังหารที่มีอยู่ทั่วไปในยุคนั้น ด้วยวิธีการนำเสนอที่ไม่ต้องโจ่งแจ้งเลือดท่วมจอ แต่ภาพความน่ากลัวของยุคสมัยแห่งการล้างผลาญที่หนังต้องการจะสื่อ จะปรากฏในห้วงความคิดแทน ซึ่งดูเหมือนจะน่ากลัวกว่าการสร้างภาพที่ชัดเจนขึ้นมาให้เห็นในจอ นอกจากเรื่องราวแห่งความโหดร้ายในยุคสมัยเขมรแดงปกครองกัมพูชา ที่หนังต้องการจะสื่อและถ่ายทอดออกมาแล้ว เรื่องราวของมิตรภาพ ความผูกพันของเพื่อนรักระหว่าง ดิธ ปราน และ ซีดนีย์ เป็นอีกส่วนที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางเรื่องราวของมิตรภาพ ความผูกพันที่ทั้งสองมีต่อกัน
ดนตรีประกอบฝีมือของ Mike Oldfield มื่อกีต้าร์ในแนวโปรเกรสสีฟร็อก ผู้เคยสร้างปรากฎการณ์จากอัลบั้มประวัติศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม Tubular Bell ในขณะที่เขามีอายุเพียง 17 ปี ท่วงทำนองจากอัลบั้มชุดนี้ได้ถูกนำไปใช้เป็นธีมหลักของหนังเรื่อง The Exorcist หนังสอยงขวัญยอดเยี่ยมที่สุดเรื่องหนึ่งของฮอลลีวู้ด สำหรับในหนังเรื่อง The Kiling Fields นี้ งานดนตรีประกอบของเขาเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างอารมณ์และความสมบูรณ์แบบให้กับหนัง การใช้เสียงดนตรีจากวงออเครสตร้าวงใหญ่ ผสมผสานกับเครื่องเคาะจังหวะ และเครื่องดนตรีอิเลคโทรนิค ด้วยท่วงทำนองที่หดหู่ เศร้าสร้อย และให้ความรู้สึกดดันในหลายต่อหลายตอน ส่งผลให้การเล่าเรื่องราวแห่งโศรกนาฎกรรมหนนั้นสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น 
The Killing Fields อาจจะไม่ใช่หนังสะท้อนภาพของสงครามที่ดีที่สุด แต่นี่คือหนังที่ดีที่สุดที่บอกเล่าเรื่องราวของกัมพูชา ในยุคสมัยที่เวลาหยุดนิ่ง ความโหดร้ายที่ดำเนินยาวนานหลายปี กว่าที่เรื่องราวเหล่านี้จะปรากฎออกมาสู่สายตาชาวโลก ผู้คนนับล้านก็ได้ล้มหายตายจากไปอย่างไร้เหตุผล นี่คือหนังบอกเล่าเรื่องราวการสังหารหมู่ในยุคสมัยเขมรแดงที่ ชัดเจน ทรงพลัง และตรงไปตรงมาที่สุด 
หนังได้รางวัลออสการ์ 3 สาขาจากดาราสมทบชายยอดเยี่ยม ถ่ายภาพยอดเยี่ยม และ ตัดต่อภาพยอดเยี่ยม จากการประกาศผลรางวันออสการ์ในปี 1984 และรางวัลลูกโลกทองคำดาราสบทบชายยอดเยี่ยม นายแพทย์เฮง เอส งอร์ ผู้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากการรับบทเป็น ดิธ ปราน ล่ามและนักข่าวชาวกัมพุชาของ น.ส.พ นิวยอร์กไทม์ ู้ เขากล่าวขอบคุณทีมงานผู้สร้างหนังเรื่องนี้ ที่ช่วยทำให้ชาวโลกรับรู้ว่า เกิดอะไรขึ้นในกัมพูชา หลังจากนั้นในปี 2539 เขาถูกมือปืนชาวกัมพูชาด้วยกัน สังหารเสียชีวิตในอเมริกา ส่วนตัวของดิธ ปราน เสียชีวิตลงในปี 2551 จากโรคมะเร็งด้วยวัย 65 ปี 
ข้าพเจ้านำบางส่วนบางตอนจากภพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมเรื่อง The Killing Fields มาให้ท่านทั้งหลายได้ลองทัศนาแล้ว ขอเชิญทัศนาเถิด


ความเห็น

[1]


(ID:201447)

the killing fields (1984) ทุ่งสังหาร...


+
+


(ID:201448)
https://www.youtube.com/watch?v=0Um2j1iEj1k




(ID:201449)
https://www.youtube.com/watch?v=2ru0HxV4nWY&t=15s




(ID:201451)
https://www.youtube.com/watch?v=4BtBGr-t5KA




(ID:201452)
https://www.youtube.com/watch?v=YQlf1cXCGmg




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 5

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112740028 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Julizde , Iringgb , Julihtx , Irinuzw , GordonFella , Juliynw , Iringgz , Elvindroni , FrankHoumn , Michaelphobe ,